รายงานการพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนวิชาภาษาไทย1 เรื่อง อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4


ชื่อเรื่อง     :       รายงานการพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนวิชาภาษาไทย1  เรื่อง อิเหนา

                   ตอนศึกกะหมังกุหนิง  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4   ชื่อผู้วิจัย    :       นางประภาภรณ์  พงษ์สิน              หน่วยงาน :  โรงเรียนพรานวิบูลวิทยา  สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ปีที่วิจัย     :   ปีการศึกษา 2559

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมประกอบการเรียนวิชาภาษาไทย 1   เรื่อง อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80           (2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมประกอบการเรียน วิชาภาษาไทย เรื่อง อิเหนา ตอน     ศึกกะหมังกุหนิง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  (3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและ       หลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมประกอบการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่อง อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง               ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  (4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมประกอบการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่อง อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนพรานวิบูลวิทยา  องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 35 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (cluster random sampling) เครื่องมือ  ที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ มี 4 ชนิด ประกอบด้วย  ชุดกิจกรรมประกอบการเรียนวิชาภาษาไทย 1    เรื่อง อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  จำนวน 7 เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้ เรื่อง อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง จำนวน 7 แผน  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4  ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมประกอบการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการทางสถิติ วิเคราะห์หาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมประกอบการเรียน     ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) ตามเกณฑ์ 80/80 วิเคราะห์ค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) วิเคราะห์เปรียบเทียบคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test dependent samples) และวิเคราะห์ ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมประกอบการเรียนวิชาภาษาไทย 1 ใช้ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

                ผลการวิจัย พบว่า

(1) ชุดกิจกรรมประกอบการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่อง อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง          ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพ  86.81/88.49  โดยประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) เท่ากับ 86.81 ประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2) เท่ากับ 88.49 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80 (2) ชุดกิจกรรมประกอบการเรียนมีค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) เท่ากับ 0.78 แสดงว่าชุดกิจกรรมประกอบการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่อง อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง โดยใช้ การสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  นี้สามารถนำไปใช้สอนได้อย่างมีประสิทธิภาพทำให้นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 77.72 (3) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมประกอบการเรียนวิชาภาษาไทย 1 เรื่อง อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 และ (4) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมประกอบการเรียนวิชาภาษาไทย1 เรื่อง อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับ “มากที่สุด”  คือมีค่าเฉลี่ย 4.90  โดยมีความคิดเห็นว่าชุดกิจกรรมประกอบการเรียนช่วยให้นักเรียนเข้าใจบทเรียนเร็วและเข้าใจดีขึ้น ทำให้สนใจและกระตือรือร้นต่อการเรียน และช่วยให้มีความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้

             สรุปได้ว่า ผลการพัฒนาชุดกิจกรรมประกอบการเรียนวิชาภาษาไทย 1 เรื่อง อิเหนา      ตอนศึกกะหมังกุหนิง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  เป็นไปตามวัตถุประสงค์และสมมติฐานที่กำหนดไว้          ทุกประการ

 

 

20180213140513.pdf

หมายเลขบันทึก: 644720เขียนเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2018 14:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2018 14:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท