พระธรรมเทศนาเรื่อง "โพชฌงคปริตร" ตอนจบ


          พระศาสดาทรงรับสั่งไว้ในโพชฌังคกถาหรือ โพชฌงคปริตร นั้น ปรากฎว่า โพชฌงค์ทั้ง ๗ ประการ ตั้งแต่สติจนกระทั่งอเบกขาสัมโพชฌงค์ ทั้ง ๗ ประการเหล่านี้แหละ อันเพระมุนีเจ้าผู้เห็นธรรมทีั้งสิ้นได้กล่าวไว้ชอบแล้ว ถ้าว่าบุคคลใดเจริญขึ้นกรทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรุ้ยิ่ง เพื่อนิพพาน เพื่อความตรัสรู้ ความจริงอันนี้ ด้วยความกล่าวสัตย์อันนี้แหละ ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่าน ทุกเมื่อ ข้อนี้เป็นข้อสำคัญ สติสัมโพชฌงค์ เราจะพึงปฏิบัติอย่างไร จึงจะได้บรรลุมรรคผล สมมาดปรารถนา ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์

           สติสัมโพชฌงค์ เราต้องเป็นคนไม่เผลอสติเลย เอาสตินิ่งอยู่ศุนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่น ตั้งสติตรงนั้น ทำใจหยุด ไม่หยุดก็ไม่ยอม ทำให้หยุด ไม่เผลอทีเดียว ทำจนกระทั่่วใจหยุดได้

          นี่เป็นตัวสติสัมดพชฌงค์แท้ๆ ไม่เผลอเลยที่เดียว ที่ตั้งที่หมายหรือกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ สะดือทะลุหลัง ขวาทะลุซ้าย กลางกั๊กนั่น

           ใจหยุดตรงนั้น เมื่อทำใจหยุดตรงนั้นน ไม่เผลอสติทีเดียว ระวังใจหยุดนั้นไว้ นั่งก็ระวังใจหยุด นอนก็ระวังใจหยุด เดินก็ระวังใจหยุด ไม่เผลอเลย นี่แหละตัวสติสัมโพชฌงค์แท้ๆ จะตรัสรู้ต่างๆ ได้ เพราะมีสติสัมโพชฌงค์อยู่แล้ว

            ธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์ เมื่อสติใจหยุดนิ่งอยุ่ก้สอดส่องอยุ่ ความดีความชั่วจะเล็ดลอดเข้ามาท่าไหน ความดีจะเล็ดลอดเข้ามา หรือความชั่วจะเล็ดลอดเข้ามา ความดีลอดเข้ามาก็ทำใจให้หยุด ความชั่วลอดเข้ามาก็ทำใจให้หยุด ดี ชั่ว ไม่ผ่องแผ้ว ไม่เอาใจใส่ ไม่กังวล ไม่ห่วงใย หยุดระวังไว้ ไม่ให้เผลอก็แล้วกัน นั่นเป็นตัวสติวินัยที่สอดส่องอยุ่ นั่นเป็นธรรมวัจยสัมโพชฌงค์ 

            วิริยสัมโพชฌงค์ เพียรรักษาใจหยุดนั้นไว้ไม่ให้หาย ไม่ให้เคลื่อนที่เดียว ไม่เป็นไปกับความยินดียินร้ายที่เดียว ความยินดียินร้ายเป็นอภิชฌาโทมนัส เล็ดลอดเข้าไปก็ทำใจหยุดนั่นให้เสียพรรณไป ให้เสียผิวไป ไม่ใหยหยุดเสีย ให้เขยื้อนไปเสีย ให้ลอกแลกไปเสีย มัวไปชั่วๆ ดีๆ อยู่ เสียท่าเสียทาง เพราะฉะนั้นต้องมีความเพียรกลั่นกล้า รักษาไว้ให้หยุดท่าเดียวนี้ได้ชื่อว่า วิริยสัมโพชฌงค์ เป็นองค์ที่ ๓

           ปีติสัมโพชฌงค์เมื่อใจหยุดละก็ชอบอกชอบใจ ดีอกดีใจ ร่าเริ่ง บันเทิงใจ อ้ายนั้นปีติ ปีติที่ใจหยุดนั่น ปีติไม่เคลื่อนจากหยุดเลยหยุดน่ิงอยุ่ นั่นปีติสัมโพชฌงค์ นี้เป็นองค์ที่ ๔

          ปัสสัทธิสัมฑชฌงค์ ปัสสัทธิ แปลว่า ระงับซ้ำ หยุดในหยุดๆๆๆ ไม่มีถอยกัน พอหยุดก็เข้ากลางของใจที่หยุดนั่น หยุดในหยุด หยุดในหยุดนี่นที่เดียว นั่นปัสสัทธิ ระงับซ้ำเรื่อยลงไป ให้แน่นหนาลงไว้ ไม่คลาดเคลื่อน ปัสสัทธิมั่นคงอยู่ที่ใจหยุดนั่น ไม่ได้เป็นสอง เป็นหนึ่งที่เดียวนั่นเรียกว่า สมาธิ ทีเดียวนั่นแหละ

         พอสมาธิหนักเข้าๆ หนึ่งเฉยไม่มีสองต่อไป นี่เรียกว่า อุเบกขา เข้าถึงหนึ่งเฉยแล้ว อุเบกขาแล้ว

         นี่องค์ ๗ ประการอยู่ที่เดียวนี่ อย่าให้เลอะเลือนไป ถ้าได้ขนาดนี้ ภาวิตา พหุลีกตา กระทำเป็นขึ้นแค่นี้ กระทำให้มากขึ้น สํวติตนฺติ ย่อมเป็นไปพร้อม อภิญฺญาย เพื่อรู้ยิ่ง นิพฺพานาย เพื่อสงบระงับ โพธิยาเพื่อความตรัสรู้ ด้วยความกล่าวสตย์อันนี้แหละ ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านในกาลทุกเมื่อ ความจริงอันนี้ ถ้ามีจริงอยุ่อย่างนี้ละก็ รักษาเป็นแล้ว

          รักษาโพชฌงค์แล้ว อธิษฐานไช้ได้ ทำอะไรใช้ได้ โรคภัยไข้เจ็บแก้ได้ ไม่ต้องไปสงสัยละ มีความจริงแล้วโรคภัยแก้ได้ แก้ได้อย่างไร ท่านยกตัวอย่างขั้นไว้ เอกสฺมี สมเย นาโถ โมคฺคลฺลานญฺจ กสฺสป คิลาเน ทุกฺขิเต ทิสฺวา โพชฺฌงฺเค สตฺต เทสยิ เต จ ตํ อภินนฺทิตฺวา โรคา มุจฺจึสุ ตงฺขเณ

          เอกสฺมี สมเย ในสมัยหนึ่ง นาโถ พระโลกนาถเจ้าทรงทอดพระเนตร ทรงดูพระโมคัลลานะและพระกัสสปะ อาพาธถึงซึ่งทุกขเวทนาอาพาธเกิดเป็นทุกขเวทนา ทรงแสดงโพชฌงค์ทั้ง ๗ ดังกล่าวแล้ว ที่แสดงแล้วนี้ ทรงแสดงโพชฌงค์ท้ง ๗ ให้ทำใจหยุดลงไว้ ให้นิ่งลงไว้ เมื่อพระองค์ทรงแสดงโพชฌงค์ทั้ง ๗ แล้ว ท่านทั้ง ๒ พระโมคคัลลานะกับพระกัสสปะ มีใจร่าเริงบันเทิงในภาษิตของพระองค์นั้น โรคหายในขณนั้นนี่ความสัตย์อันนี้ ความจริงอันน้โรคหายที่เดียว ได้ศักดิ์สิทธิ์อย่างนี้

           นี่ว่าอย่างพระโมคคัลลานะ พระพุทธจ้านี่ท่านผุ้แสวงคุณอันยิ่งใหญ่หนา ทั้ง ๓ ท่านนี้ พระโมคคัลลานะก็ดี พระกัสสปะก็ดี พระพุทธเจ้าก็ดีท่านผุ้แสวงซึ่งคุณอันยิ่งใหญ่ ท่านเป็นผุ้สำเร็จแล้วยังมีโรคเข้ามาเบียดเบียนได้ เบียดเบียนก็ใช้โพชฌงค์กำจัดเสีย ไม่ต้องไปกินหยูกกินยาที่ไหนเลยสักอย่างหนึ่ง โพชฌงค์เท่านั้นแหละ โรคหายไปหมด ดังวัดปากน้ำบันนี้ก็ใช้วิชชา บำบัดโรคเช่นี้เหมือนกัน ใช้บำบัดโรค ไม่ต้องใช้ยา ตรงกับทางพระพุทธศาสนาจริงๆไ อย่างนี นี้ชั้นหนึ่ง นี้พระองค์เอง พระองค์ทรงเอง คราวนี้โดนพระองค์เข้าบ้าง เอกทาธมฺมราชาปิ เคลญฺญนาภิปีฬิโต ครั้งหนึ่งพระธรรมราชา ธมฺมราชาปิ แม้พระธรรมราชาคือพระพุทธเจ้าผุ้เป็นเจ้าของพระธรรมเอง ปิ อันนั้นไม่ "แม้" แปลเป็น "เอง" เสีย 

           ครั้งหนึ่ง พระธรรมราชาเองอันอาพาธเข้าบีบคั้นแล้ว เคลญฺเญนาภิปีฬิโต จุนฺทตฺเถเรน ถญฺเญว ภณาเปตฺวาน ทรงรับสั่งให้พระจุนทเถุระ แสดงโพชฌงค์ ๗ ประการนั้นด้วยความยินดี สมฺโมทิตฺวา จ อาพาธา ทรงบันเทิงพระทัยในโพชฌงค์ที่พระจุนทเถระทรงแสดงถวายนั้น อาพาธหายไปโดยฉับพลัน ด้วยฐานะอันสมควร ด้วยความสัตย์อันนี้ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทุกเมื่อ

           นี่พระองค์เองอาพาธ พระจุนทเถุระแสดงสัมโพชฌงค์ระงับ ก็หายอีกเหมือนกัน

            ในท้ายพระสูตรนี้ว่า ปหีนา เต จ อาพาธา ติณฺณนฺนมฺปิ มเหสินํ มคฺคาหตกิเลสา ว ปตฺตานุปฺปตฺติธมฺมมตํ อาพาธทั้งหลายเหล่านั้น อันท่านผุ้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ทั้ง ๓ ท่าน และได้แล้ว ถึงซึ่งความดับไปดุจกิเลสอันมรรคกำจัดไป ดังนั้น ไม่เกิดขึ้นได้ นีด้วยความสัตยจริงอันนี้ ขอความสวัสดีจงบังเกิดมีแก่ท่านทุกเมื่อ นี่ความจริงเป็นดังนี้

            ถ้ารู้จักพระพุทธศาสนาดังนี้ ของความสวัสดีจงบังเกิดมีแ่ท่านทุกเมื่อ นี่ความจริงเป็นดังนี้

           ถ้ารู้จักพระพุทธศาสนาดังนี้ เราจะต้องปฏิบัติให้ถุกหลักบานความจริงของพระพุทธศาสนา พระอังคุลิมาลเถรเจ้า ท่านเป็นอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา เป็นขีณาสพแล้ว ท่านใขช้ความสัตย์จริงของท่านขึ้นอธิษฐานบันดาลให้หญิงที่คลอดบุตรไม่ออกให้ออกได้ตามความปรารถนา ส่วนโพชฌงค์ทั้ง ๗ ประการ พระบรมศาสดาจารย์ทรงแสดงให้พระโมคคัลลานะ พระกัสสปะกำลังอาพาธอยู่ ก็หายโดยฉับพลัน แล้วส่วนพระองค์ล่ะ อาพาธขึ้น ทรงรับสั่งให้พระจุนทเถระแสดงโพชฌงค์นั้น อาพาธของพระองค์ก็หายโดยฐานะอันสมควรที่เดียว นี่หลักอันนี้ โพชฌงค์เป็นตัวสำคัญ ประเสริฐเลิศกว่าโอสถใดๆ ในสากลโลกทั้งนั้น

              เหตุนี้ท่านผู้มีปัญญา เมื่อได้สดับมาในโพชฌงคปริตรนี้ จงมนสิการกำหนดไว้ในใจของตนทุกถ้วนหน้า

             ที่ได้ชี้แจงแสดงมาตามวาระพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบา พพอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัจที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติ ตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ สทาโสตฺถี ภวตนฺตุ เต ขอความสุขสสวัสดี จงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย สมมุติว่ายุติธรรมมีกถา โดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยปรการฉะนี้..." 

         "หลักและวิธีเจริญสมถะและวิปัสสนากัมมัฎฐานเบื้องต้นถึงธรรมกาย" 

หมายเลขบันทึก: 648977เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2018 15:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 กรกฎาคม 2018 15:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท