นายแพทย์ปรีชา
นายแพทย์ นายแพทย์ปรีชา งามสำโรง

ปัญหาการนอนไม่หลับ ภัยเงียบของคนยุคใหม่


ในปัจจุบันภาวะความเร่งรีบ และ การใช้ชีวิตที่จะต้องใช้การแข่งขัน ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจ

. ปัญหาอย่างหนึ่งที่พบมากในสังคมเมือง และสังคมปัจจุบันคือ. ปัญหาการนอนไม่หลับ. ซึ่งส่งผลถึงคุณภาพชีวิต ทำให้การตัดสินใจ ความคิด และ การทำงาน หย่อนประสิทธิภาพลง บางครั้งปัญหาเรื่องของความง่วงนอนในเวลากลางวัน ส่งผลต่อการตัดสินใจ. และ การทำงานเป็นอย่างมาก

  ปัญหาการนอนไม่หลับเป็นทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ. หลายครั้งที่เราจะเน้นแต่ปริมาณ. ว่าจะต้องนอนครบ6ถึง 8 ชั่วโมง. แต่คุณภาพการนอนไม่ดี ทำให้มีความเหนื่อยล้า. เพลีย. หงุดหงิด ขาดสมาธิ ขาดความอดทน รำคาญง่าย ในเวลากลางวัน. เนื่องจากการหลับที่ขาดคุณภาพ. หลับไม่สนิท หลับไม่ลึกพอ หลับหลับตื่นตื่น สะดุ้งตื่นในเวลากลางคืน. ตื่นขึ้นมาแล้วไม่สามารถหลับต่อได้    ซึ่งลักษณะการนอนไม่หลับแบ่งแบบคร่าวๆคือ    การนอนไม่หลับตั้งแต่ตอนเริ่มต้น ต้องใช้เวลา1ถึง 2 ชั่วโมง กว่าจะหลับได้.  อีกประเภทหนึ่งคือ. ตอนเริ่มต้นหลับได้. แต่ก็จะสะดุ้งตื่นขึ้นมาในช่วงกลางดึก คือตีหนึ่งตีสองหรือตีสาม หลังจากนั้นก็หลับต่อไม่ได้.   ส่วนกลุ่มสุดท้ายคือ นอนไม่หลับทั้งคืน. บางครั้งกลางคืนก็ไม่หลับกลางวันก็ไม่สามารถหลับได้. ถึงแม้ว่าจะง่วงสักปานใดก็ตามการรักษาปัญหาการนอนไม่หลับที่ถูกต้องคือ จะต้องรักษาที่สาเหตุ ไม่ใช่ที่ปลายเหตุโดยการทานยานอนหลับอย่างพร่ำเพรื่อ. ฉะนั้นหากใครมีปัญหานอนไม่หลับเป็นระยะเวลาติดต่อกันสองถึงสามอาทิตย์ ควรสำรวจตัวเองเบื้องต้นว่า เรามีปัญหาด้านสุขภาพไหม. ที่เป็นสาเหตุของการนอนไม่หลับ เช่น. มีปัญหาโรคประจำตัว. ความเจ็บป่วยเรื้อรังหรือไม่. นี่ก็จะส่งผลให้เกิดปัญหาการนอนไม่หลับตามมา. ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวาน. ความดัน. โรคหัวใจ หรือแม้กระทั่งโรคต่อมลูกหมากโตก็จะทำให้รบกวนคุณภาพการนอนของเราได้  อีกปัญหาหนึ่งที่คนยุคปัจจุบันต้องประสบคือ อยู่ในยุคของการใช้เทคโนโลยีหรือสมาร์ทโฟน Facebook มือถือ เหล่านี้ก็จะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการนอนไม่หลับ. เพราะบางครั้งเราเล่นจนเพลิน. เกินเวลานอนหลับ. จนเป็นนิสัย.  สิ่งเหล่านี้ก็จะทำให้เกิดพฤติกรรมการนอนหลับเสียไป  เมื่อเราสำรวจปัญหาเหล่านี้แล้ว ถ้าไม่มีปัญหาเบื้องต้นที่กล่าวมา  อาจจะเกิดจากปัญหาโรคทางด้านจิตใจ. ไม่ว่าจะเป็นโรคซึมเศร้า. โรคเครียด โรควิตกกังวล หรือโรคเกี่ยวกับทางด้านสมอง. หรือพฤติกรรมการใช้สารเสพติดที่ใช้ยาเมทเอมเฟสตามีน. ยาอี. ยาไอซ์. รวมถึงกระทั่งการใช้สุรา.  ตรงนี้ก็จะทำให้เกิดปัญหานอนไม่หลับเรื้อรัง และส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก.  จากประสบการณ์ที่ผมได้ดูแลผู้ป่วยเหล่านี้พบว่า คนส่วนใหญ่ยังมีทัศนคติที่ไม่ดี เกี่ยวกับการนอนไม่หลับ. กลัวการไปพบแพทย์. เพราะเข้าใจว่า การรักษาคือการให้ยานอนหลับ เพราะไม่อยากทานยากลัวว่าจะติดยานอนหลับ และคนรอบข้างที่ไม่มีความเชี่ยวชาญและขาดความเข้าใจ บอกว่ากินยาแล้วตับ ไตพัง และจะติดยานอนหลับ. หรือ กลัวคนล้อว่าไปพบจิตแพทย์ ทำให้รู้สึกอับอาย. คนเหล่านี้ ส่วนใหญ่ก็จะแก้ปัญหาโดยการ หันไปซื้อยากินเอง และที่หนักไปกว่านั้น ซึ่งอาจเป็นเรื่องที่คาดไม่ถึง แต่เกิดขึ้นจริง คือ การไปขอแบ่งยาจากเพื่อนบ้าน ที่มีอาการคล้ายคล้ายกันมาทานเอง ซึ่งเป็นความเสี่ยง ของการทานยาที่ไม่ตรงกับโรค ในช่วงแรกอาจจะหลับได้ แต่ระยะยาว. จะส่งผลเสียทำให้ติดยาเรื้อรัง. ต้องเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อยเรื่อยประเด็นที่สองคือ การใช้. สุรา เบียร์ เหล้า  เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มาดื่มก่อนนอน เพื่อทำให้ หลับได้  หลับสบาย เมื่อดื่มเข้าไป ก็จะสามารถหลับได้ช่วงแรกเนื่องจาก แอลกอฮอล์เหล่านี้มีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง จะทำให้ผู้ป่วยเหล่านี้หลับได้ในเบื้องต้น  แต่ระยะยาว จะต้องมีการใช้สุราเพิ่มขึ้นเรื่อยเรื่อย ในปริมาณที่มากขึ้น ถ้าไม่ใช้ปริมาณที่มากขึ้นก็จะไม่สามารถนอนหลับได้   ปัญหาที่ตามมาคือ ผู้ป่วยเหล่านี้จะเป็นโรคติดสุราร่วมด้วย กับโรคนอนไม่หลับ ส่งผลต่อปัญหาสุขภาพร่างกาย  และครอบครัวของผู้ป่วยเหล่านี้เอง เพราะสุราก็จะทำให้เกิดผลเสียต่อระบบสมอง  ความคิด ความจำ ในขณะเดียวกัน ก็จะทำให้เสีย ต่อระบบการทำงานของตับและไต. และในเวลากลางวันก็จะมีอาการถอนสุราเป็นระยะระยะ ทำให้เกิดอุบัติเหตุ ในเวลากลางวันและกลางคืน ซึ่งเป็นปัญหาที่พวกเราไม่ค่อยตระหนักถึง ซึ่งเป็นความสูญเสียทั้งด้าน เศรษฐกิจและสังคมอย่างมาก.     แต่ด้วยทัศนคติที่มีแต่โบราณ การดื่มสุรา หรือ การดื่มเบียร์ เป็นค่านิยมหรือเป็นสิ่งที่คุ้นชิน จึงรู้สึกว่าไม่เป็นพิษไม่เป็นภัยต่อตนเอง. จึงดื่ม เพื่อช่วยแก้ปัญหาการนอนไม่หลับ โดยไม่ได้ตระหนักถึงพิษภัยนี้    และที่หนักกว่านั้น ยังเข้าใจว่าการดื่มสุรา มีพิษทำลายตับ ไต น้อยกว่าการทานยา ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน และมีทัศนะคติรวมถึงความเชื่อที่ไม่ถูกต้อง จึงทำให้ คนเหล่านี้เกิดปัญหาเรื้อรังตามมา ซึ่งส่งผลต่อการเป็นโรคทาง กาย และโรคทางจิตเวช จนก่อให่เกิดอาการทางจิต เช่น หูแว่ว และ หวาดระแวง กลัวคนมาทำร้าย และมีพฤติกรรมรุนแรงในครอบครัว ซึ่งส่งผลต่อครอบครัว และ การงานและสังคมที่เราพบเห็นในปัจจุบัน อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  ปัญหาการนอนไม่หลับ จึงเป็นปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม ในระยะยาวการรักษาที่ถูกต้อง จะทำให้ท่านมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 

น.พ.ปรีชา งามสำโรง

หมายเลขบันทึก: 641336เขียนเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2017 10:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2017 10:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท