สื่อใหม่ศึกษา New media studies : (8) ภพภูมิใหม่ของภาคสาธารณะบนปลายนิ้วและสัมผัสรู้ของปัจเจก


ชื่อภาพ : ธรรมิกราช กษัตริย์เกษตร โดย วิรัตน์ คำศรีจันทร์ เทคนิค : ลายเส้น 3 สี บนผ้าใบ ขนาด : 125x180 ซม.

อธิบายภาพ : ภาพเขียน 1 ใน 3 ชิ้นของผู้เขียน ซึ่งสรุปและเล่าเรื่องจากการประมวลข้อมูล เพื่อร่วมจัดแสดงและจัดนิทรรศการหมุนเวียนในกรุงเทพมหานครและในภูมิภาคต่างๆของประเทศ ในโครงการเครือข่ายวิชาชีพเวชนิทัศน์บันทึกแผ่นดิน สื่อ ศิลป์ สืบสาน ภูมิพลัง โดยนักเวชนิทัศน์ทั่วประเทศ และเวชนิทัศน์สมาคม(ประเทศไทย) โรงเรียนเวชนิทัศน์พัฒนา คณะแพทยศาสตร์ศิริราช สถานเทคโนโลยีการศึกษาแพทยศาสตร์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล ระหว่างเดือนกรกฎาคม - ตุลาคม 2560 ก่อนพระราชพิธีพระราชทานเพลงพระบรมศพ ในหลวงรัชกาลที่ 9


ภพภูมิใหม่ของภาคสาธารณะบนปลายนิ้วและสัมผัสรู้ของปัจเจก

พัฒนาการของสื่อกระแสหลักแบบดั้งเดิมและสื่อใหม่ มีความเกี่ยวเนื่องกับปัจจัยผลักดันสำคัญ 4 ประการ ได้แก่ พัฒนาการและความก้าวหน้าของคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูง รวมทั้งปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์ ซึ่งทำให้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์สื่อและระบบการสื่อสารสามารถประมวลผลและแสดงผลได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ และด้วยปริมาณมหาศาล สร้างปฏิสัมพันธ์ในเวลาจริงให้ปรากฏขึ้นได้

ขณะเดียวกัน พัฒนาการและความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิตัล ก็ทำให้ข้อมูลและระบบสารสนเทศทุกชนิดสามารถบีบอัดและจัดเก็บ พร้อมกับนำกลับมาใช้ ข้ามขีดจำกัดได้มาก รวมทั้งการเชื่อมโยงกันของระบบสื่อสารโทรคมนาคม ดาวเทียม ใยแก้วนำแสง ตลอดจนการเชื่อมโยงและปฏิสัมพันธ์กันทั้งเชิงบวกและลบของท้องถิ่นและโลกาภิวัตน์ เหล่านี้ ต่างก็ร่วมกันส่งผลต่อพัฒนาการและการก่อเกิดสื่อใหม่และก่อให้เกิดพัฒนาการ เปลี่ยนผ่านสื่อแบบดั้งเดิม สู่สื่อบูรณาการในยุคใหม่ โดยมีลักษณะสำคัญทั้งที่ไม่เคยมีมาก่อนและในรูปแบบผสมผสานสื่อดั้งเดิมกับเทคโนโลยีสื่อใหม่

พัฒนาการดังกล่าว ก่อให้เกิดความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงในอัตราที่เร็วมากยิ่งๆขึ้นในด้านเทคโนโลยีสื่อ เทคนิคสื่อ รูปแบบและวิธีการเผยแพร่สื่อสาร การแพร่กระจายสื่อ การบริการเชิงวิชาชีพสื่อและการสื่อสาร รวมทั้งก่อเกิดกระบวนการเชิงสังคมวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างสูงในทุกมิติของสังคมวิทยาสื่อและการสื่อสาร

พัฒนาการทางด้านสื่อ เทคโนโลยีสื่อ และวิธีการเผยแพร่สื่อสาร มีลักษณะบูรณาการหลอมรวมและผสมผสานหลายมิติ ทำให้ความจำเป็นเพื่อการพัฒนาสื่อบุคคลและกระบวนการสื่อสาร ต้องมู่งเน้นการพัฒนาอย่างบูรณาการ สามารถดำเนินการได้อย่างเบ็ดเสร็จ และมีรูปแบบแพร่กระจายสื่อ ที่ยืดหยุ่นเข้าหาประชากรเป้าหมาย สามารถประยุกต์ใช้วิทยาการสื่อ เทคโนโลยีสื่อ เทคโนโลยีก้าวหน้า รวมไปจนถึงสื่อแบบดั้งเดิมและสิ่งที่มีเป็นต้นทุนแต่เดิมของสังคม ได้อย่างเหมาะสม.

....................................

หมายเหตุ :

ข้อเขียนนี้ เป็นเอกสารประกอบการบรรยายของผู้เขียน ในรายวิชาสื่อใหม่ สาขานิเทศศาสตร์บูรณาการ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่ ผู้เขียนเห็นว่าจะเป็นประโยชน์แก่คนทำงานและผู้สนใจ รวมทั้งเป็นความรู้สำหรับใช้ในชีวิตประจำวันซึ่งแวดล้อมด้วยความรู้และวิทยาการสมัยใหม่ ตลอดจนต้องบันทึกบทเรียนให้พลวัตรไปกับวิทยาการและเทคโนโลยีสื่อซึ่งเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาไปด้วย จึงนำมาเผยแพร่และบันทึกรวบรวมไว้ในนี้ด้วย

....................................................

บรรณานุกรมและเอกสารประกอบการเขียน  

สถิติผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือประเทศไทย,VEEDVIL, (2012). สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2561 จาก http://www.veedvil.com/news/thailand-mobile-in-review/)  

วิรัตน์ คำศรีจันทร์ , การวิจัยและพัฒนาการสื่อสารเรียนรู้ : เวทีชุมชนออนไลน์ ... การวิจัยและพัฒนาการสื่อสารเรียนรู้, (2561). สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2561 จากhttps://www.facebook.com/%E0%B...  

วิรัตน์ คำศรีจันทร์, กลุ่มเรียนวิชาสื่อใหม่_กลุ่ม 1_ 2560: สื่อเตรียมสอบกลางภาค รายวิชาสื่อใหม่, (2561). สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2561 จาก https://www.facebook.com/group... 128026001246447/  

วิรัตน์ คำศรีจันทร์, กลุ่มเรียนวิชาสื่อใหม่_กลุ่ม 2_ 2560: สื่อเตรียมสอบกลางภาค รายวิชาสื่อ, (2561). สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2561 จาก https://www.facebook.com/group... 1756021141358936/   Social media, (2016) สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2561 จาก http://www.9tana.com/node/thai... 

หมายเลขบันทึก: 643881เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2018 20:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มกราคม 2018 08:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท