น้ำใจ“ครูฟิลิปปัส”ก้าวข้ามความขาดแคลนในทุกปัญหา ทุ่มพัฒนาสร้างชีวิตมอร์แกน



น้ำใจ“ครูฟิลิปปัส”ก้าวข้ามความขาดแคลนในทุกปัญหา ทุ่มพัฒนาสร้างชีวิตมอร์แกน

ภาพนักท่องเที่ยวฝรั่งตาน้ำขาว ขับมอเตอร์ไซต์โดยข้างหลังเป็นรถลากแบบซาเล้งมีเด็กนักเรียนไทยนั่งไปด้วยเต็มอัตรา ทำให้เราต้องหยุดมองเขาด้วยความแปลกใจ ที่นี้คือโรงเรียนเกาะพยาม ซึ่งอยู่ห่างไกล จากจังหวัดระนอง การเดินทางก็แสนจะลำบากต้องนั่งเรือที่ไม่มีใครการันตีได้ว่าจะถึงฝั่งได้อย่างปลอดภัย ถ้าหากโชคร้ายเจอฝนเข้าอีก ก็อาจจะขึ้นเรือไม่ได้ ลอยลำจนกว่าคลื่นสงบ แล้วฝรั่งคนนี้มาทำอะไร…?

ครูอนุสรณ์ คงเจริญเมือง หรือครูแดง ครูโรงเรียนบ้านเกาะพยาม เล่าให้ฟังว่า คุณครูฟิลิปปัส เขาเข้ามาประเทศไทยเมื่อปลายปี 2555 และขอเข้ามาสอนนักเรียนที่นี้โดยไม่ที่โรงเรียนไม่ได้ให้ค่าตอบแทนใดๆ และตลอดเวลาที่ครูฟิลิปปัสมาโรงเรียน เขาจะเป็นคนที่นำเด็กมอแกนจากเกาะซึ่งอยู่ห่างจากโรงเรียนไปประมาณ 10 กิโลเมตรมาโรงเรียนด้วย

พ่อแม่ชาวมอแกนไม่สนับสนุนให้ลูกมาโรงเรียน ดังนั้นหากวันไหนครูฟิลิปฯไม่มาโรงเรียน เด็กๆชาวมอแกนก็จะไม่ได้มาโรงเรียนด้วย เพราะพ่อแม่ไม่ยอมให้มา ครูฟิลิปจึงเป็นที่คนพ่อแม่นักเรียนชาวมอแกนไว้ใจให้พาเด็กออกมา เด็กชาวมอแกนจึงได้มีโอกาสเรียนหนังสือเหมือนเด็กๆ คนอื่น

ครูอนุสรณ์ เล่าต่อว่า ครูอำนาจเข้าไปปรับทัศนคติจนพ่อแม่นักเรียนชาวมอแกนให้การยอมรับ และยอมให้ครูอำนาจเข้าไปสร้างบ้านอยู่ในหมู่บ้านและคอยช่วยนในหมุ่บ้านชาวมอแกน ซึ่งแต่ก่อนนี้เร่ร่อนอยู่ไม่เป็นหลักแหล่งเกาะ เหลาบ้าง เกาะช้างบ้าง จนกระทั่งมาปักหลักที่เกาะพยามทำให้เด็กชาวมอแกนได้เรียนหนังสือต่อเนื่อง แม้ว่าจะเด็กมอแกนส่วนหนึ่งจะไม่ยอมพูดภาษาไทย

หลังจากฟังเรื่องราวของผู้ชายคนนี้ทำให้ความคิดเราเปลี่ยน เขาเป็นฝรั่งตาน้ำขาวที่เป็นต้นแบบ หรือแบบอย่างของความพอเพียงอย่างแท้จริง เขาเป็นคนที่ยอมทิ้งความสะดวกสบายทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อตัวเอง ด้วยความคิดว่าที่เขาบอกกับทุกคนว่า ชีวิตนี้มีเพียงชีวิตเดียว การใช้ชีวิตที่มีเพียงชีวิตเดียวให้มีความสุข ด้วยการช่วยเหลือคนอื่นให้มีความสุข และเขาพบว่าเมื่อคนอื่นมีความสุข เขามีความสุขที่ได้เห็นรอยยิ้มของคนอื่น ...

จากเด็กหนุ่มที่ครอบครัวมีฐานะที่เป็นมหาเศรษฐีของแอฟริกา มีที่ดินกว่า 3,000 เคเคอร์ ฟาร์มวัว ไร่ข้าวโพด ไร่ถั่วเหลือง และสวนป่า ซึ่งสามารถสร้างรายได้มหาศาลในแต่ละปี ไม่อาจจะดึงหัวใจเด็กหนุ่มคนนี้กลับไปได้ เพราะห้วงเวลาที่ผ่านมาพิสูจน์แล้วว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่คำตอบของความสุขที่แท้จริ

เรากำลังเปิดใจกับครูครูฟิลิปปัส อัลเบอร์ทัส แอน อิก ( Philippus Albertus Van Wyk) หรือที่เด็กๆ และนักเรียนโรงเรียนเกาะพยาม ตำบลพยาม อำเภอเมือง จ.ระนอง เรียกว่าครูอำนาจ เรามีโอกาสพูดคุยกับเขาในฐานะครูอาสาสมัครสอนภาษาอังกฤษ แต่ไม่ได้รับเงินเดือนจากโรงเรียนรัฐบาลแห่งนี้ เขาทุ่มเทให้กับเด็กไทยด้วยหัวใจล้วนๆ เพราะแม้ครอบครัวจะมีฐานะร่ำรวย แต่การที่เขาทิ้งทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อค้นหาความสุขที่แท้จริงของชีวิต ด้วยการละทุกสิ่งทุกอย่าง จนทำให้คุณพ่อที่แอฟริกา ตัดเขาออกจากกองมรดกและประกาศไม่ให้สมบัติกับเขาแม้แต่ชิ้นเดียว พร้อมกับให้ฉายาเขาว่า “คนบ้า” กลัวว่าหากให้ครูอำนาจแล้ว ก็คงหมดไปกับการแจกคนยากคนจน ซึ่งครูอำนาจบอกว่าถ้าเธอมีมากขนาดนั้นก็จะทำอย่างนั้นจริงๆ ทำให้ผู้เขียนนึกในใจว่าเด็กมอแกนบ้างเราโชคดี เพราะก่อนหน้านี้ครูอำนาจเคยไปมาหลายประเทศ แม้กระทั่งอินเดีย แต่กลับชอบรอยยิ้มเด็กมอแกน

ครูอำนาจ หรือครูฟิลิปปัส ยอมให้เขาไปเที่ยวหมู่บ้านมอแกน ซึ่งเขาบอกเราว่า คนมอแกนไม่ค่อยจะยอมรับคนแปลกหน้าเข้าไปหมู่บ้านสักเท่าไหร่ แต่เราก็อุ่นใจเพราะมีคนที่คนมอแกนนำทาง การเดินทางไปยังหมู่บ้านมอแกน ซึ่งห่างไปจากโรงเรียนประมาณสัก 10 กิโลเมตร ก็คือนั่งซาเล้งไปกับเด็กๆในช่วงเลิกเรียน ที่เพื่อนครูอำนาจคือคุณโจนาธานชาวมาเลเซีย ช่วยประดิษฐ์ขึ้นเพื่อให้สามารถพาเด็กๆชาวมอแกน จำนวน14 คนไปโรงเรียนได้ ทั้งนี้เพราะบนเกาะพยามไม่มีรถยนต์ใช้ และบนเกาะแห่งนี้มีกติกาห้ามนำรถยนต์ขึ้นมาวิ่ง ถนนหนทางจึงไม่ได้สร้างเพื่อรองรับรถยนต์ เส้นทางค่อนข้างลำบากเป็นทางเข้าไป ข้างทางรกไปด้วยไม้ นั่งไปก็ต้องระวังกิ่งไม้ขวน หน้าเป็นแผลได้ แต่ครูอำนาจและเด็กๆ ชำนาญ บ้างช่วงก็ต้องลงจากซาเล้ง เดินเพราะเส้นทางลงเขาลาดชันมากหน่อย มอเตอร์ไซต์ที่พ่วงซาเล้ง ไม่อาจจะต้านแรงโน้มถ่วงโลกได้ ซึ่งอาจจะเป็นอันตรายเด็กๆ เด็กชาวมอแกนก็รู้ทุกคนกระโดดลงจากซาเซ้ง เดินบ้างวิ่งบ้าง ไปรอจนกว่ารถมอเตอร์ไซต์ซึ่งพ่วงซาเล้งเปล่าไปลงไปถึง ซึ่งดูเหมือนครูอำนาจเองก็จะมีความชำนาญในการขับมอเตอร์ที่เกี่ยวซาเล้งไว้ด้วย พ้นเขตอันตรายเด็กมอแกนก็กระโดดขึ้นซาเล้งต่อ แต่หนทางไปหมู่บ้านค่อนข้างลำบาก บ้างช่วงเป็นพื้นทรายหนา ไม่มีถนนลาดยางเป็นเส้นทางธรรมชาติที่เห็นว่ามีช่องว่างให้รถวิ่งได้ เด็กๆ ชาวมอแกนก็รู้หน้าที่ลงมาจากรถช่วยกันเข็นรถมอเตอร์ไซต์ครูอำนาจให้สามารถวิ่งไปข้างหน้าต่อ เป็นภาพที่สนุกสนาน น่ารักในความเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน 

จรดพื้นที่ทราย เด็กๆ ต้องข้ามแพ ซึ่งเป็นเป็นฝีมือครูอำนาจ ที่เจียดเงินที่ได้มาเดือนละ 16,000บาท สร้างแพแบบประดิษฐ์ด้วยมือพอที่จะให้เด็กมอแกน10 กว่าชีวิตฝ่าน้ำทะเลมาโรงเรียนได้ ความสามารถครูอำนาจถือว่าพอตัวก็เพราะว่าเธอจบวิศวกรรมเครื่องกล ขึ้นนั่งบนแพใช้มือสากเชือก แพก็จะเดินหน้า แต่หากช่วงน้ำทะเลขึ้นการเดินทางจะลำบากมาก เสี่ยงความปลอดภัยมากเช่นกันครูอำนาจบอกว่าระมัดระวังให้กับเด็กๆมากๆ

ข้ามแพถึงหมู่บ้านชาวมอแกน ครูอำนาจบอกกับเราว่าหมู่บ้านมอแกนสกปรกนะ เธอบอกกับเราแบบอายๆ ช่วมอแกนไม่ชอบอาบน้ำ และที่นี้ไม่สะดวกไม่มีน้ำอาบ การอาบน้ำทะเลซึ่งมีความเค็มทำให้ผิวแห้งมากๆ ดังนั้นนักเรียนมอแกนและคนมอแกนที่นี้จึงมีปัญหาโรคผิวหนัง และป่วยได้ง่ายๆ สุขภาวะของคนที่นี้มีปัญหามากๆใน ตอนแรกที่เข้ามาพบคนมอแกนอายมากๆ บ้างคนไม่ใส่เสื้อผ้า

“จริงๆ ผมเคยไปมาหลายประเทศเพื่อทำงานในฐานะอาสาสมัครเผยแพร่ ศาสนาคริสต์ให้กับเพื่อนร่วมโลกได้มีที่ยึดเหนี่ยว ไปในหลายประเทศที่มียากจน แม้แต่ประเทศอินเดียก็ไปมาแล้ว ผมว่าอินเดียปัญหามากที่สุดในโลก แต่ผมชอบที่นี้ ตอนแรกมาทำงานในฐานะเจ้าหน้าที่มูลนิธิแสตมป์ เขาให้เงินสนับสนุนเพื่อเผยแพร่ศาสนา แต่ผมมองที่นี้ปัญหาเยอะ ต้องให้ความรู้เรื่องอนามัยก่อน มูลนิธิไม่ยอม มูลนิเขาไม่เห็นด้วยก็เลยไม่สนับสนุนเงินอีก ผมเลยต้องใช้ความสามารถ เพราะอยากช่วยคนมอแกนก็เลยขอจากเพื่อนๆ ที่แอฟริกาฯ ประมาณสัก 30 คน และมีคุณแม่ที่เคยช่วยเหลือ ซึ่งแม่เพิ่งเดินทางกลับไป ช่วยกันบริจาคคนละเล็กๆ น้อย แลกเป็นเงินไทยได้ประมาณ 16,000-20,000 บาท /เดือน ก็เอามาช่วยเหลือซื้อข้าวให้เด็กได้กิน ผมหุงข้าวเผื่อเด็กๆ ทุกวัน ซื้อเสื้อผ้าให้เด็กมอแกนได้ใส่ และมีส่วนที่เหลือก็จุนเจือชาวบ้านไป ที่นี้มีมอแกนประมาณ 100 คน ประมาณ 30 กว่าครัวเรือน บ้านหลังหนึ่งอาศัยกันหลายคน บ้านที่สร้างถาวรหน่อยมูลนิธิเป็นคนช่วยสร้างให้ ปัจจุบันชาวมอแกนดีขึ้นเยอะ

ครูฟิลิปย้อนให้ฟังว่าเมื่อประมาณ 3 ปีมาแล้ว ผมกับคุณโจนาธานได้เดินทางมาที่นี้ มาทำงานให้กับมูลนิธิแสตม์ เข้ามาเผยแพร่ศาสนาสริสต์ให้กับชาวมอแกน ก็เจอปัญหาเยอะ ลูกมาก แล้วก็ไม่สะอาด อาหารการกินไม่พอ มีหลายเรื่องมีปัญหาในหลายเรื่อง คนที่นี้ไม่มีบัตรประชาชน ก็บอกว่าโจนาธานว่าผมอยากจะช่วยมอแกนที่นี้ เพราะก่อนหน้านี้ผมอยู่เมืองไทย สามารถพูดภาษาไทยได้เล็กน้อย และผมได้มีโอกาสพูดคุยกับอาจารย์เสียง ซึ่งอยู่ที่ระนอง ผมชอบอาจารย์เสียงมาก และคิดว่าผมสามารถทำงานร่วมกับอาจารย์เสียงได้ แล้วก็มีปัญหาเล็กน้อยกับมูลนิธิที่เราทำงานด้วย เขาต้องการให้เราสอนศาสนา แต่ผมมองว่าคนมีปัญหาเยอะ แต่คุณต้องการเพียงสอนศาสนาเท่านั้น ผมก็คิดว่าเราช่วยคนดีกว่าสอนศาสนา มูลนิธิก็ไม่ยอม ที่นี้อาจารย์เสียงก็บอกว่าผมสามารถเข้ามาช่วยเหลืองานตรงนี้ได้ 

ผมคิดว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร คือเราไม่มีเงินสนับสนุนอีกแล้ว แล้วที่นี้ไม่มีแพ ไม่มีน้ำอาบ ไม่มีบ้านอยู่ ไม่มีแก๊ส ไม่มีอาหาร อยู่ยากมากๆ ในขณะเดียวกันชาวมอแกนก็อายมากๆ เราบอกว่าจะช่วยเขา แต่เขาไม่เข้าใกล้เราเลย ตอนนั้นยังทำงานอยู่มูลนิธิและอยู่ในตัวเมืองระนอง แต่ในทุกเสาร์-อาทิตย์ผมมาเกาะพยามให้คนมอแกนคุ้นเคยกับผม หลังจากนั้นผมขอคนมอแกนว่าผมจะสร้างบ้านเล็กๆได้ไหม คนมอแกนบอกว่าสร้างได้ แล้วผมก็ขอคุณวุฒิ ซึ่งเป็นแกนนำคนมอแกนว่าผมอยู่ที่นี้ได้ไหม เขาบอกว่าได้ ซึ่งคุณวุฒินี้หลังจากที่ผมพาเด็กๆมาโรงเรียนเขามาช่วยนำเด็กมอแกนมาส่งโรงเรียน แต่ทำได้ไม่นานก็เบื่อ ผมก็เลยทำหน้าที่แทน

ครูอำนาจเล่าให้เราฟังระหว่างเดินทางเข้าหมู่บ้านมอแกน ในระหว่างที่เจอะเจอชาวมอแกนครูอำนาจก็ทักทายเป็นระยะๆผ่านบ้านโน้น ผ่านนี้ ดูเหมือนคนมอแกนจะรักครูอำนาจมาก เธอสามารถเข้าไปคุยกับทุกๆคนเหมือนญาติพี่น้อง เด็กๆที่เดินผ่านตะโกนเรียกครูด้วยความคุ้นเคย ผ่านบ้านซึ่งมีหญิงแม่ลูกอ่อนครูอำนาจก็เข้าไปแนะนำวิธีดูแลเด็กๆ แม้จะเพียงคำพูดเล็กๆ น้อย แต่อาการที่แสดงถึงความจริงใจ ความตั้งใจที่จะช่วยเพื่อนมนุษย์ทำให้เรารู้สึกทึ่งและเข้าใจความรู้สึกของชายคนนี้ แม้วัฒนธรรมที่แตกต่าง ภาษาที่สื่อกันรู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้างเพราะชาวมอแกนไม่ค่อยยอมพูดภาษาไทย ไม่ยอมพูดอังกฤษ ยังคงใช้ภาษาพื้นเมือง ครูอำนาจเป็นคนปรับตัวเข้าหาเขาต่างหาก ....

เธอเปรย... ขึ้นมาเราหยุดความคิด “ผมอยากช่วยชาวมอแกนทุกคน แต่ผมมองว่าสอนผู้ใหญ่นั้นยาก แต่เด็กส่วนใหญ่สนใจมาโรงเรียน ในช่วงแรกผมสอนเด็กชาวมอแกนที่หมู่บ้าน เด็กๆมอแกนบอกว่าเบื่อมากๆ ไม่เข้าใจคุณครู คุณครูทำอะไร ไม่เข้าใจ เมื่อก่อนผมพูดภาษาไทยได้นิดหน่อย เด็กบอกว่าฟังไม่รู้เรื่อง ทำให้ผมต้องเรียนรู้ภาษาไทยหนักขึ้น เพราะคิดถ้าถ้าอยู่เมืองไทยไม่ยอมเรียนรู้ภาษาไทยก็จะทำอะไรไม่ได้ เด็กมอแกนไม่ค่อยพูดภาษาไทย จะพูดภาษาของเขาผมคิดว่าถ้าพาเด็กๆไปโรงเรียนน่าจะทำให้อะไรดีขึ้น หลังจากนั้นผมก็มาขอผอ.โรงเรียนเกาะพยาม ขอมาสอนนักเรียน และขอเอาเด็กมอแกนมาเรียนที่นี้ด้วย ในขณะเดียวกันผมก็อยากจะเรียนภาษาไทยด้วย ในที่สุดผอ. เขาอนุญาต ก็พาเด็กมอแกนมาโรงเรียน เด็กๆรู้สึกสนุกสนาน เพราะเขาได้เรียนกับเด็กไทย เด็กพม่า มอญ ซึ่งการเรียนรู้ของเด็กมอแกนส่วนใหญ่ดีขึ้น แต่เด็กมอแกนเองก็ไม่ยอมพูดภาษาไทย เขามีภาษาสื่อสารของเขา แต่เมื่อมาโรงเรียนเด็กมอแกนพยายามจะเรียนภาษาไทย ซึ่งมันก็ดีขึ้น แต่ก็ยังไม่เป็นที่น่าพอใจของผม อยากให้พัฒนาไปกว่านี้

ผอ.บอกว่าดีมากๆ เพราะการที่ผมมาสอนที่นี้เด็กนักเรียนจะได้เรียนภาษา และเด็กมอแกนจะได้เข้าโรงเรียนด้วย ตอนแรกมา 9 คน แต่ตอนนี้เพิ่มขึ้นมา 14 คน แต่เด็กมอแกนส่วนใหญ่ยังไม่มีบัตรประชาชน ไม่มีระเบียบ มาจากเกาะเหลา เกาะช้าง เพราะเปลี่ยนเกาะอยู่บ่อย ตอนนี้มีมา14 คน และอีก 1 คนอยากมามากๆ นอกจากนั้นมีเด็กเล็กอีก 4-5 ขวบอีก 4-5 คนที่อยากจะมา แต่ผมคิดว่าเด็กเล็กๆ เข้าใจยากยังติดพ่อแม่อยู่ และการอยู่กับพ่อแม่ก็น่าจะดีกว่า

การเดินทางมาโรงเรียนค่อนลำบาก แต่เด็กมอแกนบอกว่าครูสอนที่หมู่บ้านไม่เข้าใจ มาโรงเรียนสนุกกว่า แต่ผมว่าครูที่โรงเรียนเกาะพยามนี้เก่งมาก ช่วยเด็กได้มากๆ แต่เด็กที่นี่มาจากหลากหลายวัฒนธรรม ซึ่งไม่เหมือนกันเลย สุดโต่งหมดเลย แต่ครูที่นี้เก่งช่วยคนมอแกนได้ ช่วยคนพม่าได้ ช่วยเด็กไทยได้ และปัจจุบันผมเรียนด้วย ผมว่าภาษาไทยยากมาก

เราได้ยินข่าวว่าการมาทำงานกับชาวมอแกนทำให้ครูอำนาจถูกแฟนทิ้งไปเรียบร้อยแล้ว จึงเอยถาม ครูอำนาจพูดแบบปลงๆ ว่า คงไม่มีผู้หญิงคนไหนยอมมาอยู่ท่ามกลางความขาดแคลนแบบน้ำข้าวไม่มีกิน น้ำไม่มีอาบ ไฟฟ้าไม่มีใช้ แก๊สไม่มีเกาะพยายามอยู่ห่างไกล การจะขนข้าวของมายังเกาะเป็นเรื่องที่ลำบาก ที่นี้มีกติกา การเดินทางไปมาก็ไม่สะดวกสบาย

ผมอยากอยู่ที่นี้อีกสัก 5 ปี อยากเห็นเด็กมอแกนที่อยู่ป.2 (มอแกน9 คน ใน14 คนเรียนอยู่ป. 2 ) เรียนต่อไปได้ แต่เด็กเล็กๆ ผมไม่เข้าใจ เด็กป.2 อายุ 9-12 ปี ดูแลง่ายกว่า เข้าใจได้ง่ายกว่า ไม่เหมือนเด็กเล็กๆ คิดถึงพ่อแม่ ติดพ่อแม่มาก เด็กมอแกนที่ไม่เคยใส่เสื้อผ้า ไม่เคยอาบน้ำ เด็กส่วนใหญ่บอกว่าไม่รู้ เราก็อาบน้ำให้เขาบอกว่าไม่อาบไม่ได้ แต่พอผ่านไปอีก 2-3 วันก็ไม่อาบน้ำอีก ก็ต้องคอยดูแลกันไป จริงๆ เราไม่อาบน้ำด้วยเพราะน้ำไม่มี ที่แอฟริกาไม่มีน้ำ มีปัญหาโรคผิวหนังมาก

ผมอยู่มาหลายประเทศแอฟริกา อินเดียมีปัญหามากที่สุด ประเทศไทยมีปัญหาแต่ดีกว่าประเทศอื่น ก่อนหน้านี้ผมเคยช่วยคนที่แอฟริกา มาสักระยะหนึ่งแล้ว และก็อินเดีย ผมคิดว่าตัวเองอยู่ไม่ได้ สกปรกมากๆ ไทยน่ารักมากๆ ที่นี้มีอาหารกิน มีน้ำกิน แต่ที่แอฟริกา กินดิน ไม่มีอาหารกิน ไม่มีน้ำอาบ

เมื่อถามว่าทำไมไม่กลับแอฟริกาครอบครัวร่ำรวยไม่ต้องลำบาก ครูอำนาจบอกว่า พ่อไม่เข้าใจ แม่เข้าใจ เพราะแม่รักคนอื่นชอบช่วยเหลือคนอื่น พ่อไม่เข้าใจ พ่อทำงานหนักมากๆ แล้วก็รวยๆมากๆ เงินเยอะ มีที่ดิน3,000 เอเคอร์ ฟาร์มเลี้ยงวัว มีปลูกข้าวโพด ถั่วเหลืองมี ต้นสวนป่า แต่พ่อไม่ให้ผม กลัวผมจะแจกคนหมด การมาอยู่ที่นี้ก็ต้องอาศัยเงินบริจาคตากเพื่อนๆ แต่ที่แอฟริกาก็มีปัญหาเหมือน บ้างช่วงดี ส่งเงินได้ บ้างช่วงไม่ดีส่งเงินไม่ได้ เงินที่ใช้มาจากเพื่อนๆ และก็แม่ มีประมาณ 30 คน ที่ช่วยผม ให้คนละนิดเหน่อย ขอได้ รวมกัน แลกเป็นเงินไทยประมาณ 16,000-20,000 บาท โดยเงินที่ได้ส่วนใหญ่ซื้อ อาหาร ของเล่นให้กับเด็ก ๆ เสื้อผ้า รองเท้า

ผมใช้ไม่เยอะ บ้างเดือนมีเงินเหลือก็พาไปเที่ยว ไประนอง ไปภูเก็ต เด็กมอแกนเขาตกใจมาก เด็กมอแกนเข้าใจว่าบนเกาะภูเก็ตมีคนเยอะที่สุดในโลก

ครูอำนาจเป็นตัวอย่างคนที่ช่วยเหลือคนอื่นด้วยความตั้งใจ และมุ่งมั่นที่อยากให้เขามีชีวิตที่ดีขึ้น ด้วยเงินเพียงเล็กน้อย แต่ต้องเลี้ยงดูเด็กมอแกน ซึ่งเปรียบเหมือนลูกๆ อีก 14 คน ดังนั้นเธอจะต้องบริหารเงินนี้อย่างระมัดระวังที่สุด เพราะในเดือนต่อไปก็ไม่แน่ใจว่าจะมีเงินจากแอฟริกาส่งมาหรือไม่ จึงไม่แปลกที่เราจะเห็นฝรั่งตาน้ำขาวคนนี้ทำในสิ่งที่เราก็คิดไม่ถึง

ทุกเที่ยงของทุกวันครูอำนาจจะมีปิ่นโตที่มีเพียงข้าวเปล่ามาโรงเรียน และตอนเที่ยงคือรอรับแกงซึ่งโรงเรียนเตรียมไว้เลี้ยงอาหารกลางวันสำหรับนักเรียนจำนวน 97 คน ซึ่งมากที่สุดก็ 2 อย่าง แต่ก็มีมากพอสำหรับครู4-5คนในโรงเรียนด้วย แต่ครูอำนาจเลือกที่จะนั่งรับประทานอาหารกับนักเรียน ไม่เคยเลือกว่าแกงนี้อร่อยหรือไม่อร่อย แม้วันนี้จะเป็นแกงเผ็ดไก่ แต่เราก็ไม่ได้ยินเสียงครูอำนาจ บ่นว่าเผ็ด เมื่อถามว่าอร่อยไหม เธอบอกว่าอร่อย และรับประทานหมด

โรงเรียนเกาะพยามไม่จัดอาหารกลางวันให้เด็กครบทั้งข้าวและแกง ครูอนุสรณ์บอกว่า ด้วยเหตุบนเกาะไม่มีไฟฟ้าใช้ ไม่มีน้ำใช้ นักเรียนจึงต้องนำข้าวมาเอง หุงข้าวไม่ได้ เพราะโรงเรียนใช้ระบบโซลาเซลล์ และไม่มีใครบอกได้ว่าวันไหนจะปั่นไฟใช้ได้ เพราะไม่มีแดด ฝนตก ดังนั้นเด็กนักเรียนบ้างคนจึงไม่มีข้าวมาโรงเรียน ด้วยพ่อแม่ต้องทำงาน ขาดการดูแล หรือด้วยความยากจน ฯลฯ เราหวังเพียงแต่ว่าผู้ใหญ่ในบ้านเมือง หรือคนที่มีจิตเมตตาจะเผื่อแผ่และมีจิตเสียสละแบบครูอำนาจจะเห็นความจำเป็นของที่นี้บ้าง

ครูอำนาจเป็นฝรั่งที่น่าจะเป็นต้นแบบ หรือแบบอย่างของคนที่ตั้งใจช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ เป็นอดีตเศรษฐีที่ละวางทุกสิ่งทุกอย่างและพิสูจน์ให้คนทั้งโลกเห็นแล้วว่า เราสามารถมีชีวิตอยู่ได้ และสามารถช่วยเหลือคนอื่นๆ ให้สุขได้ท่ามกลางความขาดแคลนในทุกๆ เรื่อง....

คำสำคัญ (Tags): #ชีวิตมอร์แกน
หมายเลขบันทึก: 647758เขียนเมื่อ 29 พฤษภาคม 2018 13:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2018 13:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท