ผลักดันเด็กอาชีวะสู่เส้นทางที่สดใส


ผลักดันเด็กอาชีวะสู่เส้นทางที่สดใส

          ปัจจุบันเมื่อพูดถึงการเรียนในระบบอาชีวะศึกษาหรือสายอาชีพผู้คนมักจะมองว่าเด็กที่มาเรียนนั้น เป็นเด็กที่ดื้อ เด็กเกเร เด็กไม่ฉลาด หรือเด็กที่ไม่มีทางไปแล้ว ถึงจะเลือกมาเรียนสายอาชีพอาจจะเป็นเพราะตัวเด็กนักเรียนเองที่รู้ว่าเป็นการเรียนที่เน้นฝีมือไม่ได้เน้นในด้านทฤษฎี เด็กจึงมองว่าเป็นการเรียนที่ง่ายหรือออาจจะเป็นเหตุผลในด้านของผู้ปกครองที่มองว่าลูกของเราไม่ฉลาดหากไปเรียนต่อในสายสามัญ อาจจะไปไม่รอดหรือลาออกกลางคัน จึงส่งบุตรหลานของตนเองนั้นให้เข้าเรียนในสายอาชีวะหรือสายอาชีพ

          แต่หากมองในอีกมุมมองหนึ่งประเทศตอนนี้ขาดแคลนฝีมีแรงงานอย่างมาก เพราะเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ในด้านอุตสาหกรรมต่างๆเช่น อุสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมปิโตรเคมี ฯลฯ และประเทศเรายังขาดแคลนคนเหล่านี้ในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมต่างๆในขณะที่คนที่จบการศึกษาในระดับปริญญานั้นจบออกมาในแต่ล่ะปีมีจำนวนมากยิ่งขึ้น และการว่างงานก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้นอาจเป็นเพราะการแข่งขันในการทำงานมากยิ่งขึ้น แถมค่าแรงในระดับปริญญาตรีนั้นเริ่มต้นที่ 15,000 บาท โดยประมาณจึ้งทำให้คนหันมาสนใจเรียนในระดับปริญญามากยิ่งขึ้นแต่ในขณะเดียวกันเงินเดือนของผู้ที่จบสายอาชีพมานั้นเริ่มต้นไม่ถึง 10,000 บาทโดยประมาณจึงทำให้คนส่วนใหญ่ที่พอจะมีกำลังในการเรียนนั้นเรียนต่อในระดับปริญญากันมากกว่าการเรียนสายอาชีพ

          ส่วนปัญหาที่เกิดขึ้นในการเรียนสายอาชีวะนั้นมีหลากหลายประการไม่ว่าจะเป็นการเรียนการสอนที่ไม่ทันสมัย สื่อการเรียนการสอนที่ไม่มีความสอดคล้องกับเทคโนโลยียุคปัจจุบันซึ่งก้าวไปอย่างก้าวกระโดด ซึ่งปัญหานี้จะเกิดขึ้นในการเรียนในชนบทหรือต่างอำเภอ นอกเขตอำเภอเมือง หรือไม่ใช่สถาบันการศึกษาขนาดใหญ่ จะขาดแคลนอุปกรณ์ในการสอนดังกล่าว ปัญหาครูผู้สอนไม่ใส่ใจในการสอนห่วงในเรื่องการทำผลงานส่วนตัวมากกว่าการสอนให้นักเรียนเป็นผู้รู้ที่แท้จริง หรือไม่สอนนักเรียน เป็นปัญหาที่แก้ได้ค่อนข้างยากเนื่องจากแต่ล่ะบุคคลไม่เหมือนกัน และส่วนใหญ่จะมีอายุที่เยอะแล้ว

          การจะผลักดันเด็กสายอาชีวะให้มีอนาคตที่สดใสในยุคปัจจุบันคงต้องเริ่มที่สร้างความเข้าใจให้ผู้ปกครองได้ทราบถึงความสำคัญ ความพิเศษของเด็กในสายอาชีพ ความได้เปรียบในการทำงาน เพื่อให้ทราบถึงประโยชน์และสร้างทัศนคติในการมองสายอาชีพให้เป็นไปในทางที่ดียิ่งขึ้น และปรับปรุงการเรียนการสอนให้มีความสอดคล้องกับยุคปัจจุบัน การแนะแนวการทำงานในสาขางานที่นักเรียนถนัด การแนะแนวแนวทางการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น การปรับตัวของครูให้พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงในหลายๆด้านเพื่อการถ่ายทอดความรู้ที่ดีที่สุด ให้แก่นักเรียนเพื่อการเรียนรู้ที่ดี พร้อมทั้งการปลูกฝังการเป็นคนดีในสังคมไทย การใช้ชีวิตด้วยความพอดีพอเพียง ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการมีความสุขที่ยั่งยืน

หมายเลขบันทึก: 646573เขียนเมื่อ 20 เมษายน 2018 14:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 เมษายน 2018 14:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท