การนิเทศชั้นเรียน


แผนการนิเทศภายในโรงเรียน

ปีการศึกษา  2561

 

          การนิเทศภายในโรงเรียนจะบรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ หากผู้บริหารโรงเรียน

ได้มีการเตรียมการก่อนการนิเทศ และดำเนินการตามกระบวนการนิเทศภายในโรงเรียน

          การเตรียมการก่อนการนิเทศภายในโรงเรียน

1.  สร้างความเข้าใจร่วมกัน หากครูทุกคนมีความเข้าใจถูกต้อง ตรงกันเกี่ยวกับการนิเทศภายในโรงเรียน จะทำให้ครูคลายความวิตกกังวลและพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับผู้นิเทศ โดยมีเรื่องที่ต้องสร้างความเข้าใจกับครูทุกคน มีดังนี้

2.   แต่งตั้งคณะกรรมการนิเทศภายใน โดยให้บุคลากรในหน่วยงานมีส่วนร่วมในการ

เสนอรายชื่อ  เพื่อช่วยแก้ปัญหาการไม่ยอมรับผู้นิเทศได้ระดับหนึ่ง  โดยคณะกรรมการประกอบด้วย

ผู้บริหารโรงเรียน                                                               ประธาน

ครูวิชาการโรงเรียน หรือผู้ที่ได้รับการคัดเลือกจากคณะครู          กรรมการ

  • ทำความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่ของผู้นิเทศ และผู้เข้ารับการนิเทศรวมทั้ง
  • ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติการนิเทศให้แก่คณะกรรมการดำเนินการนิเทศ

ผู้ที่เกี่ยวข้อง จะทำให้ผู้นิเทศสามารถปฏิบัติงานด้วยความสบายใจ ไม่อึดอัด ขณะเดียวกันก็ช่วยขจัดความรู้สึกขัดแย้งของผู้รับการนิเทศที่มีต่อผู้นิเทศได้ด้วย

3.1.1 กำหนดเป้าหมายของการนิเทศภายในโรงเรียน เช่น

·       ส่งเสริมการปฏิบัติงานและความร่วมมือในการทำงานเป็นหมู่คณะ

โดยใช้กระบวนการกลุ่มในการปฏิบัติงาน

·       ส่งเสริมให้ครูรักงานวิชาการ ทำงานวิชาการอย่างสม่ำเสมอเคารพ

ในหลักการและเหตุผลของการปรับปรุงคุณภาพของงาน

·       ช่วยเหลือให้ครูปฏิบัติงานด้วยความสะดวก มีโอกาสเพิ่มพูนความรู้ ทักษะต่าง ๆ ที่เอประโยชน์ในการปฏิบัติงานในหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ

3.1.2 ส่งเสริมให้ครูมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการนิเทศภายในโรงเรียนและเรื่องอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ของครู

3.1.3 กระตุ้นให้ครูเกิดการพัฒนาตนเองอย่างเสมอ เช่น แจ้งข่าวสาร

ความเคลื่อนไหวทางวิชาการ  การไปเยี่ยมชมนิทรรศการของหน่วยงานต่าง ๆ ส่งเสริมให้อ่านวารสารทางวิชาการและการเขียนบทความ

3.1.4 ร่วมมือกับคณะครูดำเนินงานตามขั้นตอนของกระบวนการนิเทศภายใน

3.1.5 สร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น ยกย่อง

ชมเชยในที่ประชุม นำผลสำเร็จของการปฏิบัติงานมาแสดงให้ปรากฏแก่บุคคลอื่น แต่งตั้งเป็นคณะกรรมการตามความถนัด และเปิดโอกาสให้แสดงความสามารถอย่างเต็มที่

3.1.6 ติดตามประเมินผลและพัฒนาการดำเนินการนิเทศภายใน

3.2 บทบาทหน้าที่ของผู้รับการนิเทศ

3.2.1 ยอมรับบทบาทหน้าที่ของผู้นิเทศโดยรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะและให้ความร่วมมือ

3.2.2 ร่วมมือกับผู้นิเทศในการวิเคราะห์ปัญหาและกำหนดแนวทางการแก้ปัญหา

3.2.3 ปฏิบัติงานตามที่ได้รับการมอบหมายด้วยความจริงใจ และใช้แนวทางที่ได้รับการนิเทศในการแก้ปัญหาหรือพัฒนางาน

ภายใน เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดและความขัดแย้งในการนิเทศ  ตลอดจนป้องกันมิให้ผู้รับการนิเทศเกิดความสับสนและอาจไม่ศรัทธาผู้นิเทศและการนิเทศภายใน

 

 

 

เรื่องที่คณะกรรมการดำเนินการนิเทศภายในโรงเรียน

ควรทำความเข้าใจก่อนเริ่มการนิเทศ

  • การนิเทศภายในระยะแรก ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมการสังเกตการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและเกิดความขัดแย้งได้ง่าย  ควรเลือกกิจกรรมที่ผู้นิเทศกับผู้รับการนิเทศไม่ต้องเผชิญหน้ากันโดยตรง เช่นการฟังคำบรรยาย การมอบหมายให้ศึกษาเอกสารมาเล่าสู่กันฟัง การชมวีดีทัศน์ การพาไปดูตัวอย่างการสอนที่ดี ฯลฯ เมื่อครูมีความคุ้นเคยกับการนิเทศและมีความพร้อม จึงใช้กิจกรรมการสังเกตการสอน
  • การสร้างบรรยากาศ ความเป็นมิตร และความไว้วางใจใช้กิจกรรมทางสังคมหรือกลุ่มสัมพันธ์เข้าดำเนินการ ความสามัคคีในหมู่คณะ เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การนิเทศภายในโรงเรียนประสบความสำเร็จ
  • การตัดสินใจ เลือกใช้กิจกรรมการนิเทศมาแก้ไขปัญหา และพัฒนางานขึ้นอยู่กับปัญหา และสาเหตุของปัญหา ซึ่งต้องร่วมกันพิจารณาอย่างรอบคอบ

 

 การดำเนินการนิเทศภายในโรงเรียน

 กระบวนการนิเทศภายในโรงเรียน แบ่งเป็น 6 ขั้นตอน ดังนี้

  • การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนา
  • การวิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อยเพื่อกำหนดจุดที่จะพัฒนา
  • การหาแนวทางเลือกเพื่อพัฒนา
  • การลงมือปฏิบัติ
  • การประเมินผลและปรับปรุงแก้ไข
  • การเผยแพร่ ขยายผล

 

วัตถุประสงค์ของการนิเทศภายใน

  • เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนของครูให้เกิดประสิทธิภาพ
  • เพื่อสร้างความมั่นใจในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและกิจกรรมเสริมหลักสูตรแก่ครู
  • เพื่อปรับปรุงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนให้สูงขึ้น

เป้าหมาย

เป้าหมายเชิงปริมาณ

  • นิเทศภายในอย่างน้อยภาคละ 1 ครั้ง สังเกตการณ์สอนอย่างน้อยเดือนละ ๑ ครั้ง
  • นิเทศภายในโรงเรียนอย่างน้อยเดือนละ 3 กิจกรรม
เป้าหมายเชิงคุณภาพ
  • ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในกลุ่มทักษะทุกระดับชั้นให้สูงขึ้น
  • ลดอัตราการซ้ำชั้นของนักเรียนลงให้เหลือเฉลี่ยต่ำกว่าร้อยละ 1

 

กิจกรรมการนิเทศภายในโรงเรียนบ้านนา  ปีการศึกษา  2561

 

  • ประชุมเตรียมความพร้อมเปิดภาคเรียน
  • การให้คำปรึกษา
  • การประชุมเชิงวิชาการ
  • การเยี่ยมชั้นเรียน
  • การสอนซ่อมเสริม

กำหนดการนิเทศโรงเรียนบ้านนา  9-13  กรกฎาคม  2561  ##โรงเรียนบ้านนา  4.0

อ้างอิง แผนการนิเทศโรงเรียนวัดห้วยคงคาวราส

หมายเลขบันทึก: 648643เขียนเมื่อ 2 กรกฎาคม 2018 10:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 กรกฎาคม 2018 10:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท