“การจัดการเรียนการสอนที่ล้ำสมัย เพื่อก้าวเข้าสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0”


                                                      นางสาวสุกัญญา   พงษ์ศิริรักษ์ รหัสประจำตัว 60B0101512 เลขที่ 12 นักศึกษา ป.บัณฑิต รุ่นที่ 4 หมู่ 5


“การจัดการเรียนการสอนที่ล้ำสมัย เพื่อก้าวเข้าสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0”

                การจัดการศึกษาเป็นหน้าที่ ที่สำคัญที่สุดของครูผู้สอน การนำแนวคิดจิตตปัญญาการศึกษามาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งเป็นวิธีการเรียนรู้เพื่อเปลี่ยนแปลงตนเองจากภายในโดยหวังว่าผู้เรียนจะมีความรู้ มีความคิดเท่าทันกับกระแสการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัตน์ โดยครูผู้สอนจะต้องยึดการจัดการศึกษาที่ถูกต้องและเป็นไปตามแนวพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 6 ได้ระบุไว้ว่า การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้คู่คุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ปัจจุบันการศึกษาไทยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ และทักษะที่จะไปประกอบอาชีพ ระบบการศึกษาฝึกฝนให้ผู้เรียนยึดติดกับระบบการแข่งขัน ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม ก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม หรือด้านทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ที่เริ่มส่งผลต่อสภาวการณ์ต่างๆในโลกไม่ว่าจะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในระดับบุคคล และครอบครัว อ่อนแอทั้งวิชาการและทักษะการใช้ชีวิต จากปัญหาต่างๆในหลายๆด้านที่เกิดขึ้นส่งผลให้มนุษย์ควรจะนำจิตตปัญญาที่เคยมีอยู่จากยุคดั่งเดิม มาสู่การเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับยุคสมัยใหม่

                การสอนแบบจิตตปัญญา เป็นการสอนที่มุ่งถึงจิตใจของผู้เรียนที่ต้องการเรียนอย่างมีความสุขควบคู่ไปกับการพัฒนาปัญญาวิธีการสอนจะเน้นที่ กิจกรรมการสอนของครูที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยเน้นให้ผู้เรียนปฏิบัติและเกิดการคิดโดยใช้กิจกรรมเป็นฐานประกอบกับการทำงานร่วมมือกันเป็นกลุ่ม ซึ่งในแต่ละขั้นตอนของการสอนครูต้องใส่ใจต่อการสังเกตพฤติกรรมผู้เรียนประกอบด้วยกระบวนการ 6 ขั้น คือ

ขั้นที่ 1 ศึกษาสภาพและความต้องการของผู้เรียน

ขั้นที่ 2 กำหนดมโนทัศน์ที่ต้องการเรียน

ขั้นที่ 3 กำหนดจุดประสงค์ของการสอน

ขั้นที่ 4 ออกแบบกิจกรรมการสอน

ขั้นที่ 5 ดำเนินการสอน

ขั้นที่ 6 ประเมินภาพการสอน

โดยในแต่ละขั้นนั้นเด็กจะต้องเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยมีครูเป็นแหล่งวิทยากรที่สำคัญในระหว่างการเรียนการสอน ครูต้องพร้อมให้ความรู้ตลอดเวลา กิจกรรมที่จัดต้องกระตุ้นให้เด็กคิดและเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ของการสอน การสอนแบบใช้จิตตปัญญาเป็นการสอนที่มุ่งสร้างความสุขและปัญญาไปพร้อมกับเน้นความสำคัญที่ผู้เรียนให้เรียนอย่างมีคามสุขเกิดความรักในความรู้

                กล่าวโดยสรุปได้ว่าการนำรูปแบบกระบวนการจิตตปัญญาศึกษา มารวมอยู่ในการจัดการเรียนการสอนนั้น เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเอง ครอบครัว สังคม และชุมชน เป็นผู้ที่มีความสามารถด้านการคิด และใช้เหตุผลในการพิจารณาการรับข่าวสารรอบตัว เกิดองค์ความรู้ เข้าถึงความจริงด้วยการพิจารณาจากภายใน และสามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง เท่าทันสังคมโลก และสามารถก้าวเข้าสู่การเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์โดยการใช้ชุดกิจกรรม ดังนั้นบทบาทของครูผู้สอนไม่ใช่เป็นเพียงผู้ที่ให้วิชาความรู้แก่ผู้เรียนเท่านั้น ผู้สอนยังต้องเป็นผู้ที่ให้ความรักความเอาใจใส่แก่นักเรียนอีกด้วย

อ้างอิง :

http://apps.qlf.or.th/member/blog/detail.aspx?id=237

https://prezi.com/zgzv3wp_c7kc/presentation/

http://www.runwisdom.com/2016/03/contemplative-education.html https://r.search.yahoo.com

หมายเลขบันทึก: 646576เขียนเมื่อ 20 เมษายน 2018 14:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 เมษายน 2018 14:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เนื้อหาน่าสนใจค่ะ สามารถนำไปจัดการเรียนการสอนให้เข้ากับยุคสมัยปัจจุบันได้ดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท