ชีวิตที่พอเพียง 3166. ปาฐกถาไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ครั้งที่ ๕



อ่านเรื่องปาฐกถาไพบูลย์วัฒนศิริธรรม ครั้งก่อนๆ ได้ที่ , ,    และสามารถใช้คำว่า “ปาฐกถาไพบูลย์วัฒนศิริธรรม” ค้นด้วย Google ฟังปาฐกถาในYouTube ได้

ปาฐกถาไพบูลย์วัฒนศิริธรรมปีนี้จัดเมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๖๑  ที่ตลาดหลักทรัพย์ ถนนรัชดาภิเษก   ในหัวข้อ สำนึกใหม่ ... สังคมไทย    โดยมีวิทยากร ๔ ท่านคือ (๑) พระไพศาล วิสาโลเจ้าอาวาสวัดป่าสุคะโต  (๒) นางสาวเอด้า จิรไพศาลกุลแห่ง TYPN (๓) นายธีรศักดิ์ ฑีฆยุพันธ์  นายกเทศมนตรี เทศบาลนครขอนแก่น  และ (๔) รศ. ดร. วรากรณ์สามโกเศศ

พระไพศาล วิสาโล   กล่าวปาฐกถา ว่ากระแสการเปลี่ยนแปลงใหญ่ คือโลกาภิวัตน์  เกิดจากพัฒนาการด้านเทคโนโลยี    ทำให้วิถีชีวิตเปลี่ยนแปลง    มีผลสำคัญ ๒ ประการคือ  (1) วัฒนธรรมวัตถุนิยม  กระแสแห่งความละโมบ   ความมั่งคั่งเป็นจุดหมายของชีวิต  ก่อปัญหาสังคม   ความอ่อนแอในครอบครัว   ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม    (2) กระแสโกรธเกลียด   นำสู่ความรุนแรง 

 สำนึกใหม่เรื่องความสุข   คือความสุขที่เกิดจากการกระทำ   ความสุขจากการให้   จากการช่วยเหลือผู้อื่น   ต่างจากความสุขจากการเสพ   ท่านยกตัวอย่างเรื่องจริงของคนที่ท่านรู้จักมะเร็งหายจากการช่วยเหลือผู้อื่น  

 สุขจากความสัมพันธ์ที่ราบรื่น   จากการทำใจ  ทำสมาธิ   คนเดนมาร์กความสุขสูงสุด จากความสัมพันธ์ที่ดีในสังคม    จากการที่คนร้อยละ ๗๐ ทำกิจกรรมอาสาสมัคร   เป็นความสุขจากการมี empathy (ความรู้สึกร่วม)      เป็นความสุขจากภายใน  จากทำดี มีน้ำใจ 

 สำนึกที่ก่อความสามารถในการรวมพวกเขาให้เป็นพวกเรา     อันเกิดจากจิตใหญ่  สำนึกที่กว้าง   เห็นสิ่งใหญ่กว่าที่มีร่วมกัน    ถึงตอนนี้ผมนึกถึงสำนึกถึงความเชื่อมโยง พึ่งพาอาศัยของสรรพสิ่ง

 ท่านไพศาลกล่าวถึงสำนึกของสมมติ  ฝึกมองให้เห็นความเหมือน   ส่วนร่วม   ไม่ด่วนสรุปว่าความเห็นของตนเท่านั้นที่ถูกต้อง   และไม่ยึดติดความดีของเรา    มีปราชญ์กล่าวว่า ความเห็นที่ถูกหากยึดติดก็ผิด

 อย่ามองคนอื่นเป็นศัตรู  ศัตรูที่แท้คือความโกรธเกลียด

คุณเอด้า จิรไพศาลกุล (Thai Young PhilantropistNetwork)   

เป็นผู้นำรุ่นใหม่ที่ทำงานเพื่อสังคมตามแนวทางของคุณไพบูลย์   โดยในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ได้ทำงานกับคุณไพบูลย์ในช่วงเวลาสั้นๆ    ได้ซึมซับแรงบันดาลใจในการทำงานเพื่อสังคม   และได้รู้ว่างานใหญ่ในระดับเปลี่ยนแปลงสังคมต้องใช้เวลา

 คุณเอด้าเสนอปัจจัยหลัก ๓ประการในการทำงานเพื่อสังคม คือ   (1) สำนึกพลเมืองเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง   (2) ลงมือทำ   (3) สานต่อจนเกิดการเปลี่ยนแปลง   

เธอเอ่ยถึงความอยุติธรรมในสังคม  ความเสแสร้ง    ว่าเป็นของธรรมดา  

ในการบ่มเพาะจิตอาสาโดยการลงมือทำนั้นระบบการศึกษาไทยไม่เอื้อ   เธอได้รับการบ่มเพาะคุณค่านี้จากการได้ทุนไปเรียนชั้นมัธยมที่สิงคโปร์    ในโรงเรียนคริสต์เมโธดิสต์   ทางโรงเรียนกำหนดให้นักเรียนทุกคนต้องทำกิจกรรมจิตอาสา     และเมื่อกลับมาเรียนมหาวิทยาลัย ที่คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็ได้รับสภาพแวดล้อมที่เอื้อ

   ในการเริ่มทำกิจกรรม TYPN(1) นั้น    ได้มีโอกาสลงมือทำแบบลองผิดลองถูกแล้วแก้ไขปรับปรุง    โดยจริงๆแล้วการริเริ่มงานสร้างสรรค์เพื่อสังคมของคนรุ่นใหม่ ได้รับการหล่อหลอมจากคนรุ่นก่อน    เธอเอ่ยถึงน้องแบม (นส. ปนิดา ยศปัญญา)ที่ออกมาเปิดเผยการโกงเงินช่วยเหลือคนจน ปลูกฝังโดยพ่อแม่   เธอบอกว่าการทำงานเปลี่ยนแปลงสังคมต้องทำแบบกัดติด

    คุณธีรศักดิ์ ฑีฆยุพันธ์   นายกเทศมนตรี เทศบาลนครขอนแก่น

   เสนอ สำนึกใหม่  สำนึกเมือง   ความร่วมมือ  การมีส่วนร่วม ในการพัฒนาเมือง     โดยเล่าความพยายามตั้งบริษัทจำกัดของเทศบาล    เพื่อทำธุรกิจเพื่อสาธารณะ   มีภาคเอกชนบริจาคเงินตั้งบริษัท    เป้าหมายคือจัดระบบขนส่งสาธารณะในเขตเทศบาล    แต่มีปัญหามากมายจากทางภาครัฐ    ที่ดูเสมือนจะมีการแย่งงานกัน  


 คุณธีรศักดิ์บอกว่า  ทำงานโดยยึดอุดมการณ์ของคุณไพบูลย์ คือ “คนขอนแก่นไม่ทอดทิ้งกัน”    และทำตามทฤษฎีสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขาของ อ. หมอประเวศ   

รศ. ดร. วรากรณ์ สามโกเศศ

กล่าวถึง ชีวิตที่มีความหมาย,  outward mindset    ความรับผิดชอบในสิ่งที่ตนทำ และไม่ได้ทำ,  passion,  character is destiny,  และพลังของ integrity ซื่อสัตย์มั่นคงต่อหลักการ    ที่ชีวิตของคุณไพบูลย์สร้างแรงบันดาลใจแก่คนรุ่นหลังได้อย่างยั่งยืน    ตามรอย ดร. ป๋วย อึ๊งภากรณ์

ศ. นพ. ประเวศ วะสี

กล่าวเชื่อมโยงประเด็นที่วิทยากรทั้ง๔ ท่านกล่าวไปแล้ว    ชี้ให้เห็นพลังของการทำเพื่อผู้อื่น ย้ำข้อมูลของท่านไพศาลว่าในประเทศเดนมาร์กคน 70% เป็นอาสาสมัคร   จึงเป็นประเทศที่คนมีความสุข สังคมดี    ท่านเล่าท้าวความเรื่องเก่าสมัย ทพ. กฤษดา เป็นผู้จัดการ สสส.    เตรียมทำโครงการ inspiring Thailand    ก็มาสะดุดจาก คสช.  

   ท่านย้ำพลังคนรุ่นใหม่กับอนาคตประเทศไทย   และทุนที่ไม่เป็นทางการที่มีคุณค่าต่อการพัฒนาประเทศ   และยั่งยืนกว่าพลังการเมือง     

   ประเทศไทยจะพัฒนาได้ต้องกระจายอำนาจสู่ชุมชนท้องถิ่น(ฐานของประเทศ)    กระจายอำนาจให้แก่หน่วยงานในพื้นที่ได้แก่โรงเรียน   โรงพยาบาล  

   ผมได้รับเชิญให้กล่าวเชื่อมโยงประเด็นของวิทยากร๔ ท่านเป็นคนที่สอง (และสุดท้าย)   ผมขอไม่กล่าวเชื่อมโยง แต่ขอสังเคราะห์ประเด็นว่าคุณูปการของคุณไพบูลย์คือการเป็นโมเดลสร้างแรงบันดาลใจแก่คนรุ่นใหม่

ในเรื่องการศึกษาแห่งศตวรรษที่๒๑ เป็นข้อยุติว่าผลลัพธ์การเรียนรู้ที่สำคัญที่สุดคือ แรงบันดาลใจ   มีผลการวิจัยที่เปรียบเทียบระหว่างการสร้างแรงบันดาลใจต่อการเรียนด้วยการที่ครูชี้ให้เห็นว่าการเรียนวิชานั้นจะก่อผลดีต่ออนาคตของตนอย่างไร   คือเน้นสร้างแรงบันดาลใจที่ผลประโยชน์ของตนเอง     เปรียบเทียบกับการที่ครูกล่าวคำสร้างแรงบันดาลใจที่โอกาสจะได้ทำประโยชน์ต่อผู้อื่นหรือประโยชน์ที่สูงส่งกว่าผลประโยชน์ส่วนตน (self-transcendent purpose)    พบว่าวิธีหลังทำให้ผลการเรียนของนักศึกษาดีกว่า    อ่านรายละเอียดได้ที่    

วิจารณ์ พานิช

๓ เม.ย. ๖๑

610503, ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม,ปาฐกถาไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม, ชีวิตที่พอเพียง

รูปไพบูลย์

 

 

1 โปสเตอร์งาน

    

2 พระไพศาล วิสาโล


3 คุณเอด้า จิรไพศาลกุล

4 งานของ TYPN


5 งานของ TYPN 2


6 งานของ TYPN 3


7 งานของ TYPN 4


8 งานของ TYPN 5

9 งานของ TYPN 6

10 งานของ TYPN 7

11 งานของ TYPN 8

12 คุณธีรศักดิ์ ฑีฆยุพันธ์ กับความฝันเพื่อสังคม

13

14 รศ. ดร. วรากรณ์ สามโกเศศ

15 สารจาก ดร. วรากรณ์

16

17 ศ. นพ. ประเวศ วะสี



ความเห็น (1)

ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่สำคัญที่สุดคือ แรงบันดาลใจ  

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท