"ใครบอกว่าเขา (ชุมชน) คิดเองไม่เป็น"


ได้ยินแว่ว ๆ ว่าบางที่อาจจะให้เด็กนักเรียนในชุมชนปลูก (พืชผักสวนครัวกินเอง)แล้วให้รางวัล ท่านสมาชิก อบต. โดยพี่ชำนาญ รับว่าจะลองไปหารางวัลจากกลุ่มผู้ปกครองดู มารวม ๆ กัน (ลงขัน)

     ตอนที่ผมไปร่วมประชุมกับ สวรส.ภาคใต้ มอ. ตามที่ได้เคยบันทึกไว้ที่ ถึง คนพิการจังหวัดพัทลุง ฉบับที่ 3 คราวนั้นผมได้ยินการพูดถึงวิธีการชักจูงคนให้หันมาปลูกพื้นผักกินเองแบบพอเพียงในครัวเรือน เช่น พริก ตะใคร้ ข่า ขมิ้นฯ ซึ่งหากใครปลูกให้มาเบิกเงินจากกองทุนชุมชน เป็นค่าปลูกเช่น พริกให้ต้นละ 10 บาท ตะใคร้ให้กอละ 50 บาท แต่มีการกำหนดว่าพืชชนิดใหนให้ไม่เกินกี่ต้น และในภาพรวมไม่เกินกี่บาท ที่จะสามารถรับค่าตอบแทนจากกองทุนฯ ได้

     เมื่อวาน (4 พ.ย.2548) ตามที่ได้เขียนถึงคนลานช้างไว้ที่ คนลานช้างชอบ "หนุก" มีประเด็นหนึ่งที่ผมได้หยิบยกเรื่องนี้มาเป็นตัวอย่างให้คนในชุมชนได้ขบคิดวิธีการที่จะนำมาปรับใช้ ซึ่งเกิดจากประเด็นที่ สมาชิก อบต. พี่ชำนาญ ได้พูดถึงการที่ท่านได้ทำเป็นตัวอย่างในการปลูกพืชต่าง ต่างที่ใช้ในครัวเรือนไว้กินเอง จะได้ไม่ต้องซื้อ และเป็น "คนที่เลี้ยงโตแล้ว" ตามที่ได้เอ๋ยถึงไว้แล้วในส่วนรายละเอียด แต่ติดปัญหาตรงที่ไม่สามารถชักชวนคนอื่นได้ เพราะเป็นเรื่องไม่ค่อย "หนุก" อยากทำตรงนี้ให้สำเร็จ อยากเห็นทุกบ้านมีพื้นสวนครัวประดับบ้าน ทั้ง ๆ ที่ดินน้ำอุดมสมบูรณ์ และจะได้ปลอดภัยจากสารเคมีทางการเกษตรด้วย

     เมื่อผมนำเสนอให้ที่ประชุมตามข้อความข้างต้น และบอกว่าบางครั้งแกนนำต้องมีวิธีการที่เรียกว่า "ไม่ได้ด้วยเล่ห์ ก็ต้องเอาด้วยกล" หมายถึงต้องมีกลยุทธ์ หรือยุทธ์ศาสตร์กันบ้าง คือต้องคิดเชิงยุทธศาสตร์ด้วย แต่จะคิดได้เร็ว และหลากหลาย คงต้องใช้วิธีการนั่งคุย ปรึกษาหารือกันให้บ่อย ๆ มาก ๆ ใช้เวลาเพียงสั้น ๆ สักครั้งละ 1 ชม.ก็ได้แล้ว ผมตรวจสอบด้วยการสังเกตว่า แกนนำฯ ทุกคน หันไปหารือกัน และเห็นด้วยกับวิธีการ แต่คิดที่ชุมชนนี้ไม่มีกองทุนอะไร จึงเป็นโจทย์ที่เขาจะต้องนำไปคัดแปลงเอง เห็นและได้ยินแว่ว ๆ ว่าบางที่อาจจะให้เด็กนักเรียนในชุมชนปลูก แล้วให้รางวัล ท่านสมาชิก อบต. โดยพี่ชำนาญ รับว่าจะลองไปหารางวัลจากกลุ่มผู้ปกครองดู มารวม ๆ กัน (ลงขัน) ผมเห็นแล้วว่า "ใครบอกว่าเขา (ชุมชน) คิดเองไม่เป็น" ดังที่เคยเขียนไว้ที่ การศึกษาภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง ขอเพียงแค่การจุดประกายจากการจับประเด็นดี ๆ ก็เริ่มต้นได้แล้ว

หมายเลขบันทึก: 6422เขียนเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2005 12:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
หมออนามัยคนหนึ่ง
น่าสนใจดีครับ จะลองนำมาใช้กับชุมชนที่ผมทำงานดูบ้าง ขอบคุณน้องมาก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท