การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนคุณภาพในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนชลบุรี “สุขบท” สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18


            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและผลการดำเนินการบริหารงานสถานศึกษาของโรงเรียนชลบุรี “สุขบท” สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18  ก่อนการพัฒนา  2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนคุณภาพในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนชลบุรี “สุขบท” สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18  3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนคุณภาพในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนชลบุรี “สุขบท” สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18  และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้บริหารและครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อผลการดำเนินงานตามรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนคุณภาพในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนชลบุรี “สุขบท” สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน วิธีการวิจัยมี 4 ขั้นตอน ดังนี้  ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบันและผลการดำเนินการบริหารงานสถานศึกษาของโรงเรียนชลบุรี “สุขบท” สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 ก่อนการพัฒนา ขั้นตอนที่ 2 การสร้างรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนคุณภาพในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนชลบุรี “สุขบท” สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18   ขั้นตอนที่ 3 การศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนคุณภาพในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนชลบุรี “สุขบท” ในปีการศึกษา 2559 และปีการศึกษา 2560 และ ขั้นตอนที่ 4 การศึกษาความพึงพอใจของผู้บริหารและครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อผลการดำเนินงานตามรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนคุณภาพในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนชลบุรี “สุขบท” เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ที่ไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Interview) และแบบสอบถามความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression) ตามลำดับความสำคัญของการนำเข้าตัวแปร และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

            ผลการวิจัย พบว่า

                1.  ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันของโรงเรียนก่อนการพัฒนาจากการวิเคราะห์เอกสารรายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนชลบุรี “สุขบท” ได้ศึกษาวิเคราะห์สภาพการบริหารงาน สรุปสาระสำคัญจากการวิเคราะห์สภาพปัจจุบันทั้งภายในและภายนอกโรงเรียนจุดที่ควรพัฒนา ได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อมและที่ตั้ง โรงเรียนไม่มีรั้วกั้น ทำให้ผู้ปกครองขาดความมั่นใจในความปลอดภัยของบุตรหลาน ด้านสภาพชุมชนโดยรอบ ผู้ปกครองส่วนใหญ่ มีรายได้ปานกลางและบางส่วนฐานะยากจน ต้องทำงานหนัก ทำให้ไม่มีเวลาดูแลอบรมสั่งสอนบุตรหลาน ภายในชุมชนอยู่ใกล้แหล่งยาเสพติดและอบายมุขทำให้นักเรียนมีโอกาสเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดและอบายมุข ด้านคุณภาพผู้เรียน ควรปรับกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และความสามารถในการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และผลการทดสอบทางการศึกษา ระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ให้สูงขึ้น ด้านการจัดการศึกษา ครูต้องปรับกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ให้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งนำผลการวิเคราะห์นักเรียนเป็นรายบุคคล มาส่งเสริมพัฒนาศักยภาพเฉพาะด้านของนักเรียนเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นต่อไป ด้านอาคารสถานที่  มีโรงอาหารที่มีขนาดไม่เพียงพอกับจำนวนนักเรียน และขาดสถานที่ที่ให้นักเรียนได้เล่นกีฬา  ด้านการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ควรรักษาและดำรงไว้ซึ่งกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ ที่ปฏิบัติมา และพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นต่อไป เพื่อเป็นนวัตกรรมดีเด่นให้สถานศึกษาอื่น ๆ นำไปเป็นแบบอย่าง ขยายเครือข่ายการเรียนรู้สู่ชุมชน และสถานศึกษาอื่น ๆ  ผลการศึกษาระดับการปฏิบัติของการดำเนินการบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนชลบุรี “สุขบท” สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 ก่อนการพัฒนา โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการบริหารวิชาการ  ด้านการบริหารงบประมาณ  ด้านการบริหารงานบุคคล และ ด้านการบริหารทั่วไป อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน

                   2. รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนคุณภาพในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนชลบุรี

“สุขบท” สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18  พบว่า มีความตรงและความเหมาะสมมาก ประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์  ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การยกระดับคุณภาพผู้เรียน ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา และยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาระบบบริหารจัดการ และ 11 กลยุทธ์  ได้แก่ กลยุทธ์ที่ 1 เสริมสร้างความเข้มแข็งการเรียนรู้ด้วยทักษะกระบวนการคิดและงานวิจัย  กลยุทธ์ที่ 2  สนับสนุนผู้เรียนสู่เวทีการแข่งขัน กลยุทธ์ที่ 3 ปลูกฝังค่านิยมความเป็นไทย กลยุทธ์ที่ 4  ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมบนฐานงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน กลยุทธ์ที่ 5  เสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบเพื่อลดพฤติกรรมความเสี่ยง กลยุทธ์ที่ 6 เพิ่มโอกาสการเข้าถึงการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ กลยุทธ์ที่ 7 บริหารจัดการด้วยหลักธรรมมาภิบาล กลยุทธ์ที่ 8  ส่งเสริม สนับสนุนพัฒนาองค์ความรู้เพื่อการสอนที่มีประสิทธิภาพ กลยุทธ์ที่ 9  เสริมสร้างระบบแรงจูงใจเพื่อครูมีขวัญกำลังใจในการทำงาน กลยุทธ์ที่ 10 ส่งเสริมสนับสนุนให้องค์กรมีบุคลากรที่สอดคล้องกับความต้องการของโรงเรียน และ กลยุทธ์ที่ 11 เสริมสร้างระบบบริหารด้วยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

                    3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนคุณภาพในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนชลบุรี “สุขบท” สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18  พบว่า โรงเรียน

มีผลการปฏิบัติงานที่ได้รับการพัฒนาตาม 11 กลยุทธ์มากขึ้น และ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น

                     4. ความพึงพอใจที่มีต่อผลการดำเนินงานตามรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนคุณภาพในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนชลบุรี “สุขบท” สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา

เขต 18  จำแนกตามผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ผู้บริหารและครู คณะกรรมการสถานศึกษา

ขั้นพื้นฐาน และ นักเรียน  โดยภาพรวม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด  ส่วนผู้ปกครองนักเรียน โดยภาพรวม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก  

หมายเลขบันทึก: 646082เขียนเมื่อ 30 มีนาคม 2018 15:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2018 16:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท