สมาธิ


              สมาธิหมายถึง  การทำ กิริยาที่ทำ หรือสิ่งที่ถูกทำ และผลที่เกิดขึ้นจากการกระทำ ล้วนแต่เรียกว่ สมาธิไปหมด ส่วนความมุ่งหมายอันแท้จริง ท่านให้คำจำกัดความไว้ว่า สมาธิคือ กุศลจิตที่มมีอารมณ์แน่วแน่ ดังนี้ นี่เป็นการแสดงว่า ท่านเพ่งเล็งถึงผลที่เกิดขึ้น โดยตรง ส่วน การทำ ก็พลอยมีความหมายไปตามนั้น กล่าวคือ การทำให้เดิดมุศลจิต ทีมีอารมณ์แน่วแน่นั่งเอง ข้อควรสังเกตอย่างยิ่งอยู่ตรงคำว่าที่ว่ากุศลจิตมิได้อยูตรงคำว่าแนวแน่แต่อย่างเดียว เพราะป็นอกุศลจิต แม้มีอารมณืแน่วแน่ก็กลายเป็นมิจฉาสมาธิไป ด้วยเหตุนี้แหละสิ่งที่จะใช้เป็นอารมณ์ของสมินั้น จต้องเป็นอารมณ์ซึ่งเป้ฯที่ตั้งแห่งกุศลจิตเสมอไป ทั้งเจตนาในการที่จะทำสมิ ก็ต้องเป็นสิ่งที่บริสุทธิ์มาแต่เดิม หรือประกอบด้วปยปะญญา หรือ สัมมาทิฎฐิ ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

             “สมาธิ” มีอรรถ (ความหมาย)ว่า ตั้งมั่น หมายึวามว่า ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์อันเดียว อันอารมณ์อื่นแทรกแซงเข้ามาไม่ได้ อันนิวรณ์หรือกิเลสครอบงำไม่ได้

             ลักษณะของสมาธิคือความไม่ฟุ้งซ่าน รสของสมาธิ คือ การกำจัดความฟุ้งซ่าน แล้วมีความรู้สึกสงบ เครื่องปรากฏ หรือ เครื่องสังเกตของสามธิคือความไม่หวั่นไหว และปทัฎฐานของสมาธิ คือความสุข เกี่ยวกับปทัฎฐานนี้ มีข้อที่คอรระลึกไว้เสมอว่า ต้องมีความพอใจ สบายใจ อาจหาญ ร่าเริงหรือ ปิติปราโมทย์ ซึ่งเป้ฯลักษณะอาการของความสุขอยู่ตลอดเวลา เป็นสิ่งที่สังเกตได้ไม่ยาก และจะต้องควบคุมให้คงมีอยุ่ตลอดเวลา จึงจะไดชื่อว่า เป็นปทัฎฐาน

           ตามหลักวิชา สมาธิสามารถจำแนกแจกแจงได้มากมายหลายอย่าง กามและอกุศลธรรม เป้นเครื่องมัวหมองของสมาธิ เช่น จิตที่เป็นสมาธิแล้ว ในประเภทโลกิยสมิ ที่ยังกลับกำเริบได้ เกี่ยวกับการรักษาทาดี หรือมีเหตุการ์อย่งอื่นมาแทรกแซง จิตที่ไม่มีวิตกอย่างอื่น กำลังรุ่งเรื่องอยู่เสมอ เพราะ สหรคตะ อยู่ด้วยเจตสิกธรรมประเภทปัญญา เป็นเความผ่องแผ้วของสมาธิ

          ขั้นตอนในการทำสมาธิโดยคร่าวๆ อาจกล่าวได้ว่า การเจริญโลกิยสมาธิ การเตรียมก็คือชำระศีลใหนบริสุทธิ์ ตัดปลิโพธต่างๆ ติดต่อกับอาจารย์ให้ถูกวิธี ศึกษาและรับเอากัมมัฎฐาน ไปอยู่ในสถานที่อันสมควรแก่การเจริญกัมมัฎฐาน ตัดปลิโพธหยุมหยิมแล้วทำการเจริญกัมมัฎฐานตามวิธี

           อานิสงส์ของสมาธิ อาทิ เป็นเครื่องสนับสนุนกำลังใจอย่างแรงหล้าแล้ว ยังเป็ฯหลักเกณฑ์ที่จะช่วยให้มีการจัดเตรยมอย่างถุกต้องตรงตามที่ตนต้องการจริงๆ อีกด้วย เนื่องจากมีสามธิหลายอย่างหลายประเภทอานิสงส์จึงมีหลายอย่างหลายประเภทไปตาม ท่านแสดงอานิสงส์ของสมาธิไว้เป็นห้าอย่างด้วยกันคือ สุขทันตาเห็จ ของบุคคลที่กำลังอยุ่ในสามธิ ..มีวิปัสสนาเปป็นอานิสงค์  เป็นบาทฐานให้เกิวิปัสสนาต่อไ ปคือ เหตุไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มีอภิญญาเป็นอานิสงส์..., มีภพอันวิเศษเป็นอานิสงส์ ข้อนี้เล็งถึงพรหมโลกเป็นส่วนใหญ่ ภพที่ตำกว่านั้นไม่เรียกว่าภพอันวิเศษ..., มีนิโรธสมาบัติเป็นอานิสงส์ นิโรธสมาบัติ ได้รับการยอย่อง ว่าเป็นสมาบัติสูงสุดในบรรดาอุตริมนุษยธรรมที่แสดงออกให้ผุ้อื่นทราบได้ ในฐานะของการเสวยวิมุตติสุขที่ตนได้รับ..,

 

           - อานาปานสติภาวนา พุทธทาสภิกขุ อบรมภิกษุ ณ สวนโมกข์ ฯ ในพรรษาปี๒๕๐๒  อานาปานสติ ขั้นที่หนึ่ง การกำหนดลมหายใจยาว หน้า ๖๗-๗๗ 

คำสำคัญ (Tags): #สมาธิ
หมายเลขบันทึก: 643270เขียนเมื่อ 13 ธันวาคม 2017 15:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2017 15:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท