ธาตุ ๑๘ ตอนที่ ๒


            ... ในการปฏิบัติให้รวมใจของทุกกายให้หยุดอยู่ ณ ศูนย์กลางกายพระอรหัตองค์ที่ละเอียดที่สุดแล้วให้ใจของพระธรรมกายเพ่งลงไปที่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ หยุดตรึก นิ่ง ให้ดวงธรรมนั้นใสสว่างเต็มที่ พร้อมด้วยขยายดวงธรมนั้นให้ใสสว่างหมดทั่วทั้งกาย แล้วพิจารณาอายตนะภายใน ๖ คือ จักขวายตนะ โสตยตนะ ฆานายตนะ ชิวหายยตนะ กายายตนะ และมหายตนะ โดยให้เริ่มต้นที่จักขวายตนะก่อน ตรงกลางแววตาทั้งซ้าย ขวานั้นแหละ 

           ที่ตรงกลางแววตาทั้งซ้ายขวานั้น พิจารณาดูให้ดีก็จะเห็น ขักขุประสาท ซึ่งทำหน้าที่เป็น จักขวายตนะ คืออายตนะเครื่องเห็นทางตา สำหรับรับรูป มีลักษณะสัณฐานกลมใสสะอาดบริสุทธิ์ ขนาดประมาณเท่าเมบล็ดโพธิ์เมล็ดไทร หรือหัวเหา ตั้งอยู่ตรงกลางแววตาทั้งซ้ายขวา ตรงกลางจักขุประสาทก็มี จักขุธาตะซึ่งใสสะอาดบริสุทธิ์กว่า และเล็กกว่าจักขุประสาท ซ้อนอยู่ข้างในเข้าไปสำหรับเห็นรูป แล้วที่ตรงกลางจักขุธาตุ ก็มี จักขุวิญญาณธาตุ ในสะอาดบริสุทธิ์กว่าเล็กว่าจักขุธาตุ ซ้อนอยู่ข้างในเข้าไปอีก สำหรับให้รู้แจ้งว่าเห็นรูปอะไร มีสีสัณฐานอย่างไร และมีเส้นเล็กๆ ขาวใสบริสุทธิ์ ทอดออกไปจากตรงกลางแววตาทั้งสองข้าง ผ่านขึ้นไปบนสมองศีรษะ แล้วหยั่งลงไปในเยื่อพื้นหลัง ลงไปรวมจรดอยู่ที่กลางขันธ์ ๕ ตรงกำเนิดธาตุธรรมเดิม

          อะไรทำให้เห็น..เวลาที่อายตนะภายใน (สำหรับกรณีนี้คือ จักขวายตนะ) กับอายตนะภายนอก (ในกรณีนี้คือ รูปายตนะ) กระทบกัน ดังเช่นว่า เมื่อรูปกระทบสายตา ก็จะเห็นมีธาตุละเอียดเป็นดวงกลมใสสีขาวบริสุทธิ์ คือะาตุละเอียดของขักขวายตนะ ซึ่งมัจักขุธาตุ และจักขุวิญญาณธาตุ ซ้อนอยู่ แล่นจากศูนย์กลางขันธื ๕ ที่ตรงกำเนิดธาตุธรรมเดิมนั้นแหละ ขึ้นมาตามสายสีขาวบริสุทธิ์นั้น มาจรดที่จักขุประสาท ที่ตรงกลางแววตาทั้งซ้ายขวา ทำหน้าทีรับรูป แล้วนำรูปนั้นแล่นกลับเข้าไปที่กลางขันธ์ ๕ ตรงกำเนิดธาตุธรรมเดิมอีกที่หนึ่ง พฤติกรรมนี้เป็นไปอย่างรวดเร็วมาก

          การเห็นรูปก็เกิดขึ้น ตั้งแต่ดวงกลมใสบริสุทธิ์มาจรดที่กลางจักขุประสาท ที่ตรงกลางแววตาทั้งซ้ายขวานั้น เพราะที่กลางจักขุประสาทก็มีจักขุธาตุสำหรับเห็นรุป และมีจักขุวิญญาณธาตุ สำหรับรู้ว่าเป็นรูปอะไร ซ้อนอยู่ด้วยแล้ว และการเห็นนี้ ไม่เฉพาะแต่ที่ตรงกลางแววตาเท่าน้น หากแต่เห็นไปถึง "ใจ" อันประกอบด้วยดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด และดวงรู อีกด้วยเป็นอัตโนมัติ เพราะเหตุว่าดวงกลมใสที่แล่นขึ้นมารับรูปจากจักขวายตนะ กลับไปสู่กลางขันธ์ ๕ ที่กำเนิดธาตุธรรมเดิมนั้น ก็คื อธาตุะรรมละเอียดของจักขวายตนะ วึ่งทำหน้าที่รับรูปและมีจักขุธาตุ ซึ่งทำหน้าที่เห็นรูป และจักขุวิญญาณธาตุ ซึ่งทำหน้าที่รับรู้ว่าเป็นรูปอะไร มีลักษณุ มีสี สัณฐาน อย่างไร ซ้อนอยู่ด้วยอีกเช่นเดียวกัน

          และนอกจากนี้ ในธาตุธรรมละเอียดเหล่านี้ ก็ยังมีดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด และดวงรู้ เจืออยู่ด้วยทุกดวง จึงทำหน้าที่เกี่ยวเนื่องถึงกันโดยตลอดเป็นอัตโนมัติ เรพาะเมือตากระทบรูปนั้น รูปธาตุย่อมต้องผ่านดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิ และดวงรู้เสมอ

         อนึ่ง ได้เคยกล่าวมาแล้วในเรื่องเวทนานุปัสสนา จิตตานุปัสสนาสติปัฎฐานตอนที่ ๓ ว่าด้วยจิตตานุปัสสนาสติปัฎฐาน ข้อที่ ๔ คือ วิธีเจิรญภาวนา เห้ฯและกำจัดหรือปหานอนุสัยกิเลสว่า ดวงรู้ของสัตว์ที่ยังไม่บรรลุโลกุตระธรรมนั้นมี อวิชชานุสัย ห่อหุ้มอยู่อย่างหนาแน่น ส่วนดวงเห็นกับดวงจำก็มี ปฏิฆานุสัย ห่อหุ้มอยู่ และดวงคิดก็มี กามราคานุสัย ห่อหุ้มอยู่ จึงไม่ขยายโตเต็มส่วนเหมือนกายธรรมหรือะรรมกาย

       เพราะฉะนั้น เวลาทีู่ปมากระทบสายตา ถ้าเป็นรูปที่ถุกใจ น่าพอใจ น่ากำหนัดยินดี เพราะอวิชชา คือความไม่รุ้ในสภาวะของะรรมชาติตามี่เป็นจริงว่า ธรรมชาติที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งนั้น มีสามัญญลักษณะเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็จะยึดมั่นถือมั่นเคลิบเคลิมไปในรูปนั้น ที่นี้ถ้าหากจิตใจไม่ได้รับการอบรมห้สงบ ให้หยุด ให้นิ่ง ปล่อยจิตในให้เคลิบเคลิ้มไปในอารมร์ที่น่ารักน่าอพใจนี้มากๆ เข้า กิเลสที่สะสมหมักดงอยู่ในจิตใจ ได้แก่ กามราคานะสัย ปฏิฆานุสัย และ อวิชชานุสัย ก็จะฟุ้งขึ้นมาครอบคลุมจิตใจ ย้อมจิตย้อมใจให้เป้นไปตามสภาพของมัน (คือ กิเลส) ด้วยเหตุนี้ สีน้ำเลี้ยงของจิตซึ่งถูกเจือด้วยกิเลสนั้น เปลี่ยนสีจากที่เคยขาว ใส สะอาด บริสุทะิ์มาเป็นสีต่างๆ ตามสภาพของกเลิสที่เข้ามาผสมนั้น

       เป็นต้นว่า จิตที่ประกอบด้วยกามตัณหาหรือภวตัณหา และราคะ หือโลภะก็จะเห็นมีลักษณะเป็นสีชมพู จนถึงเกือบเป็นสีแดง จิตที่ระคนด้วยวิภาวตัณหา และปฏิฆะหรือโทสะ ก็จะเห็นเป็นสีเขียวคล้ำไปจนเกือบเป้นสีดำ และจิตที่ระคนด้วยโมหะ ก็จะเป็นสีขุ่นเหมือนตม หรือสีเกือบเทา หรือเป็นสีตะกั่วตัด เป็นต้น ก็จะดลจิตดลใจให้ยึดมั่นถือมี่นในสังขารธรรม มีรูปารมร์เป็นต้น ด้วยตัณหาและทิฎฐิแล้วปฏิบัติทางกาย ทางวาจา และทางใจ ด้วยเจตนาความคิดอ่าน ตามอำนาจของกิเลสตัณหาอุปาทานนั้น...

         "หลักและวิธีเจริญสมถะและวิปัสสนากัมมัฎฐานเบื้องต้นถึงธรรมกาย"

        

คำสำคัญ (Tags): #ธาตุ ๑๘ ตอนที่ ๒
หมายเลขบันทึก: 648758เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2018 17:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กรกฎาคม 2018 17:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท