๖๙๗. ๖ คุณสมบัติของคนมีสุข..


.บางครั้งบางคราวก็ทำได้ มีปัจจัยบางอย่างที่ควบคุมไม่ได้ เพราะต้องอยู่ในสังคมและองค์กรที่มีผู้คน ต้องใช้ความรู้สึกนึกคิดและอยู่ในกฎเกณฑ์...อย่างไรก็ตามก็เชื่อมั่นในตนเองว่า..ยังมีอิสระที่จะทำงานและก้าวไปข้างหน้า..ด้วยความดี..ที่มีความถูกต้อง”

         ผมอ่านวารสาร “หมอชาวบ้าน”ฉบับเดือนมีนาคม ๒๕๖๑ พบบทความ “ ๖ คุณสมบัติของคนมีสุข” เขียนโดย..นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ..

        คุณหมอ..ได้ถอดมาจากข้อเขียนบางตอนในหนังสือชื่อ “The Science Of Meditation ซึ่งมีข้อความตอนหนึ่ง..กล่าวว่า..

        “ผู้ที่มีสุขภาวะทางจิต หรือมีความสุขใจนั้น พึงมีคุณสมบัติ ๖ ประการ”

        ผมอ่านไปตามลำดับทีละข้อ พร้อมกับประเมินตนเองไปด้วยว่ามีคุณสมบัติมากน้อยแค่ไหน..?หากมีน้อยหรือไม่มีเลย จะได้หาแนวทางปรับปรุงบุคลิกภาพต่อไป..

            ๑  การยอมรับตนเอง(self-acceptance)

            โดยการรู้จักตัวเอง(รู้ตน)ว่ามีจุดแข็งจุดอ่อนอะไร? ยอมรับในความเป็นตัวตนของตน โดยไม่ตัดสินให้เกิดเป็นปมเด่น-ปมด้อยในใจตน..

            ทำให้ดูถูกตัวเองและผู้อื่น การยอมรับตนเองก็เพื่อนำไปสู่การพัฒนาตน..

            “ถ้าเป็นเมื่อก่อน..นานมาแล้ว..ก็ใช่เลย ผมไม่ค่อยจะยอมรับตนเอง รู้สึกมีปมด้อยตลอดเวลา..ต่อเมื่อร่ำเรียนสูงขึ้นและมีงานทำ ได้อ่านหนังสือดีๆ จึงมีความรู้สึกที่ยอมรับตนเองและเคารพตนเองมากขึ้น”

            ๒.  การพัฒนาตน(personal growth)

            โดยการรู้จักเรียนรู้และปรับเปลี่ยนตนเองให้ดีขึ้น สมบูรณ์ขึ้นตลอดเวลา ทั้งความคิดและการกระทำ เพื่อบรรลุความเป็นมนุษย์สมบูรณ์..

            สามารถพัฒนาตนได้เต็มศักยภาพที่มีอยู่ในตน เปิดมุมมองและความคิดที่กว้างไกลและพัฒนาความสามารถในตนให้ได้เต็มที่..

            “ข้อนี้..ถือว่าสอบผ่าน เพราะชีวิตทุกช่วงวัย จำได้ตลอดถึงการพัฒนาตนเองแบบไม่หยุดยั้ง ด้วยการไม่หยุดที่จะศึกษาเรียนรู้ และพัฒนาวิสัยทัศน์อยู่เสมอ”

            ๓. การมีอิสรภาพในตน(autonomy)

            มีความคิดและการกระทำที่เป็นอิสระ ไม่ใช่เกิดจากแรงกดดันของผู้อื่นหรือต้องคล้อยตามกระแสสังคม

            โดยเป็นผู้เรียนรู้ เข้าถึงสัจธรรม(ความจริง ความดี ความงาม) และยึดมั่นในหลักคุณธรรมและความถูกต้อง..

            “ข้อนี้..บางครั้งบางคราวก็ทำได้ มีปัจจัยบางอย่างที่ควบคุมไม่ได้ เพราะต้องอยู่ในสังคมและองค์กรที่มีผู้คน ต้องใช้ความรู้สึกนึกคิดและอยู่ในกฎเกณฑ์...อย่างไรก็ตามก็เชื่อมั่นในตนเองว่า..ยังมีอิสระที่จะทำงานและก้าวไปข้างหน้า..ด้วยความดี..ที่มีความถูกต้อง”

            ๔.  การเป็นนายตนเอง(mastery)

            มีความสามารถ มีวินัย มีความรับผิดชอบสูง ควบคุมอารมณ์ได้ดี รู้จักยั้งคิดยั้งทำ รู้ว่าอะไรดีลงมือทำทันที ไม่มีการผัดผ่อน..

            สามารถจัดการกับเรื่องที่ยุ่งยากซับซ้อน สร้างสรรค์งานจากลบสู่บวก จากเล็กสู่ใหญ่ และจากน้อยสู่มากได้..

            “ข้อนี้..ประเมินแล้ว สมควรได้คะแนนเต็มด้วยซ้ำ เพราะเป็นเรื่องของวินัยและความรับผิดชอบ ที่จะต้องปฏิบัติควบคู่สัมพันธ์กัน..ในการบริหารจัดการชีวิตและงานของผม”

            ๕.  การมีมนุษยสัมพันธ์ดี(satisfying relationship)

            มีไมตรีจิต มีความเข้าใจ เห็นอกเห็นใจ เชื่อใจ และไว้ใจกันกับผู้คนต่างๆ และรู้จักช่วยเหลือเกื้อกูลกัน

            โดยยึดหลัก “ให้ คือได้ ขาดทุนคือกำไร เยียวยาผู้อื่น คือเยียวยาตนเอง”

            “เมื่อก่อน..ข้อนี้..ผมมีน้อย..เมื่อเรียนรู้และปฎิบัติในศาสตร์พระราชา..ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง..จึงรู้สึกมีเหตุผลที่จะทำอะไรเพื่อคนอื่นมากขึ้น..”

            ๖.  การมีเป้าหมายชีวิต(life purpose)

            โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้นพบเป้าหมายชีวิตระยะยาว ซึ่งต้องการมีชีวิตที่มีความหมายและคุณค่าต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม..

            การมีเป้าหมายชีวิตเยี่ยงนี้ย่อมช่วยให้มีความสุขอันเกิดจากเห็นคุณค่าในตน และการเห็นแก่ประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว..

            “..ผมก็มีเป้าหมายชีวิตในทำนองนี้เลย..โดยจะมองที่ส่วนรวมก่อน เพื่อให้ชีวิตมีคุณค่าและมีความหมาย ขณะเดียวกันความสุขและความสำเร็จในชีวิต..ก็สามารถเกิดขึ้นได้ควบคู่กัน..”

            ท้ายที่สุดนี้..ทั้งหมดทั้งมวลของการจะไปสู่เป้าหมายชีวิตได้ ก็จะต้องมีการพัฒนาตนเอง  พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ทรงตรัสว่า...

            “คนเรานั้น สำคัญอยู่ที่ควรจะได้ปรารภปรารถนาที่จะพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นเป็นลำดับ เพื่อให้ชีวิตเป็นสุข และเจริญรุ่งเรือง..”

ชยันต์  เพชรศรีจันทร์

๒๗  มีนาคม  ๒๕๖๑

(ภาพประกอบ..จากในโรงเรียน..ถ่ายเมื่อเวลา บ่ายโมงของ..วันนี้)

            

 

 


 

หมายเลขบันทึก: 646006เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2018 20:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 มีนาคม 2018 20:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

Yes the pictures look very soothing (and inducing happy thoughts) but are they related to the story? Do the plants have names? 

Let us blog "quality" blog and less bandwidth wastes. (Use of 'public funded facilities' carelessly or for own benefits can be considered 'corruption'.)

-สวัสดีครับท่าน ผอ.

-เช็คดูคุณสมบัติแล้วครับ

-ขอบคุณครับ

-มีสุข...ขอรับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท