DSRP : ทฤษฎีที่ใช้ได้กับทุกสิ่งทุกอย่าง ทุกเรื่องทุกประเด็น


Derek Cabrera เสนอกรอบแนวคิดเชิงระบบที่ให้ชื่อว่า DSRP ที่ผู้เสนอหวังว่าจะเป็น Theory of every thing  คือใช้ได้กับทุกสิ่งทุกอย่างเรื่องทุกประเด็นไม่ว่าจะเป็นข้อคิดหรือวัตถุสิ่งของ

D มาจาก Distinctions (Identity-others) คือ เมื่อกล่าวถึงเรื่องหรือประเด็นใดขึ้นมา จะมีผลเท่ากับแยกเรื่องหรือประเด็นนั้นออกมาจากเรื่องหรือประเด็นอื่นๆ (จึงต้องกล่าวให้ชัดจะได้ไม่เป็นปัญหา)

S มาจาก Systems (Whole and parts) คือ ทุกเรื่องพิจารณารวมเป็นหนึ่งเดียวก็ได้ หรือพิจารณาแยกเป็นองค์ประกอบก็ได้

R มาจาก Relationships (Action-reaction) คือ แต่ละเรื่องหรือแต่ละองค์ประกอบต่างก็มีความสัมพันธ์กันในเชิงกิริยา-ปฏิกิริยา

P มาจาก Perspectives (Point-view) คือ มุมมอง เรื่องหรือประเด็นเดียวกันเมื่อมองจากมุมมองของเรื่องหรือองค์ประกอบต่างกันก็จะต่างกัน (บางกรณีถึงกับตรงข้ามกัน)

Derek Cabrera ได้แสดงให้เห็นว่า การฝึกคิดตามกรอบแนวคิดนี้ จะทำให้คนสามารถจัดสาระหรือเนื้อหาที่มีอยู่ให้อยู่ในรูปแบบที่จะนำไปสู่การใช้การคิดสร้างสรรค์ และการคิดโดยใช้วิจารณญาณได้สะดวกและดีขึ้น ทั้งนี้ได้สนับสนุนให้มีการสอนกรอบแนวคิดนี้แล้ว  ตั้งแต่ระดับเด็กก่อนเข้าโรงเรียนจนถึงระดับหลังปริญญา เพื่อสร้างทักษะการคิดให้กับผู้เรียน ตามแนวคิดทักษะการคิดสำหรับศตวรรษที่ 21 

ถ้าใช้ได้กับทุกเรื่อง ในที่นี้จึงจะขอลองใช้เพื่ออธิบายเรื่อง จุดคานงัดของการปฏิรูปการศึกษา: การปฏิรูปการสอบเข้ามหาวิทยาลัย 

โปรดดูภาพที่ 1

       

                                                                                            ภาพที่ 1

การปฏิรูปการศึกษา (D) แบ่งตามการจัดการศึกษาเป็นสองส่วน (S) คือ การศึกษาในสถานศึกษา และการศึกษานอกสถานศึกษา 

ในที่นี้เราโฟกัสไปที่ การปฏิรูปการศึกษาในสถานศึกษา (P) ซึ่งมีหลายองค์ประกอบ (S) แต่เราโฟกัสไปที่การจัดการศึกษา โดยมีเป้าหมายที่จะให้นักเรียนมีทักษะสำหรับศตวรรษที่ 21 ทางด้านการคิด (P)

การจัดการศึกษาในสถานศึกษามีสามองค์ประกอบ (S) คือ นักเรียน (การเรียนรู้) สถานศึกษา (การจัดการเรียนการสอนและการสอบ) และครู (การสอน)  ซึ่งได้นำไปขยาย และแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบย่อยต่างๆ (R) ในภาพที่ 2

              

                                                                                                     

                                                                                              ภาพที่ 2

จุดเริ่มต้นของการปฏิรูปควรเริ่มที่การสอบเข้ามหาวิทยาลัย (1) เพราะจะเป็นจุดคานงัด นั่นคือ จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอื่นๆตามมา (P) ทั้งนี้โดยใช้รูปแบบข้อสอบของ PISA (ที่ทดสอบการใช้ความรู้  ซึ่งจำเป็นต้องใช้การคิดในการตอบ) เป็นข้อสอบสำหรับทุกวิชา โดยต้องให้อาจารย์จำนวนมากจากทุกมหาวิทยาลัยมีส่วนร่วมในการออกข้อสอบนี้ การเปลี่ยนแปลงจะตามมา (R) คือ

นโยบายของมหาวิทยาลัย (2a) เพราะมหาวิทยาลัยสนับสนุนแนวคิดอยู่แล้วตั้งแต่ตกลงเรื่องการสอบเข้า และการเปลี่ยนแปลงที่ตามมาคือ อาจารย์มหาวิทยา (3a) เพราะอาจารย์จำนวนมากมีส่วนร่วมในการออกข้อสอบมีทักษะแล้ว และได้นิสิตนักศึกษาที่เลือกมาแล้วว่าคิดเป็น ย่อมสามารถปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนและการสอบเป็นรูปแบบที่เน้นการใช้ความคิด (4a) ผลคือ นิสิตนักศึกษาเรียนรู้โดยใช้การคิด (5a) และได้บัณฑิตที่คิดเป็นตามเป้าหมายที่ต้องการ (6a)

ในขณะเดียวกัน การสอบเข้ามหาวิทยาลัยที่เปลี่ยนไป (1) ย่อมมีผลต่อนโยบายโรงเรียนมัธยม (2b) ครูมัธยม (3b) การเรียนการสอนและการสอบ (4b) นักเรียนมัธยม (5b) การสอบเข้าโรงเรียนมัธยม (6b)นโยบายโรงเรียนประถม (7b) ครูประถม (8b) การเรียนการสอนและการสอบ (9b) และนักเรียนประถมที่คิดเป็น (10b) ในที่สุด

ถ้ายังนึกไม่ออกว่าจะสอนอย่างไรให้นักเรียนคิดเป็น ก็อาจใช้การสอนโดยใช้กรอบแนวคิด DSRP

อำนาจ ศรีรัตนบัลล์

16 พ.ย. 60

หมายเลขบันทึก: 641489เขียนเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2017 13:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 กรกฎาคม 2020 10:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท