Patho OTOP2 (26):ไม่ใช่ Hemato แต่เป็น Leukemia หรรษา


Leukemia หรรษา สมชื่อทีมเขาล่ะ ผู้เขียนก็พลอยหรรษาไปด้วยเพราะความรู้ คืีนครูไปหมดแล้ว ว๊า !! อยากกลับไปเรียนใหม่จัง ทีตอนเรียนทำไมเราถึงเข้าใจยากจัง

หน่วยมนุษยพันธุศาสตร์ นอกจากส่งโครงการ "ถั่วแดงเริงร่า" ดังที่คุณ nidnoi ได้บันทึกเอาไว้แล้ว ยังมีโครงการดี ๆ อีกน๊ะ ขอบอก ขอบอก

ไม่เชื่อก็อ่านเอาเอง กับอีกหนึ่งทีม"Leukemia หรรษา"  กับ "ปัจจัยที่มีผลต่อการไม่ได้ผลตรวจโครโมโซมจากไขกระดูกของผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาว (leukemia)"                                      น้องเสาวนีย์

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวหรือที่เรียกกันว่า Leukemia โดยการส่งไขกระดูกเพื่อตรวจหาความผิดปรกติของโครโมโซมเพื่อ ใช้ในการวินิจฉัยและประกอบในการดูแลรักษา

ได้ยินแค่ชื่อก็ไม่น่าหรรษาหรือรื่นรมย์ได้ เอ๊ะ ! เขาทำอย่างไรกัน ?? ผู้เขียนขอสรุปมาคร่าว ๆ ดังนี้ค่ะ(ช่วงนี้มือเริ่มหงิก ลายมือต้องแคะ ทั้งลวง ต้องแกะ ต้องเกา ทำไม ? ลายมือเรา...สวยอย่างนี้น๊ะ!!!สารภาพตามตรงวันนี้ขาดผู้ช่วย (นายดำ)เก็บภาพ แต่ได้ขอภาพพี่วิเชียรไว้แล้ว ขอขอบคุณไว้ณ ที่นี้ค่ะ)

จากปัญหาที่พบ % การไม่ได้ผลการตรวจโครโมโซมจากไขกระดูกที่พบสูงมาก ทั้ง ๆ ที่็ค่าตรวจก็แพงมากเหมือนกัน 1700 บาท/ครั้ง แน่ะ เมื่อไม่ได้ผลผู้ป่วยก็ต้องเจ็บตัวเปล่า เจ็บตัวซ้ำ เสียเวลา เสียค่าใช้จ่าย แพทย์ก็ไม่ได้รับผลการตรวจ

ทั้งที่ตัวอย่างส่งตรวจที่ดีต้อง

  • ประมาณ 1 - 5 ml 
  • ไม่หนืด ไม่ใส
  • มีเซลล์ตัวอ่อนมาก เมื่อนำไปเพาะเลี้ยง 1 - 2 ล้านเซลล์/5 ml

แต่สิ่งส่งตรวจที่ส่งมาบางครั้งหนืด ใส น้อยกว่า 1 ml ไม่ทราบจำนวนเซลล์ที่แน่นอน เพราะเดิมที่หน่วยโลหิตวิทยาเป็นฝ่ายนับ ซึ่งตัวอย่างก็ไม่แน่ใจว่าเป็นตัวอย่างเดียวกันมีปริมาณเซลล์เท่ากันหรือไม่ ??
<blockquote><p>ทั้งนี้ก็เืพื่อลดอัตราการไม่ได้ผลตรวจ Chromosome จากการเพาะเลี้ยงเซลล์ และวิเคราะห์โครโมโซมเพื่อหา Karyotype </p></blockquote><p>โดย</p><ul>

  • นำเซลล์มานับเองด้วยวิธี counting chamber คำนวณหาเซลล์ในการเพาะเลี้ยง
  • ใช้วิธีการในการเพาะเลี้ยงหลายแบบขึ้น ขึ้นอยู่กับปริมาณของสิ่งส่งตรวจไขกระดูก แยกออกเป็นปริมาณมาก น้อย และน้อยสุด ซึ่งแต่ละวิธีจะมี protocol แยกเป็นแต่ละเวลา และจำนวนเซลล์ ในแต่ละปริมาณของตัวอย่าง นำไปวิเคราะห์ Karyotype > 20 mitosis ซึ่งเป็นกลวิธีหรือเคล็ดไม่ลับแต่ลับเฉพาะในหน่วย
  • </ul><p>พบว่า เปอร์เซ็นต์การได้รับผลการตรวจเพิ่มสูงขึ้น จำนวนตัวอย่างที่วิเคราะห์ได้มาตรฐาน </p><blockquote><p>Leukemia หรรษา สมชื่อทีมเขาล่ะ ผู้เขียนก็พลอยหรรษาไปด้วยเพราะความรู้ คืีนครูไปหมดแล้ว ว๊า !!  ว่าแต่อยากกลับไปเรียนใหม่จัง ทีตอนเรียนทำไมเราถึงเข้าใจยากจัง 
    </p></blockquote><p> </p>

    หมายเลขบันทึก: 63999เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2006 20:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (1)
    • คนไทยเป็นโรคนี้มากไหมครับ
    • จำได้ว่ายิ่งจนยิ่งเป็นโรคนี้มากจริงไหมครับ
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท