นิทรรศการ "ธ สถิตในใจ มมส ตราบนิจนิรันดร์"


นี่คือการงานอันเป็นที่รัก และนี่คือการถวายงานต่อในหลวงรัชกาลที่ 9 ในอีกช่องทางหนึ่ง ครับ – ผมพูดในสิ่งที่ผมรู้สึกจริงๆ มิได้พูดปั้นแต่ง เพื่อปลุกเร้าคนทำงาน หรือให้ได้แค่งานแล้วจบๆ กันไป แต่นี่คือการทำงานในแบบ “ใจนำพา ศรัทธานำทาง” ที่ผมมักคิดและทำ -


การจัดกิจกรรม “ธ สถิตในดวงใจ มมส ตราบนิจนิรันดร์”  เมื่อวันที่  24  ตุลาคม 2560   ผมเป็นหนึ่งในคณะทำงานของมหาวิทยาลัย  แต่ที่จริงต้องเรียกว่าฝ่ายพัฒนานิสิตเสียมากกว่า – เพราะหลักๆ แล้วกลุ่มคนในสายงานนี้เป็นคนพกพาหัวใจลุกขึ้นมาทำในสิ่งที่รัก เพื่อคนที่เรารัก นั่นคือในหลวงรัชกาลที่ 9

ผมเป็นคนเสนอให้ใช้วาทกรรม “ธ สถิตในดวงใจ มมส ตราบนิจนิรันดร์”   โดยกำหนดจากกรอบแนวคิดการจัดนิทรรศการถวายความอาลัยและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณฯ ของพระองค์ท่าน



ผมนำเสนอต่อที่ประชุมประมาณว่า  “ผมอยากให้จัดนิทรรศการเจาะจงประเด็นที่พระองค์ท่านมีต่อมหาวิทยาลัยมหาสารคามจากอดีตจนถึงปัจจุบันเป็นหลัก”

ใช่ครับ – ผมอยากให้เจาะประเด็น  หรือนาฏการณ์เหล่านี้   มากกว่านำเสนอในมุมกว้างๆ   เพราะจังหวัดก็ทำอยู่แล้ว  ส่วนราชการอื่นก็ทำอยู่แล้ว

ผมคิดเช่นนี้เพราะต้องการให้  “ชาว มมส”  ได้รู้ประวัติศาสตร์ชีวิตตนเอง  ได้รับรู้และเรียนรู้ว่าพระองค์ท่านสำคัญกับมหาวิทยาลัยมหาสารคามอย่างไร 

 ส่วนในเรื่องราวอื่นๆ นั้น  ผมเชื่อว่าคนแต่ละคนสามารถสืบค้น-เรียนรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเองผ่านช่องทางและวาระอื่นๆ  ได้อย่างไม่ยากเข็ญ

 

แน่นอนครับ- การเสนอเช่นนั้น  ผมก็ขันอาสาว่าจะเป็นแกนหลักในการสืบค้นข้อมูลที่เกี่ยวข้องด้วยตนเอง  โดยจะส่งข้อมูลให้ผู้บริหารคัดกรอง  หรือกระทั่งตัดตรงเนื้องานไปยังฝ่ายศิลป์  (อติรุจ  อัคมูล)  เป็นคนขับเคลื่อน  หรือยกระดับข้อมูลเป็นสื่อสร้างสรรค์ 

 

กรณีดังกล่าว  ผมจัดแบ่งหมวดหมู่เป็น  3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

  • ประมวลพระบรมราโชวาทที่พระองค์ท่านพระราชทานให้กับบัณฑิตมหาวิทยาลัยมหาสารคามจากอดีตจนถึงปัจจุบัน
  • ประมวลภาพพระราชกรณียกิจที่พระองค์ท่านมีต่อมหาวิทยาลัยมหาสารคามจากอดีตจนถึงปัจจุบัน
  • ประมวลพระราชดำรัสที่พระองค์ท่านพระราชทานเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต  ที่เกี่ยวโยงประเด็นการทำงาน  การอยู่ร่วมกัน  การศึกษา ฯลฯ




ทั้งปวงนั้นเป็นการงานที่ท้าทายผมเป็นที่สุด  

ท้าทายในมิติ “เสนอแล้วต้องทำ”  และ “เป็นการงานที่รักและอยากทำเพื่อในหลวงรัชกาลที่ 9”    หรือท้าทาย  เพราะเป็นอีกหนึ่งในกระบวนการ “ทบทวนประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยฯ”   ไปในตัวดีๆ 




ครับ – ผมทำงานไม่กี่วัน   เพราะข้อมูลต่างๆ  ผมจัดเก็บมาเป็นระยะๆ อยู่แล้ว   รวมถึงผมมีคลังข้อมูลอันเป็นหนังสือของตัวเองอยู่แล้ว  จำได้กระทั่งว่าหนังสือเล่มนั้นผมจัดวางอยู่ตู้ไหน  - ชั้นใดของตู้ ...

ที่จะเกรงใจอยู่บ้างก็คือการส่งงานให้ฝ่ายศิลป์เสียมากกว่า  เพราะเขาต้องจัดวางตกแต่ง  ตรวจทาน ฯลฯ

แต่ทั้งปวงนั้นผมก็ย้ำกับทีมงานตลอดว่า  ...นี่คือการงานอันเป็นที่รัก   และนี่คือการถวายงานต่อในหลวงรัชกาลที่ 9 ในอีกช่องทางหนึ่ง

ครับ – ผมพูดในสิ่งที่ผมรู้สึกจริงๆ  มิได้พูดปั้นแต่ง  เพื่อปลุกเร้าคนทำงาน  หรือให้ได้แค่งานแล้วจบๆ กันไป   แต่นี่คือการทำงานในแบบ “ใจนำพา ศรัทธานำทาง”  ที่ผมมักคิดและทำ -







หมายเลขบันทึก: 640200เขียนเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2017 11:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2017 11:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

-สวัสดีครับอาจารย์

-ได้อ่านพระราชดำรัสของพระองค์ท่านแล้วอบอุ่นใจมากๆ ครับ

-รู้สึกมีพลังมากๆ ครับ

-การเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับคนทั่วไปได้สัมผัสและนำไปปฏิบัติตามก็ถือว่าเป็นหนึ่งในคำจำกัดความของคำว่า"ครู"นะครับ

-คนเรามีความเป็นครูในตัวเอง

-ด้วยจิตคารวะ ครู ทุกๆ ท่านครับ

-นี่ก็คือ"ครูป้าแป้น"สอนทำอาหารพื้นบ้าน"น้ำยาปูนา"ครับ..

สวัสดีครับ 


อ.เพชรน้ำหนึ่ง

ผมเห็นด้วยนะครับประเด็น "คนเรามีความเป็นครูในตัวเอง"  และความเป็นครูที่ว่าก็เหมือนเหรีญมีสองด้าน  เราสามารถเรียนรู้ หรือให้คนอื่นได้เรียนรู้เราได้ทั้งในมุมอันสว่างใสและหม่นมัว ---

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท