การเรียนรู้ตลอดชีวิตของชาวนา (๘)


การก่อตั้งกองทุนปุ๋ยหมักชีวภาพประจำตำบลขึ้น ก็เพื่อจะส่งเสริมและสร้างความเข้าใจเรื่องการปรับปรุงบำรุงดิน ดินเป็นหัวใจสำคัญต่อการพัฒนาระบบการทำนา และสามารถลดต้นทุน การผลิต เมื่อเปรียบเทียบจากการใช้สารเคมีและปุ๋ยเคมี กองทุนปุ๋ยหมักชีวภาพจะเป็นการสื่อแสดงให้เห็นถึงเป้าหมายในระยะยาวของการพัฒนาการเกษตร ชุมชนที่มีกองทุนนี้อยู่จะสามารถเป็นตัวอย่างเรื่องเกษตรกรรมยั่งยืนได้ วัสดุที่นำมาทำปุ๋ยหมักชีวภาพได้มาจากวัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่น นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

การเรียนรู้ตลอดชีวิตของชาวนา (๘)
           ขอนำรายงานของมูลนิธิข้าวขวัญ ตอนที่ ๘ มาลงต่อนะครับ   เป็นการเรียนรู้เรื่องการทำปุ๋ยหมัก   ซึ่งก็คือการสร้าง “ความรู้” ขึ้นใช้เอง    โดยมีเป้าหมายเพื่อลดต้นทุนการทำนา    ท่านผู้อ่านจะเห็นว่า การรวมตัวกันทำปุ๋ยหมักโดยทำเป็นกองทุน ไม่ใช่เพียงเพื่อลดต้นทุนจากการทำในปริมาณมาก (economy of scale) เท่านั้น    แต่ได้พลังของการรวมกลุ่ม   พลังของความร่วมมือ    และได้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามาสนับสนุนด้วย     การเรียนรู้ตลอดชีวิตของชาวบ้านมีหลายมิติ   หลายเป้าหมาย
ตอนที่  8  รวมแรงรวมหุ้น  :  กองทุนปุ๋ยหมักชีวภาพ
             การทำเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน  ตามหลักสูตรการจัดการศัตรูพืชโดยชีววิธี  นักเรียนชาวนาจะต้องให้ความสำคัญกับการดูแลบำรุงดิน  ทั้งในแปลงนาข้าว  แปลงพืชผักต่างๆ  โดยวิธีการใส่   ปุ๋ยหมักชีวภาพ  ซึ่งถือว่าเป็นการดูแลบำรุงดินในระยะยาวอย่างยั่งยืน  นักเรียนชาวนาจะต้องเรียนรู้เรื่องการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ  และจะต้องรวมกลุ่มจัดตั้งกองทุนปุ๋ยหมักชีวภาพประจำตำบลขึ้นมารองรับการเรียนรู้และขยายผลอย่างเป็นรูปธรรม
             การก่อตั้งกองทุนปุ๋ยหมักชีวภาพประจำตำบลขึ้น  ก็เพื่อจะส่งเสริมและสร้างความเข้าใจเรื่องการปรับปรุงบำรุงดิน  ดินเป็นหัวใจสำคัญต่อการพัฒนาระบบการทำนา  และสามารถลดต้นทุน  การผลิต  เมื่อเปรียบเทียบจากการใช้สารเคมีและปุ๋ยเคมี  กองทุนปุ๋ยหมักชีวภาพจะเป็นการสื่อแสดงให้เห็นถึงเป้าหมายในระยะยาวของการพัฒนาการเกษตร  ชุมชนที่มีกองทุนนี้อยู่จะสามารถเป็นตัวอย่างเรื่องเกษตรกรรมยั่งยืนได้  วัสดุที่นำมาทำปุ๋ยหมักชีวภาพได้มาจากวัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่น  นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด    

  


             กระบวนการเรียนรู้ในการทำกิจกรรมเรื่องกองทุนปุ๋ยหมักชีวภาพประจำตำบล  ต้องการพัฒนาชุมชนชาวนาให้เข้มแข็งและสร้างความสามัคคี  โดยเน้นให้นักเรียนชาวนาในชุมชนร่วมกันคิดร่วมกันทำงาน  บริหารจัดการกันเอง  จนสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกัน  


             กองทุนจึงจัดให้มีการขายหุ้นให้แก่สมาชิกนักเรียนชาวนา  ทำให้เกิดการบริหารจัดการด้วยฝีมือของกลุ่ม  และผลประโยชน์ที่ได้ก็จะกระจายอยู่ในชุมชน  เสริมสร้างการพัฒนาครอบครัวนักเรียนชาวนาให้วัฒนา


             จากกรณีศึกษาโรงเรียนชาวนาบ้านสังโฆ  ตำบลวัดดาว  อำเภอบางปลาม้า  จังหวัดสุพรรณบุรี  ที่มีการจัดตั้งกองทุนปุ๋ยหมักชีวภาพตำบลวัดดาวขึ้น  โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก  Canada  Fund  เป็นจำนวนเงิน  30,000  บาท  และรวมกับในการเปิดระดมทุนจากนักเรียนชาวนา  มีสมาชิกในกองทุนทั้งหมด  45  หุ้น  มีเงินทุนสะสมจากการระดุมทุน  เริ่มต้นที่เงินจำนวน  4,500  บาท  ดังนั้น  จึงมีเงินทุนหมุนเวียนสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ  รวมเป็นจำนวนเงิน  34,500  บาท

Canada  Fund  30,000  45  4500   


             ในการเริ่มต้นครั้งแรกนี้  ก็มีส่วนต้นทุนที่เป็นค่าใช้จ่ายในเรื่องของการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ  ได้แก่  ขี้วัว  ฟิลเตอร์เค้ก  (Filter  Cake)  หรือเป็นที่รู้จักของชาวบ้านว่าขี้เค้ก  ซึ่งเป็นขี้ตะกอนจากโรงน้ำตาล  มีแกลบดิน  รำ  หัวเชื้อจุลินทรีย์  โดยมีรายละเอียดดังนี้ 
§     ขี้เค้ก  จำนวน  150  ตันๆละ  25  บาท  รวมเป็น  3,750  บาท  และค่ารถบรรทุกขนส่ง  (10  เที่ยว)  อีก  12,250  รวมเป็นเงิน  16,000  บาท
§       ขี้วัว  จำนวน  32  ตัน  ซื้อจากเหมาคอก  3,500  บาท  และจากซื้อถุงบรรจุขาย  1,920  บาท  รวมเป็นเงิน  5,420  บาท
§       แกลบดิบ  จำนวน  150  ตัน  และรวมค่ารถบรรทุกขนส่ง  (4  เที่ยว)  รวมเป็นเงิน  4,000  บาท
§     รำ  ชนิดละเอียด  6  กระสอบ  (กระสอบละ  60  กิโลกรัม  รวม  360  กิโลกรัม)  กระสอบละ  320  บาท  รวมเป็นเงิน  1,920  บาท 
§       รำ  ชนิดหยาบ  6  กระสอบ  (กระสอบละ  60  กิโลกรัม  รวม  360  กิโลกรัม)  กระสอบละ  1  บาท  รวมเป็นเงิน  360  บาท 
§       ค่าเช่ารถแม็คโคร  4  ชั่วโมงๆ  ละ  600  บาท  รวมเป็นเงิน  2,400  บาท 
§     หัวเชื้อจุลินทรีย์  ผลิตขึ้นเองภายในกลุ่ม  (ซึ่งเก็บได้มาจากน้ำตกไซเบอร์)  จำนวน  100  ลิตร  (ไม่มีค่าใช้จ่ายเป็นตัวเงิน  แต่ประเมินราคาตามตลาด  ลิตรละ  65  บาท  รวม  6,500  บาท)
             กองทุนปุ๋ยหมักชีวภาพของโรงเรียนชาวนาบ้านสังโฆ  จึงมีต้นทุนรวมเป็นค่าใช้จ่ายที่เป็น   ตัวเงินทั้งหมด  จำนวน  15,700  บาท  เมื่อนำต้นทุนการผลิตไปหักออกจากเงินทุนหมุนเวียนแล้ว  จึงมีเงินคงเหลือ  จำนวน  18,800  บาท
             ต้นทุนราคาตันละ  3,700  บาท  หรือกิโลกรัมละ  37  สตางค์  และสามารถจำหน่ายในราคาตันละ  5,000  บาท  หรือกิโลกรัมละ  50  สตางค์  จึงได้กำไรตันละ  1,300  บาท  หรือกิโลกรัมละ  13  สตางค์ 


                 
  ภาพที่  45  กองทุนปุ๋ยหมักชีวภาพตำบล   วัดดาว  ของโรงเรียนชาวนาบ้านสังโฆ
  ภาพที่  46  สภาพปุ๋ยหมักชีวภาพ  แสดงถึงพลังของนักเรียนชาวนาบ้านสังโฆ
 

             ครั้งที่มีการเดินทางไปซื้อขี้วัวที่ตำบลวังลึก  อำเภออู่ทอง  จังหวัดสุพรรณบุรี  ก็รวมกลุ่มกันไปเหมาซื้อขี้วัวจากคอก  มีนักเรียนชาวนาไปร่วมทำงาน  36  คน  จาก  43  คน  แต่ใครที่ไม่ได้ไปร่วมก็จะยินดีช่วยเหลือเป็นเงินสมทบเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในเรื่องของอาหารการกิน  คนละ  100  บาท


                   
  ภาพที่  47  นักเรียนชาวนาในฐานสมาชิกกองทุนปุ๋ยหมักชีวภาพได้ร่วมไม้ร่วมมือกันตักปุ๋ยหมักชีวภาพใส่กระสอบ  (ขาย)
  ภาพที่  48  ช่วยกันคนละแรงสองแรง  ตักปุ๋ยหมักชีวภาพ
 

                
  ภาพที่  49  นักเรียนชาวนาทั้งหญิงชายต่างร่วมแรงทำงานกันอย่างเต็มที่
  ภาพที่  50  ชั่งตวงแล้วจดบันทึกจำนวนกระสอบและปริมาณปุ๋ยหมักชีวภาพที่ได้
 

            
             และสำหรับอีกกรณีศึกษาหนึ่งเป็นกรณีศึกษาโรงเรียนชาวนาบ้านหนองแจง  ตำบลไร่รถ  อำเภอดอนเจดีย์  จังหวัดสุพรรณบุรี  


             กองทุนปุ๋ยหมักชีวภาพของโรงเรียนชาวนาบ้านหนองแจงได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก  OXFAM  เป็นจำนวนเงิน  30,000  บาท  เรื่องงานทำปุ๋ยหมักที่บ้านหนองแจงจึงคึกคักยิ่งนัก  จากการสำรวจความต้องการของนักเรียนชาวนาในเบื้องต้นนั้น  จึงพอทราบได้ว่ามีผู้สนใจมาลงรายชื่อกัน  จำนวน  35 คน  และคิดเป็นพื้นที่ที่ต้องการใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพถึง  450  ไร่  ถ้าเป็นอย่างนั้นแล้ว  ใน  1  ไร่จะต้องใช้ปุ๋ยในปริมาณ  200  กิโลกรัม  ดังนั้น  จึงปริมาณความต้องการปุ๋ยโดยรวมมีจำนวนถึง  102  ตัน


             ปุ๋ยหมักชีวภาพเป็นสูตรของมูลนิธิข้าวขวัญ  ตามความต้องการของนักเรียนชาวนาที่เรียกร้องจะเอาสูตร  เหมือนกับหลายๆแห่งที่ได้ดำเนินการไปแล้ว  ตามสูตรของมูลนิธิข้าวขวัญนั้น  ใน     ปุ๋ยหมักชีวภาพ  สามารถแยกแยะเป็นขี้วัว  ร้อยละ  30  ส่วนอีกร้อยละ  70  ประกอบด้วย  แกลบ     ขี้เค้ก  กากน้ำตาล  รำละเอียด  และน้ำจุลินทรีย์รวมกัน  แต่สำหรับขี้วัว  สัดส่วนถึงร้อยละ  30  นี้    ถ้าหากติดปัญหาในเรื่องราคาสูงหรือจัดหาซื้อยาก  ก็สามารถปรับสูตรลดขี้วัวลงได้  แล้วไปเพิ่มส่วนอื่นๆแทน  เช่น  ขี้เค้ก


             สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับนักเรียนชาวนาอยู่ตรงที่ว่า  ต้องการให้มีการลดต้นทุนลงให้ได้มากๆ  วัตถุดิบที่นำมาใช้ทำปุ๋ยหมักชีวภาพควรจะสามารถหามาได้ง่ายภายในชุมชน  ด้วยราคาที่ต่ำ  งบประมาณที่ได้มานั้น  ต้องบริหารจัดการให้ดีๆ  


             การบริหารจัดการกองทุนจะดำเนินไปตามกลไกและกระบวนการกลุ่ม  คณะกรรมการเป็นนักเรียนชาวนา  มีคุณเบี้ยว  ไทยลา  เป็นประธานกลุ่มหรือเป็นคุณกิจ  ส่วนเจ้าหน้าที่เป็นคุณอำนวยให้อยู่เสมอๆ


             ความคิดความเห็นของนักเรียนชาวนาบางส่วนต้องการที่จะทำเป็นปุ๋ยอัดเม็ด  แต่ก็มีอีกบางส่วนบอกว่าปุ๋ยอัดเม็ดใช้ไม่สะดวก  จึงพูดคุยกันมาเรื่อยๆ  จนมาถึงเรื่องทำเป็นปุ๋ยผง  และจนลืมมองไปที่งบประมาณที่มีอยู่  และแนวความคิดของการให้งบประมาณจากแหล่งทุน  ซึ่งต้องการให้นักเรียนชาวนาทดลองบริหารจัดการเงินกันเอง  (ดูก่อนว่าเป็นอย่างไรบ้าง  ?)  ถ้าหากทำครั้งแรกแล้วได้ดีมีผลน่าสนใจ  ครั้งต่อไปค่อยขยายผล  และไปเรียนรู้เรื่องการตลาดว่า  แนวโน้มตลาดต้องการอย่างไร  ?  (ให้ค่อยๆคิด  ให้ค่อยๆเป็นค่อยๆไป)


                  
  ภาพที่  51  กองปุ๋ยหมักชีวภาพของโรงเรียนชาวนาบ้านหนองแจง  ตำบลไร่รถ
  ภาพที่  52  บรรดานักเรียนชาวนาบ้านหนองแจงช่วยกันทำปุ๋ยหมักชีวภาพ 
 

             งบประมาณที่ได้มานั้น  ถูกจัดสรรเป็นงบจัดซื้อวัตถุดิบต่างๆที่จะนำมาทำเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพ  คณะกรรมการกองทุนจึงต้องทำการตรวจสอบราคาออกมาเป็นกระดาษทด  ได้ดังนี้
§       ขี้วัว  จำนวน  150 ตัน  ราคาประมาณตันละ  500  บาท  รวม  4,500  บาท
§       ขี้เค้ก  จำนวน  60  ตัน  ประเมินราคาจากรถที่ใช้ขน  จำนวน  3  เที่ยวๆละ  1,200  บาท  รวม  4,800  บาท
§       แกลบดิบใหม่  จำนวน  20  ตัว  ประเมินราคาจากรถที่ใช้ขน  จำนวน  4  เที่ยว  รวม  4,800  บาท
§       รำ  (ชนิดละเอียด)  จำนวน  1.8  ตัน  ราคาประมาณ  6,600  บาท
§       กากน้ำตาล  จำนวน  400  กิโลกรัมๆ  ละ  3.50  บาท  รวม  1,400  บาท
             นี่เป็นเพียงราคาต้นทุนในเบื้องต้น  รวมเป็นจำนวนเงิน  22,100  บาท  และนอกจากนี้ยังจะต้องมีค่าใช้จ่ายอื่นๆตามมาอีก  อย่างเช่น  ค่ารถไถเกรด  ค่าน้ำมันรถ  ค่าการติดต่อประสานงาน  เป็นต้น


                
  ภาพที่  53  ผสมผสานตามสูตรให้คลุกเคล้า  น้ำหมักจุลินทรีย์กับกากน้ำตาล
  ภาพที่  54  สองมือช่วยสร้างสรรค์งาน  (ด้วยแรงบีบและแรงคั้น)
 

             แค่ลองคิดเล่นๆดู  งบประมาณที่ได้มาไม่น่าจะเพียงพอ  แล้วจะทำอย่างไรกันดีล่ะ  ?  จำเป็นต้องมีการเก็บเงินลงหุ้นสมาชิกกองทุนเพิ่มเติมเพื่อนำรายได้มาหมุนเวียนเป็นค่าบริหารจัดการ  น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด  สมาชิกที่ถือหุ้นจะได้รับผลประโยชน์ตรงที่  จะได้ซื้อปุ๋ยหมักชีวภาพในราคาสมาชิก  (ราคาถูก)  แล้วถ้าหากได้กำไรก็มีการปันผล  (ให้เงินคืน)  เป็นอันว่าสมาชิกจะลงหุ้นกัน  หุ้นละ  100  บาท  ซึ่งคุณจันทร  กฤษณะชาญดี  เป็นเหรัญญิกหรือเป็นคุณกิจอีกคนหนึ่งจึงรีบเร่งดำเนินงานเรื่องเงินๆทองๆ  สามารถรวบรวมสมาชิกได้  49  หุ้น  คิดเป็นเงินจำนวน  4,900  บาท 
             เมื่อมีการดำเนินกิจกรรมเรื่องกองทุนปุ๋ยหมักชีวภาพเกิดขึ้นในชุมชน  จึงทำให้ผู้นำชุมชนต้องเหลียวมามองและเข้ามาร่วมด้วยช่วยกัน  ทำให้นักเรียนชาวนาได้เพื่อนร่วมทางเพิ่มขึ้นอีกแรงใหญ่  โดยได้ให้การสนับสนุนเรื่องงบประมาณเพิ่มอีก 30,000  บาท  และช่วยเหลือในเรื่องรถขนส่งอีกด้วย  ก็นับว่าเป็นความร่วมมือของคนในชุมชน  ถือเป็นเรื่องที่ดีงาม 


                   
  ภาพที่  55  ช่วยกลุ่มรวมตัว  บรรยากาศในวันทำปุ๋ยหมักชีวภาพที่บ้านหนองแจง 
  ภาพที่  56  การประสานความร่วมมือกับผู้นำชุมชน  (เป็นคุณอำนวย) 
 

             ดังนั้น  กองทุนปุ๋ยหมักชีวภาพตำบลไร่รถ  จึงได้แหล่งเงินทุนมาจาก  3  แหล่ง  คือ             งบสนับสนุนจาก  OXFAM  เงินรวมหุ้นของสมาชิกกองทุน  และงบประมาณสนับสนุนจากผู้นำชุมชน  รวมเป็นเงินสะสมจำนวน  64,900  บาท  จึงทำให้มีงบประมาณสำหรับเป็นเงินทุนหมุนเวียนอย่างคล่องตัวแล้ว  


             เจ้าหน้าที่เป็น “คุณอำนวย” จึงช่วยดูบันทึกค่าใช้จ่ายจากประธานกลุ่ม  ก็ปรากฏว่าไม่ได้มี       การแยกประเภทค่าใช้จ่าย  เพียงแต่ทำบันทึกสรุปเป็นค่าใช้จ่ายรายวันเท่านั้นเอง  งานนี้จึงต้องให้คณะกรรมการช่วยกันจัดการเรื่องการทำบัญชีกันใหม่  ให้มีการแยกประเภทค่าใช้จ่าย  ได้แก่          ค่าขี้วัว  ค่าขี้เค้ก  ค่ารำละเอียด  ค่าแกลบดิบใหม่  ค่ากากน้ำตาล  ค่ารถเข็นขี้วัว  ค่าน้ำมันที่ใช้ใน   การจัดการ  ค่าอาหารและเครื่องดื่ม  ค่าวัสดุอุปกรณ์  ค่าซ่อมบำรุง  ค่าจ้างแรงงานรถเคล้า  พอร่ายค่าใช้จ่ายมาตั้งยาวยืดตามนี้แล้ว  จึงสรุปได้ว่ามียอดค่าใช้จ่ายเป็นเงินทั้งหมด  41,067  บาท  ค่าใช้จ่ายเหล่านี้จะต้องทำให้โปร่งใสชัดเจน  นอกจากนี้  คณะกรรมการก็ต้องรายงานด้วยว่ามีเงินทุนมาจากที่ไหน  ?  จำนวนเท่าไหร่  ?  มีเงินคงเหลือในบัญชีเท่าไหร่  ?  มีเงินสดในมือเท่าไหร่  ?  ซึ่งรายละเอียดต่างๆเหล่านี้สมาชิกที่ลงหุ้นไปต้องรับทราบ  จะช่วยทำให้เกิดความเข้าใจกันในการทำงาน  และทุกคนมีความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกัน 
            
             ในที่สุดก็สามารถแยกและสรุปต้นทุนการผลิตได้ดังนี้
§       ขี้เค้ก  จำนวน  69  ตัน                                                   6,700      บาท
§       ขี้วัว  จำนวน  858  กระสอบ                                        5,040      บาท               
§       รำ  (ชนิดละเอียด)  จำนวน  2,020  กิโลกรัม            8,417      บาท
§       กากน้ำตาล  จำนวน  200  กิโลกรัม                               700      บาท
§       แกลบดิบใหม่  จำนวน  19.16  ตัน                             9,579      บาท
§       ค่ารถเข็นมูลวัว  จำนวน  8  เที่ยว                                   700      บาท
§       ค่าน้ำมันรถ                                                                     1,400      บาท
§       ค่าอาหารกลางวัน  (ในวันทำปุ๋ย)                               5,609      บาท
§       ค่าอุปกรณ์                                                                       1,272      บาท
§       ค่าซ่อมบำรุงอุปกรณ์                                                        580      บาท
§       ค่าจ้างแรงงาน                                                                1,070      บาท
                                                                                                        รวม     41,067      บาท
            
             แต่ค่าใช้จ่ายยังไม่จบเพียงเท่านี้  ตราบใดที่งานยังไม่เสร็จ  ก็ต้องมีการใช้จ่ายในส่วนอื่นตามมาอีก  อย่างเช่น  ค่าใช้จ่ายการว่าจ้างรถกลับปุ๋ย  พลิกปุ๋ย  เพื่อถ่ายเทความร้อน  กว่าจะสมบูรณ์ครบทุกขั้นตอนได้  ก็ต้องใช้ระยะเวลาอีกเป็นแรมเดือน  เมื่อมาพิจารณาถึงต้นทุนการทำปุ๋ยหมักชีวภาพแล้ว  จึงพอจะกะประมาณราคาได้ว่า  ไม่น่าจะเกิน  500  บาท  ต่อตัน  หรือกิโลกรัมละ  50  สตางค์

             “” 41,067?  ?  ?  ?                 §       696,700      §       8585,040      §       2,0208,417§       200   700      §       19.16                             9,579      §       8700      §       1,400      §       )                               5,609      §       1,272      §       580      §       1,070                   50050


             พอระยะเวลาผ่านไป  ก็มีค่าใช้จ่ายในส่วนของการพลิกปุ๋ยอีก  2  ครั้ง  รวมเป็นเงินจำนวน  18,234  บาท  และเมื่อรวมต้นทุนทั้งหมด  41,067  +  18,234  จึงเท่ากับ  59,301  บาท  เป็นต้นทุนการผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพ

2  18,234    41,067  +  18,234 


             เงินต้นทุนที่ได้มาจาก  3  แหล่ง  64,900  บาท  หักด้วยต้นทุนการผลิต  59,301  บาท  กองทุนปุ๋ยหมักชีวภาพของตำบลไร่รถ  จึงมีเงินคงเหลือจำนวน  5,599  บาท
             เมื่อมาดูปุ๋ยหมักชีวภาพที่ผลิตได้จากเดิม  102  ตัน  ถูกผสมหมักคลุกเคล้าจนเหลือเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพในสภาพปัจจุบัน  92  ตัน  ลดลงไป  10  ตัน  ในครั้งแรกที่เคยกะประมาณกันว่าจะขายในราคาตันละ  500  บาท  จึงต้องปรับราคากันใหม่ให้สูงขึ้นอย่างสอดคล้องกับต้นทุนการผลิตและปริมาณปุ๋ยหมักชีวภาพที่ได้จริง  ในราคาขายตันละ  700  บาท  หรือคิดเป็นกิโลกรัมละ  70  สตางค์


             หากสามารถขายปุ๋ยหมักชีวภาพได้จนหมด  92  ตัน  ก็จะมีรายได้ถึง  64,400  บาท  นำต้นทุนการผลิต  59,301  บาท  มาหักออก  กองทุนปุ๋ยหมักชีวภาพตำบลไร่รถจึงมีกำไรจากการขาย  5,099  บาท
             การที่กองทุนได้กำไรนั้นเป็นผลพลอยได้มาจากการบริหารจัดการที่ดี  แสดงถึงการร่วมมือร่วมใจกัน  และสามารถบงบอกได้ว่าคิดให้เป็นจะต้องคิดกันอย่างไร  ?  และจะต้องทำกันอย่างไร  ?  เพื่อให้ประสบผลสำเร็จ  ซึ่งนักเรียนชาวนาจะก็ค่อยๆเรียนรู้ไปเรื่อยๆให้ชำนาญ  ประเด็นสำคัญอยู่ตรงจุดนี้  ส่วนผลกำไรมากน้อยเป็นผลพลอยได้จากความสำเร็จ  

             ?? 


             และจะเห็นได้ว่า  การดำเนินงานต่างๆ  ทั้งเรื่องการบริหารจัดการและการบัญชี  ล้วนแล้วแต่เป็นภาระหน้าที่ของนักเรียนชาวนาที่จะต้องร่วมไม้ร่วมมือกันทำงาน  นักเรียนชาวนามีบทบาทและทำหน้าที่เป็น “คุณกิจ”  ส่วนเจ้าหน้าที่จึงเป็น “คุณอำนวย”  ทั้ง  2  บทบาทต่างต้องเรียนรู้ซึ่งกันและกันอยู่เสมอ


           การเรียนรู้เรื่องปุ๋ยหมัก  กองทุนปุ๋ยหมัก ไม่ใช่แค่เรียนเรื่องปุ๋ย ส่วนผสม วิธีหมัก วิธีใช้ เท่านั้น     แต่ยังมีการเรียนเรื่องบัญชี  การคิดต้นทุน  การสร้างความสัมพันธ์กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ฯลฯ     จะเห็นว่าการเรียนรู้ตลอดชีวิต หรือการเรียนรู้ในชีวิตจริง มีการเรียนรู้หลากหลายด้าน หลากหลายมิติ     ซ้อนทับอยู่ในกิจกรรมเดียวกัน


วิจารณ์ พานิช
๕ มิ.ย. ๔๘

หมายเลขบันทึก: 646เขียนเมื่อ 30 มิถุนายน 2005 07:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 21:22 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท