ฤกษ์ยาม อธิบายด้วยวิทยาศาสตร์


ผ่าตัดหัวใจตอนบ่าย รอดตายมากกว่าผ่าตอนเช้า

รายงานจากรพ.มหาวิทยาลัยลีลเลอ ตอนเหนือของฝรั่งเศส จากข้อมูลผู้ป่วยเกือบ600คน ที่ผ่าตัดช่วงปี 2009-2015 นำมาสร้างงานวิจัย Randomized Control Trial (RCT) ผู้ป่วย88ราย พบว่าผ่าตอนบ่าย ผลดีกว่าตอนเช้า

www.scientificamerican.com/article/why-heart-surgery-may-be-better-in-the-afternoon/

รายงานตีพิมพ์ใน วารสารการแพทย์ Lancet 26 October 2017

www.thelancet.com/journals/lancet/article/PIIS0140-6736(17)32132-3/fulltext?elsca1=tlpr

 

ในทางโหราศาสตร์/ไสยศาสตร์ สอนกันมาว่า ทำการใหญ่ให้ดูฤกษ์ยาม 

ในทางพุทธ ไม่ให้ถือฤกษ์ยาม แต่ให้ใช้ปัญญา พิจารณาเหตุผล

www.watpitch.com/buddhist-proverb-578.html

นกฺขตฺตํ ปฏิมาเนนฺตํ

อตฺโถ พาลํ อุปจฺจคา

อตฺโถ อตฺถสฺส นกฺขตฺตํ

กึ กริสฺสนฺติ ตารกา.

ประโยชน์ได้ล่วงเลยคนเขลาผู้มัวถือฤกษ์อยู่ ประโยชน์เป็นฤกษ์ของประโยชน์ ดวงดาวจักทำอะไรได้.

อ้างอิงจากนักขัตตชาดก ในพระไตรปิฎก

http://84000.org/tipitaka//attha/attha.php?b=27&i=49

 

ทางการแพทย์โบราณไทย/จีน สังเกตและบันทึกไว้เป็นตำราประกอบการให้ยา ในแต่ละช่วงของวัน รวมทั้งวันข้างขึ้น/แรม และฤดูกาลต่างๆ

ในรายงานนี้ อธิบายหลักวิทยาศาสตร์เรื่องนาฬิกาชีวภาพ Circadian rhythm และยีนRev-Erbα ซึ่งควบคุม 

หลายงานวิจัยค้นพบว่า Circadian rhythm เป็นตัวแปรสำคัญ ต่อผลการรักษา เช่น การรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ก่อน11.00 น. จะได้ปริมาณแอนติบอดี้สูงกว่ารายที่ได้รับหลัง15.00 น.

เป็นเรื่องยากที่จะผ่าตัดหัวใจเฉพาะช่วงบ่าย แต่การหากลไกหรือยาควบคุม ปรับเปลี่ยนนาฬิกาชีวภาพ จะช่วยให้ผลการรักษาดีขึ้น

 

การสังเกตเรื่อง Circadian rhythm สืบไปถึง เมื่อ 400 ปีก่อนคริสตกาล Androsthenes กัปตันเดินเรือของอเล็กซานเดอร์มหาราช สังเกตการเปลี่ยนแปลงของใบไม้ ในเวลากลางวันและกลางคืน

https://en.wikipedia.org/wiki/Circadian_rhythm

 

คำศัพท์ Circadian จากคำภาษาลาติน Circa ซึ่งมีความหมายว่า วัน เป็นการบัญญัติของ ศาสตราจารย์นายแพทย์ Franz Halberg (1919 – 2013) แพทย์อเมริกัน เชื้อสายโรมาเนีย ซึ่งทำการวิจัยที่มหาวิทยาลัยมินเนโซต้า 

 

รางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาและการแพทย์ ประกาศเมื่อ 2ตุลาคม 2017 การศึกษากลไกที่ควบคุมนาฬิกาชีวภาพ Circadian rhythm มอบให้กับนักชีววิทยาอเมริกัน 3 ท่าน Jeffrey C. Hall, Michael Rosbash และ Michael W. Young

www.theguardian.com/science/2017/oct/02/nobel-prize-for-medicine-awarded-for-insights-into-internal-biological-clock

กล่าวได้ว่า เป็นการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ เรื่องฤกษ์ยาม ที่สัมพันธ์กับระบบชีวภาพของสิ่งมีชีวิต

หมายเลขบันทึก: 640541เขียนเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2017 07:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2017 07:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท