การให้คำปรึกษา


 การให้คำปรึกษา 2

                                                                 ประชุม โพธิกุล

                                                                      

    กระบวนการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบปัญหาโดยอาศัยปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้คำปรึกษาและผู้รับการปรึกษาใช้เทคนิคการสื่อสารทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจถีงสาเหตุของปัญหาใช้ศักยภาพตนเองในการคิด ตัดสินใจแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง การให้คำปรึกษาจะแบ่งเป็น 4ฐาน 

ขั้นตอนการแก้ปัญหาการให้คำปรึกษาแบ่งเป็น 4ฐาน

ฐานที่ 1. รับฟังปัญหา

          2.วินิจฉัยปัญหาท่านอยู่ในฐานที่ 2เมื่อทั้ง2ฝ่ายวินิจฉัยและตกลงร่วมกันในปัญหาระหว่างผู้ให้คำปรึกษาและผู้รับคำปรึกษา

          3.กำหนดทางเลือกให้ชัดเจน ท่านอยู่ในฐานที่3 เมื่อท่านพิจารณาทางเลือกที่ชัดเจน

          4.ยอมรับวิธีการแก้ปัญหา ท่านได้แต้มคะแนน เมื่อท่านช่วยคนให้ยอมรับแนวทางแก้ปัญหา

         การทำให้เกิดความคุ้นเคยกับผู้มาขอคำปรึกษาจะทำให้ท่านเริ่มเข้าฐานที่ 1. รับฟังปัญหา

          9 ขั้นตอนในฐานที่ 1

          1. ใช้ภาษาท่าทางที่สื่อความเป็นกันเอง

          2. ให้การต้อนรับที่อบอุ่นและจริงใจ

          3. แสดงความปราถนาดีที่จะช่วย

          4. รับฟังสิ่งที่เขาพูด

          5.  ค้นหาสิ่งที่เขาไม่ได้พูด

          6. รับรู้สิ่งที่เขาไม่สามารถพูด

          7. อย่าตัดสินใจเร็วเกินไป

          8.รับฟังด้วยหู เห็นด้วยตาและภาษาท่าทาง

          9. ตั้งคำถามที่มีคุณภาพจะทำให้ได้เรียนรู้สถานการณ์ได้ดี

ฐานที่ 2. การค้นหาปัญหา

           ผู้ให้คำปรึกษาที่มีทักษะต้องพิจารณาสิ่งที่ผู้ขอรับคำปรึกษาพูด เขาต้องสืบค้นหาสาเหตุที่ซ่อนเร้นหรือสิ่งที่ผู้ขอคำปรึกษาไม่เข้าใจไม่สามารถหาสาเหตุของปัญหาได้เพราะเขาอยู่ใกล้ปัญหามากเกินไป ผู้ให้คำปรึกษาเรียนรู้สิ่งที่ครอบคลุมปัญหาอยู่ได้ด้วยการซักถามคำถามที่ถูกต้อง เราจะระบุปัญหาให้ชัดเจนและทำความเข้าใจปัญหาก่อนที่จะแก้ไขปัญหา บทบาทของท่านในฐานะเป็นผู้ให้คำปรึกษาที่จะช่วยคนอื่นแก้ปัญหา ข้อแนะนำต่อไปนี้อาจจะช่วยได้

             การพูดคุยเป็นการบำบัดโรค ผู้ให้คำปรึกษาควรให้ความคุ้นเคยแสดงความเป็นกันเองทำให้ผู้รับคำปรึกษาได้พูดระบายความทุกข์ร้อนหรือปัญหาออกมา............มีอะไรอีกไหมที่จะเล่าให้ฟัง

       _คุณคิดอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องนี้ 

       _คุณรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับกรณีนี้

       _คุณจะทำอย่างไรกับมัน 

             เกมการโทษผู้อื่น เป็นเรื่องปรกติธรรมดาของมนุษย์จะชอบกล่าวโทษผู้อื่นในแทบทุกสถานการณ์ก่อนที่เขาจะเข้าใจหรือทำสิ่งจำเป็นต้องรับผิดชอบ ผู้ให้คำปรึกษาต้องให้เวลาเขาได้พูด ยอมรับฟังอย่างต้ังใจไม่ตัดสิน อย่าโกรธในระหว่างการดำเนินการก่อนที่คนนั้นจะคิดถึงการ กระทำที่แตกต่าง

             ปัญหาจะเด่นชัดขึ้นจากการพูดคุยกัน สิ่งที่พูดคุยกัน สิ่งที่พูดออกมาของผู้ขอรับคำปรึกษาเป็นความคิดในสมองที่พูดออกมา การพูดคุยทำให้ภาพชัดเจนขึ้นโดยผ่านการวิเคราะห์ตนเองให้ท่านระลึกว่าบุคคลที่พูดออกมาอาจอยู่ใกล้ชิดปัญหาจะได้เข้าใจปัญหามากขึ้น

             ปัญหาส่วนมากเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ความขัดแย้งของมนุษย์ยากที่จะแก้ปัญหาให้ได้รับความพึงพอใจในขณะที่รับฟังปัญหา สิ่งสำคัญก็คืออย่าเข้าข้างฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดถึงแม้แต่ละคนที่ท่านทำงานด้วย อาจจะเข้าข้างคนผิดก็ได้ต้องใช้เวลาหาสาเหตุ ความเป็นจริงก็คือปัญหาบ่อยครั้งเมื่อกำหนดทางเลือกต่างๆในการแก้ปัญหาความขัดแย้งต้องทำการศึกษาให้ถ่องแท้เสียก่อน

               สิ่งท่ีต้องคำนึงเสมอ

              _รับฟังเรี่องราวด้วยความอดทน

              _ยอมรับฟังแต่ไม่ด่วนตัดสิน

              _ตั้งคำถามเพื่อหาความกระจ่างชัด

              _มุ่งเน้นวัตถุประสงค์

ฐานที่ 3 สิ่งที่เป็นเรื่องท้าทายทางเลือกที่วิเศษสุด  ปัญหาต่างๆส่วนมากมืออาชีพเรียกว่าความคิดในการแก้ปัญหาทุกสถานการณ์บุคคลที่ดำรงชีวิตด้วยการตัดสินใจ งานของท่านในฐานะผู้ให้คำปรึกษาแยกแยะปัญหา สร้างรูปแบบในการแก้ปัญหาและยอมรับว่ามันเป็นวิธีการของตน เป็น กระบวนการที่สร้างความหวั่นไหวซึ่งต้องการให้ท่านเข้าใจความรู้สึกของอีกฝ่ายหนึ่งไม่ใช่เป็นสิ่งที่ง่ายสำหรับบุคคลที่จะยอมรับการแก้ปัญหา ถึงแม้ว่าอาจจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดในสถานการณ์ต่างๆ

การให้คำปรึกษาเป็นความสามารถที่จะช่วยให้ผู้อื่นสามารถตัดสินใจได้ ขั้นหนึ่งที่ต้องดำเนินการคือระดมทางเลือกต่างๆให้ชัดเจน

ฐานที่ 4ยอมรับวิธีการแก้ปัญหา   การกำหนดทางเลือกให้ชัดเจน ฐาน3 การให้คำปรึกษาเป็นความสามารถที่จะช่วยให้ผู้รับคำปรึกษาสามารถตัดสินใจแก้ปัญหาได้ บทบาทของท่านเป็นผู้ให้คำแนะนำช่วยให้ผู้รับคำปรึกษาสามารถให้นำ้หนักในทางเลือกของการตัดสินใจ ครูที่ปรึกษาช่วยให้นักเรียนเลือกเรียนวิชาต่างๆได้อย่างถูกต้อง  ผู้ให้คำปรึกษาทางด้านครอบครัวช่วยให้ผู้รับคำปรึกษาสามารถแก้ปัญหาการแต่งงานได้อย่างพึงพอใจ  หัวหน้างานช่วยให้คนงานสามารถเพิ่มผลผลิตได้เพิ่มขึ้น ปฏิบัติงานได้ดีขึ้น

             บทบาทของท่านในฐานะผู้ให้คำปรึกษาควรเน้นการให้นำ้หนักในส่วนของกระบวนการตัดสินใจ มีข้อแนะนำดังต่อไปนี้

             _กำหนดทางเลือกหลายๆทางขึ้นมา บ่อยครั้งที่ผู้ให้คำปรึกษาให้ข้อแนะนำทางเลือกต่างๆซึ่งอาจจะเป็นเรื่องที่เคยมีประสบการณ์มาก่อน ในหลายสถานการณ์ความเป็นไปได้ต่างๆย่อมมากกว่าคนที่รับรู้ปัญหาครั้งแรก ถ้าเป็นไปได้อาจระดมทางเลือกสักห้าทางเลือก

            _กระบวนการให้ค่านำ้หนักเป็นเรื่องซับซ้อน การให้ค่านำ้หนักหมายถึงการเปรียบเทียบและการปรับสมดุลความเป็นไปได้ของหนึ่งทางเลือกกับทางเลือกต่างๆทั้งหมดในการให้คำปรึกษาโดยปรกติก็มีการอภิปรายกันมากมายของทางเลือกต่างๆบ่อยครั้งที่ผู้ให้คำปรึกษาต้องชักนำให้ผู้ขอรับคำปรึกษาเข้าร่วมกระบวนการและบันทึกทางเลือกในการแก้ปัญหา บางความคิดสามารถให้นำ้หนักคะแนนได้มากกว่า ผู้ให้คำปรึกษาจำเป็นต้องมุ่งเน้นในส่วนของกระบวนการนี้

            _การคัดทิ้งทางเลือก ผู้ให้คำปรึกษาพยามยามให้ผู้รับคำปรึกษาคัดทางเลือกที่ไม่ดีทิ้งโดยเฉพาะแนวทางแก้ปัญหาที่ไม่ดีต้องคัดทิ้งทันทีให้ทางเลือกลดลงเหลือเพียงสามเกณท์ที่กำหนด กระบวนการนี้จึงจะมีประสิทธิภาพให้ ค่านำ้หนักตามความเป็นไปได้เพียงสามเกณฑ์ จะง่ายกว่าการตั้งเกณฑ์ความเป็นไปได้ถึงห้าหรือหกเกณฑ์

            _การตัดสินใจ ถ้าท่านฟังและสังเกตท่านจะได้เห็นสัญญาซึ่งบ่งถึงทางแก้ปัญหาที่ดีที่สุดสำหรับผู้ขอคำปรึกษาสัญญาณเหล่านี้บวกกับความเข้าใจปัญหาสามารถช่วยให้ผู้ขอคำปรึกษารู้ความคิดในการแก้ปัญหาการตัดสินใจก็เกิดขึ้นกับผู้รับคำปรึกษามิใช่ผู้ให้คำปรึกษา  กระบวนการนี้อย่าเร่งรีบในหลายกรณีท่านจะได้พบวิธีป้องกันอีกฝ่ายหนึ่งขอร้องให้ท่านตัดสินใจให้  ฝ่ายขอคำปรึกษาเขาจะตัดสินใจเอง

            ข้อผิดพลาด6ประการที่ไม่ควรกระทำในการให้คำปรึกษา

_ทำเหมือนเป็นนักจิตวิทยาหรือผู้ให้คำปรึกษาแบบคลีนิคในเมื่อท่านมิได้เป็น แต่ละคนอาจคาดหวังให้ท่านรักษา ซึ่งท่านไม่มีคุณสมบัติที่จะทำเช่นนั้นได้

_การสอดรู้สอดเห็นในเรื่องส่วนตัวของแต่ละคนที่ท่านพยายามจะช่วยอาจจะทำลายความสัมพันธ์ในการให้คำปรึกษา

_ใช้ความสัมพันธ์ในการให้คำปรึกษาเพื่อผลประโยชน์ของตนเองเป็นการฝ่าฝืนบทบาทแรกของผู้ช่วยเหลือ

_การไม่เก็บความลับจะทำลายความมั่นใจในความสัมพันธ์ของการให้คำปรึกษา ท่านอาจจะไม่ได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจ

_ตัดสินใจแทนผู้ให้คำปรึกษา ผู้ขอคำปรึกษาอาจจะไม่ได้เรียนรู้วิธีการตัดสินใจที่มีคุณภาพ ถ้าสิ่งต่างๆไม่เป็นไปอย่างที่ท่านตัดสินใจเขาจะตำหนิคุณ

_พูดมากหรือฟังมากเกินไปท่านอาจไม่ได้เรียนรู้ปัญหาที่แท้จริง

ท่านไม่จำเป็นจะต้องฝึกอบรมที่เป็นทางการในการเป็นผู้ให้คำปรึกษาที่ดีอย่าสับสนในบทบาทของท่านกับผู้มีอาชีพให้คำปรึกษาแบบคลีนิค ปัญหาบางอย่างผู้เชี่ยวชาญเท่านั้นที่สามารถจัดการได้

หมายเลขบันทึก: 646670เขียนเมื่อ 23 เมษายน 2018 13:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 เมษายน 2018 13:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท