โครงการ สร้างสรรค์ภูมิปัญญาท้องถิ่น เกษตรบูรณาการ


ชื่อโครงการ      สร้างสรรค์ภูมิปัญญาท้องถิ่น เกษตรบูรณาการ

หลักการและเหตุผล

          พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕  (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา  ๒๗ ระบุว่า ให้สถานศึกษามีหน้าที่กำหนดหลักสูตรเพื่อความเป็นไทย ความเป็นพลเมืองดีของชาติ การดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพเพื่อการศึกษาต่อ  โดยสถานศึกษามีหน้าที่จัดสาระของหลักสูตรในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม  ภูมิปัญญาท้องถิ่น  คุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว  ชุมชนสังคม และประเทศชาติ  นอกจากนั้นในมาตรา  ๒๙  ยังระบุว่า  ให้สถานศึกษาร่วมกับครอบครัว ชุมชน  องค์กรชุมชน  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  เอกชน  องค์กรเอกชน  องค์กรวิชาชีพ  สถาบันศาสนา  สถานประกอบการ  ส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้  มีการแสวงหาความรู้  ข้อมูล  ข่าวสาร  เลือกสรรภูมิปัญญาและวิทยาการต่าง ๆ เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลา  ทุกสถานที่  มีการประสานความร่วมมือกับบิดา  มารดา  ผู้ปกครองและบุคคลในชุมชนทุกฝ่ายเพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ  ประกอบกับนโยบายการจัดการศึกษาตามแนวทางโรงเรียนดี  ศรีตำบล  ได้มุ่งเน้นให้โรงเรียนใช้แหล่งการเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นศูนย์การเรียนรู้งานอาชีพอย่างครบวงจรให้นักเรียนมีรายได้ระหว่างเรียน

          เกษตรบูรณาการเพื่ออาหารกลางวันเป็นพระราชดำรัสของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  ที่พระองค์ทรงห่วงใยที่จะช่วยเหลือเด็กและเยาวชนและประชานชนที่ด้อยโอกาส  ขาดแคลนอาหารและปัจจัยต่างๆ  ขาดการบริการสาธารณสุขและการศึกษา  ด้วยการที่พระองค์ได้ให้สถานศึกษาทำโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน  เพื่อแก้ปัญหาการขาดอาหารและพัฒนาภาวะโภชนาการและสุขภาพของเด็ก  โดยการดำเนินการจะเริ่มที่สถานศึกษาเพื่อให้สถานศึกษาทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผ่านกระบวนการทางการศึกษา  โดยยึดหลักการพึ่งพาตนเอง  การมีส่วนร่วม  การพัฒนาองค์รวมโดยผ่านกระบวนการเรียนรู้  การประสานงานความร่วมมือทุกภาคส่วน  และการพัฒนาผู้ปฏิบัติงานให้มีความรู้ และมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน

          ดังนั้น  โครงการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาท้องถิ่น  เกษตรบูรณาการ จึงเป็นโครงการที่จะส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคลากรภายในสถานศึกษา ครอบครัว ชุมชนและองค์กรที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพได้ยิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์

          1. เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครอง  ชุมชน และภูมิปัญญาท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาจัดการเรียนรู้งานอาชีพได้สอดคล้องกับวิถีชีวิตคนในชุมชน  โรงเรียนเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้

          2. เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคลากรภายในโรงเรียน  ระหว่างโรงเรียนกับครอบครัว  ชุมชน  และองค์กรที่เกี่ยวข้อง

          3. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมสร้างงานอาชีพให้กับนักเรียนตามความถนัดและความสนใจ  ก่อให้เกิดรายได้ระหว่างเรียน นักเรียนได้เรียนรู้กับภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านงานอาชีพ

เป้าหมาย

           เชิงปริมาณ

           ผู้ปกครอง  ชุมชน และภูมิปัญญาท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาจัดการเรียนรู้งานอาชีพได้สอดคล้องกับวิถีชีวิตคนในชุมชน      ร้อยละ  80 เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคลากรภายในโรงเรียน  ระหว่างโรงเรียนกับครอบครัว  ชุมชน  และองค์กรที่เกี่ยวข้อง  ร้อยละ 80

            เชิงคุณภาพ

            1. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมสร้างงานอาชีพให้กับนักเรียนตามความถนัดและความสนใจ  ก่อให้เกิดรายได้ระหว่างเรียน

            2. นักเรียนได้เรียนรู้กับภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านงานอาชีพอย่างมีคุณภาพ

 กิจกรรมขั้นตอนการดำเนินการ

     ระยะเวลา 1 ปีงบประมาณ

            1.ประชุมชี้แจงคณะครู และผู้เกี่ยวข้อง  เดือนตุลาคม 2560

            2.แต่งตั้งคณะทำงาน  เดือนพฤศจิกายน  2560

            3.ดำเนินการตามโครงการ  เดือนพฤศจิกายน 2560 - เดือนกันยายน 2561

            4.ติดตามและประเมินผล  เดือนพฤศจิกายน 2560 /เดือนมีนาคม 2561 /เดือนมิถุนายน 2561 /เดือนกันยายน 2561

            5.สรุปรายงานผล  เดือนกันยายน 2561

หมายเหตุ  โครงการ สร้างสรรค์ภูมิปัญญาท้องถิ่น เกษตรบูรณาการ  มีรายละเอียดกิจกรรมย่อย ดังนี้

กิจกรรมที่ 1 การปลูกผักสวนครัว

กิจกรรมที่ 2 การเพาะเห็ด

กิจกรรมที่ 3 การเลี้ยงเป็ด

กิจกรรมที่ 4 การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ

กิจกรรมที่ 5 การเลี้ยงไส้เดือน

กิจกรรมที่ 6 การประกอบอาหาร

 ทรัพยากร

               1. งบประมาณ      

                ใช้งบประมาณแผนเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายรายหัว  จำนวน  2,000  บาท

               2. บุคลากร

                   - คณะครู                                                 จำนวน       9          คน

                   - นักเรียน                                                จำนวน    142          คน  

                   - คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน           จำนวน       9          คน                                             

                   - บุคลากรทางการศึกษา                             จำนวน       2          คน

 การประเมินผล

รูปแบบ

CIPP  MODEL

ระยะเวลา

การประเมิน

วิธีการ

ประเมิน

เครื่องมือ

การประเมิน

หมายเหตุ

1. สภาวะแวดล้อม (Context)

ระยะที่ 1 ขณะเริ่มดำเนินการ

1. การสังเกต

1. แบบสังเกต

 

2. ปัจจัย (Input)

ระยะที่ 2 ระหว่างดำเนินการ

2. การสัมภาษณ์

2. แบบสัมภาษณ์

 

3. กระบวนการ (Process)

ระยะที่ 3 สิ้นสุดโครงการ

3. การตรวจสอบ

3. แบบตรวจสอบ

 

4. ผลผลิต (product)

 

 

4. แบบประเมิน

 


ผลที่คาดว่าจะได้รับ

            1. ผู้ปกครอง  ชุมชน และภูมิปัญญาท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาจัดการเรียนรู้งานอาชีพได้สอดคล้องกับวิถีชีวิตคนในชุมชน  ร้อยละ  80

            2. เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคลากรภายในโรงเรียน  ระหว่างโรงเรียนกับครอบครัว  ชุมชน  และองค์กรที่เกี่ยวข้อง  ร้อยละ 80

            3. โรงเรียนได้ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมสร้างงานอาชีพให้กับนักเรียนตามความถนัดและความสนใจ  ก่อให้เกิดรายได้ระหว่างเรียน

            4. นักเรียนได้เรียนรู้กับภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านงานอาชีพอย่างมีคุณภาพ

 

หมายเลขบันทึก: 647754เขียนเมื่อ 29 พฤษภาคม 2018 11:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2018 11:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท