ลำกลอนวาดอุบล เอกลักษณ์เด่นประจำเมืองอุบลราชธานี


            สนอง คลังพระศรี (2554) ระบุว่า“ลำกลอนวาดอุบล ถือเป็นเอกลักษณ์เด่นประจำเมืองอุบลราชธานีโดยแท้ กล่าวคือ การลำในท้องถิ่น อื่นใด หากลำตามรูปแบบดังกล่าวนี้กล่าวได้ว่าเป็นหมอลำกลอนวาดอุบล เพราะมีแบบแผนกำหนดไว้ชัดเจน นอกจากนี้หมอลำกลอนวาดอุบลยังเป็นต้นตำหรับเผยแพร่ทำนองลำเต้ยไปสู่ท้องถิ่นอื่นๆ เมื่อช่วงประมาณ ปี พ.ศ.2486 เพราะแต่ก่อนหมอลำวาดอื่นไม่ได้ออกเต้ย ใช้แต่ลำทางสั้นและลำล่องทางยาวเท่านั้น”

ระเบียบแบบแผนที่ว่า อาจเป็นเค้าโคลงของคำประพันธ์ในกลอนลำ เพราะมีลักษณะชัดเจน และจังหวะที่ตกห้อง หากมองดูดี ๆ เเละเปรียบเทียบกันระหว่างพุไธสง ขอนแก่น กับวาทอุบล จะเห็นว่าวาทอุบลสามารถเข้ากับจังหวะกลอง และตรงห้องกับดนตรีเป็นอย่างยิ่ง

ดังนั้น ก็ไม่แปลกมากมายนัก ที่หมอลำซิ่งยุคใหม่ ที่ปะปนกับยุคเก่า นำกลอนลำนั้น ๆ มาลำในท่วงทำนองกับกลองดนตรี มากขึ้น เพราะว่ากลอนลำเหล่านั้น ใช้ลำได้ง่าย และตรงห้องดนตรีนั่นเอง

ส่วนหนึ่งจากบทความ

file:///C:/Users/WIN8.1%20PRO/Downloads/97592-Article%20Text-243750-2-10-20170925.pdf

หมายเลขบันทึก: 648757เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2018 15:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กรกฎาคม 2018 15:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท