ชีวิตที่พอเพียง 3048. ไปนิวยอร์ก ๒๕๖๐ : 6. PMAC 2019 Working Group Meeting วันที่ 11 ตุลาคม 2560



นี่คือเป้าหมายหลักของการเดินทางไปนิวยอร์กคราวนี้    แต่ชื่อการประชุมจะไม่ค่อยสะท้อนสาระ ในการประชุมตรงนัก    เพราะเรามีวาระทั้งการนำเสนอภาพรวมของการประชุม PMAC เพื่อให้สมาชิกใหม่ จากเจ้าภาพร่วมที่เพิ่งมาประชุมเป็นครั้งแรก ได้รู้จัก PMAC   

หลังจากนั้นเป็นการหารือการจัดการประชุม PMAC 2018 สั้นๆ    ว่าเตรียมการณ์ไปถึงไหนแล้ว    มีปัญหาการเชิญผู้ใหญ่จากที่ต่างๆ มาเป็น keynote speaker อย่างไรบ้าง    และขอให้สมาชิกของที่ประชุมช่วยแนะ แนวทางแก้ไข หรือช่วยติดต่อคนที่ยังไม่ตอบการเชิญ 

ต่อด้วยการนำเสนอสาระสำคัญของการ refresh PMAC ในอนาคต     ตามที่สรุปจากการประชุม ที่ลอนดอนระหว่างวันที่ ๒๖ - ๒๘ ตุลาคม ๒๕๖๐    ผมดีใจที่ช่วงนี้ นพ. พีระพงษ์ สุพรรณไชยมาตย์ (หมอปูน) เป็นผู้นำเสนอ    ผมจ้องจับภาพใหญ่ ว่าที่ประชุมแนะอะไรเราบ้าง    แล้วผมก็ได้เรียนรู้จริงๆ

คำถามจากคนที่มาร่วมประชุมครั้งแรกมีคุณค่าต่อความลึกในการประชุมเสมอ    คราวนี้ตัวแทนจาก WHO เป็นคนใหม่ คือ Fiona Bull, Program Manager, NCDs    มาตั้งคำถาม “who” ว่าเป้าหมายของ PMAC คือใคร    ซึ่งคำตอบคือผู้กำหนดนโยบายระดับสูงขององค์กรระหว่างประเทศ  ของประเทศ    และผู้ทำงานในเรื่องนั้นๆ

คนใหม่อีกคนหนึ่งคือ Ms. Katie Dain, CEO (London) NCD Alliance   มาแนะว่าเพื่อให้มี policy impact  PMAC ควรประชุมก่อน high level policy meeting ของโลก เช่นของ G 20    

ผู้เข้าร่วมประชุมมีความเห็นตรงกันว่า การ refresh PMAC ให้มี policy impact จริงๆ    เป็นเรื่องสำคัญที่สุด   ซึ่งหมายความว่า ต้องจัด PMAC ให้ก่อกวน status quo ของระบบสุขภาพโลก และของประเทศ ว่าด้วยนโยบายสุขภาพในหัวข้อนั้นๆ    ผมจับความได้ว่า PMAC ต้องจับจุดแข็งของตัวเอง หรือสร้างวิธีทำงานขึ้นมา     โดยมีประเด็นสำคัญคือ

  • การเป็น mandate-free safe-space เพื่อการถกเถียงประเด็นสำคัญต่อ global health policy    ประเด็นนี้เราเป็นอยู่แล้ว    แต่ควรใช้ประโยชน์โดยการจัดการประชุมให้กล้าเอาข้อมูล และจุดยืนที่แตกต่างมาขึ้นเวทีถกเถียง    ผมเรียกยุทธศาสตร์นี้ว่า position-based policy discussion and communication     โดยจัดให้ผู้แทนของต่างจุดยืนมาเสนอข้อมูลหลักฐาน ที่ตนมีจุดยืนเช่นนั้น    เป็น conflicting-evidence-based meeting    เพราะระบบสุขภาวะ เป็นระบบที่ซับซ้อน ต้องมองจากหลายมุม  และมองด้วยข้อมูลหลักฐาน 
  • มีการทำงานมากกว่าเดิม เพื่อสร้าง evidence   และเพื่อนำสู่ policy impact    งานที่ทำมีทั้ง ก่อนการประชุม ระหว่างการประชุม  และหลังการประชุม     ซึ่งหมายความว่า PMAC บางหัวข้ออาจมีกิจกรรมสองปี    ไม่ใช่ปีละเรื่องอย่างที่แล้วมา    และน่าจะมีการนำวิธีการ commission งานสังเคราะห์ประเด็นเชิงนโยบาย    มาแทนการ call for abstract ที่ใช้อยู่เดิม  

ตอนบ่ายจึงเป็นเรื่องของ PMAC 2019 โดยตรง    เรื่อง NCD Prevention Through Multisectoral Movement ที่จะมีการเริ่มปรับวิธีจัดการประชุม    และสิ่งที่เราพบก็คือ   WHO กำลังจะจัดการประชุม เรื่องเดียวกันในสัปดาห์หน้า ที่ประเทศอุรุกวัย ()     และเป็นการประชุมเรื่องกว้างๆ เช่นเดียวกัน    เถียงกันไปสักพักก็พอแยกการประชุมของ WHO ที่อุรุกวัยกับ PMAC 2019    ว่าการประชุมที่อุรุกวัย เน้นความกว้าง (breadth)    ส่วน PMAC เน้นความลึก (depth)      

การอภิปรายกว้างขวางมาก     จนคนเก่งที่มาร่วมประชุมบอกว่างง    ทำให้ผมนึกในใจว่า งงได้ที่แล้วก็จะเกิดความคิดใหม่    ซึ่งก็เห็นได้จากประธานในที่ประชุม คือ Michael Myers  ผู้อำนวยการของ Rockefeller Foundation สรุปทางเลือกว่า ให้เป็นการประชุมเรื่องการป้องกัน NCD    และแนะให้พัก ดื่มน้ำและของว่าง พร้อมกับคิดว่าจะโฟกัสให้แคบลง ไปอีกไหม

เริ่มประชุมใหม่ช่วงสุดท้าย ก็ได้ชื่อการประชุมเบื้องต้นว่า  “NCD : Political Economy Prevention and Control”   โดยระบุชื่อ Plenary 0 ว่า “Imagine 2100 A World Free of Preventable NCD”   

มีการกล่าวถึงบทความในวารสาร The Lancet Global Health  เรื่อง The commercial determinants of health โดย Elona Kickbusch ()   ที่เสนอบทบาทหรืออิทธิพลของภาคธุรกิจต่อบุคคล และต่อสุขภาพโลก     โดยที่ภาคธุรกิจมีเป้าหมายเพื่อผลกำไรทางธุรกิจ    มีสุขภาวะของพลโลกเป็นเหยื่อ    

ก่อนจบการประชุมวันแรก เวลา ๑๖.๓๐ น. เราก็ได้ร่างหัวข้อ Plenary 1, 2, 3

ผมสบายใจ ที่ได้เห็นการประชุมที่มีประสิทธิภาพสูง    และทีมคนหนุ่มของไทยเข้าร่วมอภิปรายอย่าง เอาจริงเอาจังมาก    และการที่หมอปูนสรุปความเห็นในที่ประชุมเป็นร่างประเด็นการประชุม ช่วยให้การประชุม มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นมาก 


วิจารณ์ พานิช

๑๒ ต.ค. ๖๐

ห้อง 202, Fairfield Inn & Suite, NY


 


 

 

1 ในห้องประชุม



2 ถ่ายจากอีกมุมหนึ่ง
<p></p><p></p>

หมายเลขบันทึก: 641486เขียนเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2017 11:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2017 11:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท