ธรรมรัต
พระมหา ธรรมรัต อริยธมฺโม ยศขุน

ศาสนากับความขัดแย้ง


ศาสนากับความขัดแย้ง

พระสถาพร   ธมฺมปสิทฺธิ (ลักษณะปิยะ) เลขที่ ๑

คำว่า “ศาสนา” นั้น ราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายไว้ว่า คือ “ลัทธิความเชื่อของมนุษย์อันมีหลัก คือ แสดงกำเนิดและความสิ้นสุดของโลก เป็นต้น อันเป็นไปในฝ่ายปรมัถต์ประการหนึ่ง แสดงหลักธรรมเกี่ยวกับบุญบาปอันเป็นไปในฝ่ายศีลธรรมประการหนึ่ง พร้อมทั้งลัทธิพิธีที่กระทำตามความเห็น หรือตามคำสั่งสอนในความเชื่อนั้น ๆ” (https://www.baanjomyut.com/  เข้าถึงข้อมูลเมื่อ วันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๐) 

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นพวงศ์) ทรงอธิบายว่า “ศาสนาคือ คำสั่งสอน ท่านผู้ใดเป็นต้นเดิม เป็นผู้บัญญัติสั่งสอน ก็เรียกว่าศาสนาของท่านผู้นั้น หรือท่านผู้บัญญัติสั่งสอนนั่นได้นามพิเศษอย่างไร ก็เรียกชื่อนั้นอย่างนั้น เพราะฉะนั้น ศาสนาจึงมีมาก คำสอนก็ต่างกัน” (https://www.baanjomyut.com/  เข้าถึงข้อมูลเมื่อ วันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๐)  

สุชีพ ปุญญานุภาพ อธิบายความหมายคำว่า “ศาสนา” ไว้ว่า

๑. ศาสนา คือ ที่รวมแห่งความเคารพนับถืออันสูงส่งของมนุษย์

๒. ศาสนา คือ ที่พึ่งทางจิตใจ ซึ่งมนุษย์ส่วนมากย่อมเลือกยึดเหนี่ยวตามความพอใจ และความเหมาะสมแก่เหตุแวดล้อมของตน

๓. ศาสนา คือ คำสั่งสอน อันว่าด้วยศีลธรรม และอุดมคติสูงสุดในชีวิตของบุคคล รวมทั้งแนวความเชื่อถือและแนวการปฏิบัติต่าง ๆ กันตามคติของแต่ละศาสนา (สุชีพ ปุญญานุภาพ, ๒๕๓๒:๙ จากhttps://www.baanjomyut.com/  เข้าถึงข้อมูลเมื่อ วันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๐) 

สำหรับในประเทศไทยนั้น ประชาชนมีเสรีภาพในการนับถือศาสนา โดยพระมหากษัตริย์ทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภ์ทุกศาสนา ศาสนาสำคัญ และมีคนนับถือมากที่สุดในประเทศไทย ได้แก่ ศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาซิกข์

นอกจากการนับถือศาสนาแล้ว ก็ยังมีความเชื่อไม่นับถือศาสนาอีกด้วย ซึ่งกลุ่มคนประเภทนี้จะถูก เรียกว่า “อศาสนา” (อังกฤษ: irreligion) และผู้ไม่นับถือศาสนาเรียก “อศาสนิก”(https://natthawuth.wordpress.com/  เข้าถึงข้อมูลเมื่อ วันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๐)

๑. แนวคิดของศาสนาแต่ละศาสนา

๑.๑ ศาสนาฮินดู  ชาวฮินดูส่วนมากนั้นนับถือเทพศูนย์รวมผู้สูงสุดองค์หนึ่ง คือพระพรหม ซึ่งมีหลายพระภาคด้วยกันทั้งในภาคของเทพหรือพระและเทพธิดา หรือเจ้าแม่ การปรากฏองค์ที่แตกต่างกันของพระพรหม โดยผ่าน เทพธิดาและเทพบุตรเหล่านี้ได้จุติมาอยู่ใน รูปเคารพ วัดและวิหาร ผู้นำศาสนา แม่น้ำ สัตว์ต่างๆ เป็นต้น ชาวฮินดูเชื่อว่าสถานะที่พวกเขาเป็นอยู่นี้มาจากผลการกระทำ ในชาติก่อนๆของพวกเขา ถ้าพฤติกรรมของเขาในชาติก่อนชั่วร้ายมากๆ เขาอาจจะต้องประสบกับชีวิตที่ยากลำบากมากในชาตินี้ เป้าประสงค์ ของชาวฮินดู คือ การได้หลุดพ้นจากกฎแห่งกรรม นั่นก็คือ การเป็นอิสระจากวงจรของวัฏสงสาร  ซึ่งมีหนทางที่เป็นไปได้อยู่สามทาง ในการหลุดพ้นจากกฎแห่งกรรมคือ

๑. อุทิศตัวด้วยใจรักต่อเทพบุตรหรือเทพธิดาองค์ใดก็ได้ในศาสนาฮินดู

๒. เพิ่มพูนขึ้นในความรู้โดยผ่านการบำเพ็ญภาวนาให้เป็นหนึ่งเดียวกันกับองค์พระพรหม

๓. ทำตามระเบียบแบบแผนและ ศาสนพิธีต่างๆอย่างเคร่งครัด (บทความโดย มาริลิน แอดัมสัน จากhttps://www.everythaistudent.com/  เข้าถึงข้อมูลเมื่อ วันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๐)

๑.๒ ศาสนาพุทธ  พระพุทธศาสนานั้นถูกก่อตั้งขึ้นโดยพระพุทธเจ้าเมื่อ  ๒๖๐๐ กว่าปีที่ผ่านมา  เป็นศาสนาประเภทอเทวนิยม  ซึ่งไม่เน้นความสำคัญของพระเจ้า  ไม่มีคำสอนเรื่องพระเจ้าสร้างโลก ควบคุมโลก หรือพระเจ้าเป็นเป้าหมายสูงสุดของชีวิต ศาสดาของพระพุทธศาสนานั้นคือพระเจ้า โดยมีพระนามเดิมก่อนการตรัสรู้เป็นพุทธเจ้าชื่อว่าเจ้าชายสิทธัตถะ  พระองค์นั้นทรงประสูติเมื่อวันเพ็ญ๑๕     ค่ำ เดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช  ๘๐  ปีคำสอนของพระพุทธองค์นั้นถูกรวบรวมจัดเป็นคัมภีร์ของพุทธศาสนาเถรวาท  เรียกว่า  พระไตรปิฎก  ประกอบด้วยคัมภีร์พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก  และพระอภิธรรมปิฎก  และอีกส่วนคือคัมภีร์ของพุทธศาสนามหายานนั้น เรียกว่า พระสูตร ศาสตร์ และตันตระ หลักคำสอนสำคัญของพุทธศาสนาเถรวาท คือ หลักไตรลักษณ์กฎแห่งกรรม อริยสัจ ๔ และนิพพาน  ส่วนหลักคำสอนสำคัญของพุทธศาสนมหายาน คือ หลักคำสอนเรื่องโพธิสัตว์  ในพระพุทธศาสนานั้นแบ่งออกเป็น ๒ นิกาย  คือ  นิกายเถรวาท  และนิกายมหายาน ในด้านพิธีกรรมของพุทธศาสนาเถรวาทนั้น แบ่งออกเป็นพิธีกรรมที่เป็นกุศลพิธี บุญพิธี ทานพิธีและพิธีย่อยๆอื่น  ในส่วนพิธีกรรมของพุทธศาสนามหายาน  คือ  พิธีตรุษจีน  พิธีกินเจ พิธีทิ้งกระจาดไทยทาน และพิธีกงเต็ก เป็นต้น สัญลักษณ์ของพุทธศาสนานั้น  ได้แก่  พระพุทธรูป  ธรรมจักร  ต้นโพธิ์และรอยพระพุทธ-บาทฐานะปัจจุบันของพระพุทธศาสนานั้น ได้เจริญอยู่ในประเทศแถบเอเชีย เช่น ประเทศไทย เวียดนาม ลาว กัมพูชา พม่า เป็นต้น จนได้นามว่าประทีปแห่งทวีปเอเชีย โดยเฉพาะประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นศูนย์กลางของศาสนาพุทธ เพราะพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรื่องยิ่งกว่าประเทศอื่นๆ   (https://sites.google.com/   เข้าถึงข้อมูลเมื่อ วันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๐)

๑.๓ ศาสนาอิสลาม ด้านศาสนาอิสลามนั้นเชื่อว่ามีพระเจ้าสูงสุดแต่เพียงพระองค์เดียวซึ่งพวกเขา เรียกว่าพระเจ้านั้นว่า องค์อัลเลาะห์ คือ ผู้เป็นพระเจ้าที่ยิ่งใหญ่ ผู้อยู่เหนือกว่ามวลมนุษยชาติ องค์อัลเลาะห์นั้นถูกมองว่าเป็นผู้สร้างจักรวาลทั้งสิ้น และเป็นแหล่งของทั้งความดีและความชั่วร้ายในทุกๆสิ่งที่เกิดขึ้น

แม้ว่าชาวมุสลิมนั้นจะยกย่องผู้พยากรณ์ท่านอื่นๆ แต่ชาวมุสลิมก็ถือว่าท่านมูฮัมหมัดคือผู้พยากรณ์คนสุดท้าย  คำสอนและวิถีการดำเนินชีวิตของท่านถือว่ามีสิทธิอำนาจ การเป็นมุสลิม คือคุณต้องถือหน้าที่ทางศาสนา ๕ อย่างด้วยกัน คือ

๑. ทบทวนข้อบัญญัติทางศาสนาเกี่ยวกับองค์อัลเลาะห์และท่านมูฮัมหมัด

๒. มีการละหมาดโดยท่องจำคำสวดภาษาอารบิค ห้าครั้งต่อวัน

๓. ให้ทานแก่คนยากจน

๔.หนึ่งเดือนของแต่ละปี(รอมาดอน)ให้มีการงดอาหาร เครื่องดื่ม การมีเพศสัมพันธ์และการสูบบุหรี่ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้นจนถึงดวงอาทิตย์ตก (บทความโดย มาริลิน แอดัมสัน จากhttps://www.everythaistudent.com/  เข้าถึงข้อมูลเมื่อ วันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๐)

๕.ไปแสวงบุญหนึ่งครั้งในชีวิต เพื่อร่วมนมัสการที่สถานศักดิ์สิทธิ์ในนครเมกกะ ชาวมุสลิม เมื่อตาย ก็หวังที่จะได้ไปอยู่ที่สวรรค์ แต่นั่นก็ขึ้นอยู่กับความซื่อสัตย์ในการปฏิบัติตามหน้าที่ ถ้าไม่ได้ไปสวรรค์ เขาก็ต้องได้รับโทษเป็นนิรันดร์ในนรก

๑.๔ ศาสนาคริสต์   ศาสนาคริสต์ เชื่อในพระเจ้าผู้ทรงเปี่ยมด้วยความรัก ซึ่งทรงสำแดงพระองค์ เองแก่เราและทรงให้เรารู้จักเป็นการส่วนตัวในชีวิตนี้ได้ ศาสนาคริสต์ ไม่ได้เพ่งความสนใจไปที่พิธีกรรมทางศาสนาหรือการกระทำความดี แต่อย่างใด แต่ความสนใจของเขาอยู่ที่การชื่นชมในความสัมพันธ์กับพระเจ้าและเติบโต ในการรู้จักกับพระองค์มากขึ้น  คริสต์มีความเชื่อศรัทธาในพระเยซูไม่ใช่แค่ที่คำสอนของพระองค์เท่านั้น ในครั้งเมื่อพระเยซูยังทรงดำเนินพระชนม์อยู่บนโลก พระองค์ไม่เคยกล่าวถึงตนเองว่า ทรงเป็นผู้พยากรณ์ที่ชี้ให้คนเห็นพระเจ้า หรือทรงกล่าวว่าตนเอง คือพระอาจารย์ที่สอนหนทางแห่งการตรัสรู้ พระองค์ทรงกล่าวอ้างว่าพระองค์ทรงเป็นพระเจ้าที่มาเป็นมนุษย์ และพระองค์ทรงกระทำการอัศจรรย์ ยกโทษความผิดบาปของผู้คน และตรัสว่าใครก็ตามที่เชื่อในพระองค์จะได้รับชีวิตนิรันดร์ พระองค์ตรัสประโยคนี้ว่า “เราเป็นความสว่างของโลก ผู้ที่ตามเรามาจะไม่เดินในความมืดแต่จะมีความสว่างแห่งชีวิต” (บทความโดย มาริลิน แอดัมสัน จากhttps://www.everythaistudent.com/  เข้าถึงข้อมูลเมื่อ วันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๐)

๒. ความขัดแย้งที่เกิดจากศาสนา

๒.๑ ความหมายของความขัดแย้ง   ความขัดแย้ง หมายถึง การที่บุคคลจะคิดทำอะไรแล้วเกิดความไม่ลงรอยกัน ไม่ถูกกัน มีความคิดเห็นไม่ตรงกัน และมีมุมมองที่แตกต่างกัน  ความขัดแย้งในสังคมนั้นเป็นสิ่งที่ทุกคนนั้นปรารถนาแต่ก็เป็นสิ่งที่ยากจะหลีกเลี้ยงได้เพราะว่าตราบใดที่มนุษย์มีชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมนั้น ก็ย่อมที่จะต้องมีความกันแย้งเกิดขึ้นอยู่เสมอ

๒.๒ สาเหตุของความขัดแย้ง  ความขัดแย้งของศาสนานั้นเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุหลายประการ เช่น มาจากความเชื่อศรัทธาในคำสอนของแต่ละศาสนาที่แตกต่างกัน ความที่บุคคลของแต่ละศาสนามีทิฐิมานะ ถือตัวว่าความคิดของตัวเองนั้นย่อมดีกว่าบุคคลอื่น การมีวิสัยทัศน์ที่คับแคบ ขาดการประสานงานที่ดี ขาดการควบคุมภายในอย่างมีระบบ สังคมโลกขยายตัวเร็วเกินไป และการมีค่านิยมในสิ่งต่างๆ ผิดแผกกัน ความคิดแตกต่างกัน

ปัญหาความขัดแย้งในประเทศไทยในปัจจุบัน นั้นเป็นปัญหาที่ซับซ้อน มีสาเหตุมาจากความขัดแย้งทางเชื้อชาติและศาสนา เช่น พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยเดิมทีนั้นเคยเป็นดินแดนชาวฮินดูและชาวพุทธ  ต่อมาศาสนาอิสลามได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้น ชาวมาเลย์มุสลิมก็ย้ายถิ่นฐานเข้ามาอยู่มากขึ้น และได้มาเปลี่ยนการปกครองดินแดนแห่งนี้โดยไปใช้ระบอบการปกครองแบบสุลต่านแห่งปัตตานี

 แต่ต่อมา สยาม มีความเข็มแข้งขึ้น และได้เข้ามามีอิทธิพลเหนือพื้นที่แถบนี้เป็นเวลานานกว่า ๗๐๐ ปี ในช่วงสมัยการล่าอาณานิคมของชาวยุโรป สยามต้องเสียดินแดนบางส่วนในภาคใต้ให้กับสหราชอาณาจักร ในปี พ.ศ. ๒๔๕๒  พื้นที่แห่งก็ถูกแบ่งออกเป็น ๒ส่วน ส่วนหนึ่งถูกผนวกรวมเข้ากับพื้นที่ในความดูแลของสหราชอาณาจักรซึ่งต่อมาก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของประเทศมาเลเซีย อีกส่วนหนึ่งยังคงอยู่กับราชอาณาจักรสยาม หรือประเทศไทยในปัจจุบัน

๒.๓  ความขัดแย้งในนามศาสนา

๒.๓.๑. เกิดจากความขัดแย้งระหว่างแต่ละศาสนา  อินเดีย เกิดความขัดแย้งระหว่างชาวฮินดูกับชาวมุสลิมจนแยกเป็นประเทศปากีสถานปัญหาระหว่างชาวมุสลิมและชาวฮินดูก็เพิ่มมากขึ้นจนถึงขั้นปะทะกันอย่างรุนแรง ในที่สุดอังกฤษจึงให้เอกราชกับอินเดียและปากีสถาน

๒.๓.๒. เกิดจากความขัดแย้งภายในศาสนาเดียวกัน  ความขัดแย้งระหว่างชาวมุสลิมในประเทศปากีสถาน    ที่นำไปสู่การแยกเป็นประเทศปากีสถานกับบังกลาเทศ

๒.๓.๓. ผลกระทบที่ได้รับของปัญหาความขัดแย้งทางศาสนาในดินแดนต่าง ๆ ทำให้การเมืองของโลกตึงเครียดขึ้น เนื่องจากความขัดแย้งไม่ได้จำกัดแต่เพียงคู่กรณีพิพาทเท่านั้นแต่ยังเกี่ยวพันกับมหาชาติอำนาจให้เข้ามามีส่วนร่วมกับความขัดแย้ง จนถึงขั้นเผชิญหน้ากัน

- เปิดโอกาสให้ชาติมหาอำนาจเข้ามาแทรกแซงมีอิทธิพลในประเทศต่างๆ

- ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโลกอย่างรุนแรง

- ส่งผลให้เกิดการก่อการร้ายไปทั่วโลก (บทความโดย ครูวิไลวรรณ จากhttp://wl.mc.ac.th/    เข้าถึงข้อมูลเมื่อ  วันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๐)

๓. สรุป

สรุปได้ว่า  ศาสนากับความขัดแย้งนั้นก็เกิดขึ้นมาจากเหตุและปัจจัยหลายสิ่งหลายอย่างที่มาเป็นตัวผลักดันจนก่อให้เกิดเป็นความขัดแย้งกันของศาสนา เช่นว่า เกิดจากคำสอนของแต่ละศาสนาที่มีจุดประสงค์ที่แตกต่างกันไป หรือการที่บุคคลในศาสนาเดียวกันหรือต่างศาสนากันมีความถือตัวถือตนมากจนเกินไปโดยที่ไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นบุคคลอื่น เหล่านี้จนเกิดเป็นความขัดแย้งกันของศาสนาไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งในศาสนาเดียวกันหรือต่างศาสนากันก็ตาม ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็จะเป็นตัวสะท้อนมาให้เห็นถึงสังคมปัจจุบันที่มีความขัดแย้งกันในทางศาสนาจนเกิดเป็นการแบ่งแยกกันเป็นพรรคเป็นพวกเป็นฝักเป็นฝ่ายจนก่อให้เกิดความไม่สงบสุขของประเทศขึ้น

เพราะฉะนั้นเมื่อเรามองเห็นซึ่งปัญหาเหล่านี้ที่เกิดขึ้นกับสังคมไทยในปัจจุบันว่าสาเหตุใดที่ทำให้คนในประเทศเรานั้นมีความแตกแยกกันเมื่อมองเห็นต้นสายปลายเหตุแล้วว่าทุกสิ่งทุกอย่างนั้นเกิดมาจากความขัดแย้งเกิดจากความแบ่งแยกไม่สมัครสมานสามัคคีกันจนทำให้ประเทศของเรานั้นประสบแต่ความวุ่นวายไม่จบไม่สิ้น   ฉะนั้นเราจึงต้องมีสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นในสังคมไทย ดังคำที่ท่านกล่าวว่า

แบ่งพวกทำให้เสียรัก    แบ่งพรรคทำให้เสียสามัคคี

แต่ถ้าเราไม่มีการแบ่งพวกไม่มีการแบ่งพรรค  ก็จะทำให้เรานั้นเกิดความรักความสามัคคี

 

อ้างอิง

 

https://www.baanjomyut.com/  เข้าถึงข้อมูลเมื่อ วันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๐ 

https://natthawuth.wordpress.com/  เข้าถึงข้อมูลเมื่อ วันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๐

https://www.everythaistudent.com/  เข้าถึงข้อมูลเมื่อ วันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๐

https://sites.google.com/   เข้าถึงข้อมูลเมื่อ วันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๐

http://wl.mc.ac.th/    เข้าถึงข้อมูลเมื่อ  วันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๐

คำสำคัญ (Tags): #ขัดแย้ง#ศาสนา
หมายเลขบันทึก: 641493เขียนเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2017 13:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2017 13:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท