สภานักเรียน....ในมุมมองจากคนอุดมศึกษา : พัฒนากระบวนการคิด มีจิตสาธารณะ


ผมเคยไปมีส่วนร่วมและช่วยเป็นวิทยากรในการพัฒนาหรือเสริมกิจกรรม ร่วมกับครูและนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา เพื่อพัฒนาระบบ “สภานักเรียน” อยู่บ้าง เช่น โรงเรียนน้ำโสมพิทยาคม จังหวัดอุดรธานี โรงเรียนประชารัฐวิทยาเสริม จังหวัดขอนแก่น (เคยเขียนบันทึกที่ประชารัฐไว้ https://www.gotoknow.org/posts...) และ โรงเรียนสุรวิทยาคาร จังหวัดสุรินทร์ เพราะโดยมากจะพัฒนาผู้นำนักศึกษามากกว่า

สภานักเรียน เป็นการจำลองแบบการทำงานแบบประชาธิปไตย.... หัวใจสำคัญของประชาธิปไตยในมุมมองของผม ไม่ใช่เพียงการเลือกตั้ง แต่หมายถึง “การมีส่วนร่วม” ของคนในชุมชน  เพราะฉะนั้นนิยาม “คนในชุมชน” ของสภานักเรียน คือ “นักเรียน” ทุก ๆ คน

การมีส่วนร่วมเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับการเรียนรู้ในระบบ “สภานักเรียน” เพราะคณะกรรมการนักเรียน หรือบ้างเรียกกรรมการสภานักเรียน จะมีความสุขในการทำหน้าที่ก็ต่อเมื่อ “พลังมวลชน” ของนักเรียน จากการมีส่วนร่วม แต่การมีส่วนร่วมที่สำคัญคือการให้นักเรียนทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการ “คิด”  แล้วได้ “พูด”  และการลงมือ “ทำ”

การทำงานจำเป็นจะต้องมี “แผน” หรือเป้าหมายร่วมกัน อันเกิดจากการ “คิด” และ การ “พูด” อาจมีการสอบถามนักเรียนทุก ๆ คน เปิดโอกาสหรือมีเวทีให้แสดงความคิดเห็น มีข้อเสนอ(แนะ) ในหลากหลายรูปแบบ ทั้งการส่งผ่าน Social Media หรือจากการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นก็เป็นได้ ถัดมาคือการมี “ตัวแทน” ของเขาเหล่านั้นไปอยู่ใน “สภา” เพื่อทำหน้าที่แสดงความคิดเห็นและพูดคุย..... เมื่อการมีส่วนร่วมในการ “คิด” และ “พูด”  ก็น่าจะเป็นผลไปสู่การมีส่วนร่วมลงมือ “ทำ”

และเมื่อลงมือ “ทำ” แล้ว มีผลดีหรือสิ่งที่ต้องปรับปรุงแก้ไขอย่างไร ก็ควรจะรับฟังความคิดเห็นจากทุกๆคน เผื่อว่ามีโอกาสนำไปปรับปรุงและพัมนาให้ดียิ่งขึ้น.... การทำงานแบบ PDCA ก็เป็นเช่นอย่างว่า เพื่อพัฒนานักเรียน และ “สภานักเรียน”  แต่ละโรงเรียนมีความต่างในบริบทและปัจจัยแวดล้อม “ผู้เรียน” จึงมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนสภานักเรียน มากกว่าครู เพียงแต่ครูน่าจะเป็นผู้หนุนเสริมและถ่ายทอดวิธีคิดและร่วมลงมือปฏิบัติ อยู่เคียงข้าง ให้กำลังใจ หรือหลายครั้งก็กำลังทรัพย์ ……. 

คำสำคัญ (Tags): #สภานักเรียน
หมายเลขบันทึก: 646665เขียนเมื่อ 23 เมษายน 2018 12:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 เมษายน 2018 12:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท