วิจารณ์ร่างพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายสินค้าทางพาณิชย์


เนื่องด้วยมีความแตกต่างระหว่างการค้าระหว่างประเทศและการค้าภายในประเทศในหลายประการ

วิจารณ์ร่างพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายสินค้าทางพาณิชย์ เหตุผลและความจำเป็น

                   เนื่องด้วยมีความแตกต่างระหว่างการค้าระหว่างประเทศและการค้าภายในประเทศในหลายประการเช่น ระยะทางระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายทำให้เกิดอุปสรรคทางการค้า การติดต่อและเป็นความเสี่ยงทางการค้าของคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายและยังรวมถึงบุคคลอื่นๆที่เกี่ยวข้องด้วย

                  กล่าวคือระหว่างผู้ซื้อ และผู้ขายนั้นย่อมมีความเสี่ยงในการจะได้รับสินค้าที่ผ่านการขนส่งในระยะทางไกลและความเสี่ยงในการที่จะได้รับชำระราคาสินค้าโดยวิธีต่างๆ นอกจากนี้บุคคลอื่นเช่นธนาคาร ผู้ขนส่ง ผู้รับประกันภัยก็ได้รับความเสี่ยงจากการค้าระหว่างประเทศด้วยเช่นกัน

                     นอกจากนี้ทางการค้าระหว่างประเทศยังมีอุปสรรคที่สำคัญอีกคือ ความแตกต่างกันระหว่างประเทศของคู่สัญญาแต่ละฝ่ายทั้งในเรื่องกฎหมายภายในของแต่ละประเทศ สภาพสังคม วัฒนธรรม การเมือง เศรษฐกิจฯลฯ ซึ่งปัจจัยต่างๆเหล่านี้ย่อมมีผลต่อความเข้าใจในเนื้อหาของสัญญาที่แตกต่างกัน ตลอดทั้งการเลือกใช้กฎหมายและศาลในกรณีที่เกิดข้อพิพาทของคู่สัญญาแต่ละฝ่ายด้วยดังนั้นมีจำเป็นที่จะต้องมีกฎหมายที่ใช้กับการค้าระหว่างประเทศโดยเฉพาะ เพื่อให้เป็นที่ยอมรับแก่นานาประเทศในการติดต่อค้าขายกับประเทศไทย และขจัดอุปสรรคทางด้านกฎหมายและการค้า โดยเฉพาะเมื่อประเทศไทยไม่มีกฎหมายเช่นนั้นโดยเฉพาะ จะมีก็เพียงกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในเรื่องสัญญาซื้อขายซึ่งบัญญัติขึ้นเพื่อใช้กับการค้าภายในประเทศเท่านั้นจึงไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้กับการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ ดังตัวอย่างดังนี้

                      ในเรื่องความเสี่ยงภัยในสินค้า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์พิจารณาว่าคู่สัญญาฝ่ายใดจะต้องรับความเสี่ยงภัยโดยดูที่กรรมสิทธิ์ในสินค้าอยู่กับคู่สัญญาฝ่ายใดตามมาตรา 370 แต่หลักการเช่นนี้ไม่เหมาะสมกับการค้าระหว่างประเทศเพราะการผูกความเสี่ยงภัยไว้กับกรรมสิทธิ์ย่อมเกิดความยุ่งยากโดยเฉพาะสินค้าขั้นปฐมภูมิที่มีการเปลี่ยนมือกันหลายทอดระหว่างที่สินค้าอยู่ในระหว่างการขนส่งทางทะเล อีกทั้งกฎหมายภายในแต่ละประเทศก็กำหนด

                     ในเรื่องการโอนกรรมสิทธิ์ไว้ต่างกันด้วย ดังนั้นย่อมส่งผลให้เกิดความไม่แน่นอนว่าความเสี่ยงภัยจะอยู่ที่คู่สัญญาฝ่ายใดในเรื่องแบบของสัญญาซื้อขายสินค้า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา456 กำหนดให้ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือมีการวางมัดจำหรือชำระหนี้บางส่วน จึงฟ้องบังคับกันได้ ซึ่งเห็นว่าในทางการค้าระหว่างประเทศอาจมีการทำสัญญาที่แตกต่างกันออกไปจากนี้ เช่นโดยวิธีใช้โทรสาร หรือเทเล็กซ์ ซึ่งเคยมีคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีข้าวนึ่งว่าการใช้วิธีดังกล่าวไม่ต้องตามมาตรา 456 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จึงไม่อาจบังคับได้

                     ซึ่งจะเห็นได้ว่าคำพิพากษาดังกล่าวทำให้เกิดความไม่ยุติธรรมแก่คู่สัญญาที่ต้องเสียหาย ดังนั้นในทางการค้าระหว่างประเทศจึงไม่นำเรื่องแบบหรือหลักฐานเป็นหนังสือตามกฎหมายภายในมาใช้โดยเปิดโอกาสให้ทำสัญญาด้วยวิธีการอื่นได้เช่น ด้วยวาจา   

                  จากเหตุผลดังกล่าวที่กล่าวข้างต้น จึงมีความจำเป็นที่ประเทศไทยต้องมีกฎหมายเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศโดยเฉพาะ เพื่อรับรองการขยายตัวทางการค้าของไทยและก่อให้เกิดการพัฒนาทางด้านกฎหมายและการค้าต่อไป

หมายเลขบันทึก: 64042เขียนเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2006 01:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2012 22:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท