มาตรการปลอดนักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต ๔


มาตรการปลอดนักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้
ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต

ดร.ถวิล อรัญเวศ
รอง ผอ.สพป.นครราชสีมา เขต ๔

        สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต ๔ โดยกลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา ผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และโรงเรียนทุกโรงเรียน ได้ตระหนักเห็นความสำคัญของการยกระดับคุณภาพการศึกษา โดยมีนโยบายให้ทุกโรงเรียนในสังกัด มุ่งมั่นในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้อ่านออกเขียนได้ อ่านคล่องเขียนคล่อง เพราะการอ่าน การเขียน จะเป็นเสมือนบันไดขั้นต้นที่จะนำไปสู่การแสวงหาความรู้จากโลกภายนอกได้

       การอ่านและการเรียนรู้หนังสือ (Reading & Literacy) เป็นทักษะที่จำเป็นยิ่งสำหรับการเรียนรู้และการพัฒนาชีวิตสู่ความสำเร็จ ท่านผู้และนักปราชญ์กล่าวไว้ว่า การอ่านอย่างคล่องแคล่วและเข้าใจความหมายจะนำมาซึ่งความรู้ และส่งเสริมให้เกิดการคิดวิเคราะห์ มีวิจารณญาณ แยกแยะและประยุกต์ใช้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อชีวิต พร้อมทั้งสามารถถ่ายทอดสื่อสารให้ผู้อื่นทราบและเข้าใจได้ ซึ่งเป็นทักษะสำคัญของศตวรรษที่ ๒๑ หากผู้เรียนบกพร่องหรือ ขาดความสามารถในการอ่าน การเรียนรู้ไม่อาจก้าวหน้าไปได้ และจะประสบความยากลำบากในการดำรงชีวิต จึงวิเคราะห์ และการสื่อสารให้แก่ประชาชนตั้งแต่เยาว์วัย เพื่อให้สามารถเรียนรู้ในระดับที่ซับซ้อนขึ้นเมื่อ เติบใหญ่ จนกระทั่งสามารถดูแลตัวเอง มีอาชีพและมีรายได้ เป็นนักคิดและเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งยาวนานถึง ๑๔ – ๑๕ ปี หรือในวัยของการศึกษาภาคบังคับ จึงจำเป็นต้องพัฒนาการศึกษาในช่วงนี้ให้มั่นคง โดยพิจารณาว่าการอ่านออกเขียนได้ อ่านคล่องเขียนคล่องและสื่อสารได้เป็นพื้นฐานที่สำคัญสูงสุดอันดับแรกๆ ของการพัฒนาขีดความสามารถของผู้เรียน การพัฒนาความสามารถการอ่าน นอกจากครูจะต้องมีองค์ความรู้ เข้าใจทักษะกระบวนการพัฒนาความสามารถการอ่านของนักเรียนทั้งนักเรียนปกติและนักเรียนที่ต้องได้รับการเอาใจใส่เป็นพิเศษเพราะปัจจัยความแตกต่างทางสติปัญญาแล้ว ความแตกต่างทางพื้นฐานของครอบครัว เป็นปัจจัยสำคัญที่ควรคำนึงถึงในการพัฒนาความสามารถการอ่านของนักเรียน ด้วยเหตุนี้ การดำเนินงานพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทย จึงกำหนดเป็นนโยบายสำคัญในการเร่งรัดคุณภาพการอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้ เพื่อให้ทุกภาคส่วนร่วมกันขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายการพัฒนาขีดความสามารถของผู้เรียนให้เป็นประชากรที่มีคุณภาพในประชาคมอาเซียนและประชาคมโลกต่อไป

วัตถุประสงค์

๑. เพื่อให้ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา เห็นความสำคัญ ตระหนักและรับผิดชอบในการเร่งรัดให้นักเรียนอ่านออกเขียนได้ อ่านคล่องเขียนคล่องและสื่อสารได้อย่างยั่งยืน

๒. เพื่อให้ครูผู้สอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้มีความรู้ความเข้าใจและสามารถเชื่อมโยง การจัดการเรียนรู้ให้นักเรียนอ่านออกเขียนได้ อ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ

๓. เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องทุกระดับและทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมพัฒนาคุณภาพนักเรียนให้อ่านออกเขียนได้อ่านคล่องเขียนคล่องและสื่อสารได้อย่างจริงจังและต่อเนื่อง

๔. เพื่อให้ทุกโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต ๔ ปลอดการอ่านไม่ออกและเขียนไม่ได้

เป้าหมาย

๑ ผู้บริหารโรงเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกโรงเรียน มีความตระหนักและรับผิดชอบในการเร่งรัด ให้นักเรียนอ่านออกเขียนได้ อ่านคล่องเขียนคล่องและสื่อสารได้อย่างยั่งยืน

๒. ครูผู้สอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้มีความรู้ความเข้าใจและสามารถเชื่อมโยงการจัด การเรียนรู้ให้นักเรียนอ่านออกเขียนได้ อ่านคล่องเขียนคล่องและสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ

๓. ผู้เกี่ยวข้องทุกระดับและทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมพัฒนาคุณภาพนักเรียนให้อ่านออกเขียนได้ อ่านคล่องเขียนคล่องและสื่อสารได้อย่างจริงจังและต่อเนื่อง

๔. นักเรียนทุกคนทุกชั้นอ่านออกเขียนได้ อ่านคล่องเขียนคล่องและสื่อสารได้ตามมาตรฐานการเรียนรู้

มาตรการ

. สร้างความตระหนักรู้

ผู้บริหารโรงเรียนและครูทุกคน ต้องตระหนักว่า นักเรียนจะต้องอ่านออกเขียนได้ อ่านคล่องเขียนคล่องทุกคน

. มุ่งสู่การรู้จักข้อมูลผู้เรียนเป็นรายบุคคล

๒.๑ โรงเรียนต้องประเมินการอ่านออกเขียนได้ อ่านคล่องเขียนคล่อง

๒.๒ โรงเรียนวิเคราะห์ปัญหา สาเหตุนักเรียนเป็นรายบุคคล

. คิดค้นหากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

๓.๑ เด็กอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ และเด็กชั้น ป.๑-๓ ใช้ กิจกรรม ๔ ขั้นทุกวัน

ขั้นที่ ๑ ครูนำอ่านแจกลูกสะกดคำและผันเสียง

ขั้นที่ ๒ นักเรียนออกสำเนียงคำและข้อความตามอักษรสามหมู่

ขั้นที่ ๓ ครูให้นักเรียนคัดเขียนลายมืองาม

ขั้นที่ ๔ นักเรียนเขียนตามคำบอก

๓.๒ สำหรับเด็กอ่านได้แล้ว และเด็กชั้น ป.๔-๖ โดยใช้ กิจกรรม ๔ ขั้นทุกวัน ดังนี้

ขั้นที่ ๑ เขียนตามคำบอก

ขั้นที่ ๒ ออกเสียงแต่งประโยค

ขั้นที่ ๓ ยกมาเขียนเป็นเรื่องราว

ขั้นที่ ๔ ก้าวหน้าด้วยการอ่าน ทั้งร้อยกรอง และความเรียง

กิจกรรมเสริม

กิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน เช่น วางทุกงานอ่านทุกคน ยอดนักอ่าน มุมนักอ่าน แฟนพันธุ์แท้ ภาษาไทยวันละคำ ฯลฯ

การฝึกการเขียนอ่านให้คล่องและรวดเร็วด้วยวิธีอื่นๆ

ขั้นที่ ๑ นักเรียนรู้จักสระ พยัญชนะ ให้นักเรียนฝึกคัดพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ ประมาณ ๒-๓ สัปดาห์

ขั้นที่ ๒ นักเรียนฝึกอ่านพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ ด้วยการแจกลูกผสมคำตามอักษรสามหมู่ ประมาณ ๒-๓ สัปดาห์

ขั้นที่ ๓ นักเยนฝึกประสมคำที่มีสระที่มีสระ ในมาตรา แม่ ก กา ประมาณ ๑ สัปดาห์ (ฝึกอ่านและเขียนประสมคำไปพร้อมๆกัน)

ขั้นที่ ๔ ฝึกประสมคำที่มีสระ และคำในมาตรา แม่ กก ประมาณ ๑ สัปดาห์

ขั้นที่ ๕ ฝึกประสมคำที่มีสระ และคำในมาตราแม่ กด ประมาณ ๑ สัปดาห์

ขั้นที่ ๖ ฝึกประสมคำที่มีสระ และคำในมาตราแม่ กม ประมาณ๑ สัปดาห์

ขั้นที่ ๗ ฝึกประสมคำที่มีสระ และคำในมาตราแม่ เกย ประมาณ๑ สัปดาห์

ขั้นที่ ๘ ฝึกประสมคำที่มีสระ และคำในมาตราแม่ เกอว ประมาณ๑ สัปดาห์ ฯลฯ

. ดำเนินการนิเทศ

ครูผู้สอนบันทึกการจัดกิจกรรมในการพัฒนาการอ่าน การเขียน เป็นระยะๆ ผู้บริหารโรงเรียน รองผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา และศึกษานิเทศก์ กำกับ ติดตาม และนิเทศช่วยเหลือ

. ผลสำเร็จต้องรายงาน

ครูผู้สอน รายงานผู้อำนวยการโรงเรียน

ผู้อำนวยการโรงเรียน รายงานผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษารายภาคเรียน ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษารายงาน สพฐ.

. ดำเนินการยกย่องและเชิดชูเกียรติ

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นโรงเรียนปลอดการอ่านการเขียน

. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประชาสัมพันธ์

เปิดเวทีนำเสนอ การถอดประสบการณ์วิธีปฏิบัติที่ดี แลกเปลี่ยนเรียนรู้ โมเดลการอ่านออกเขียนได้การอ่านคล่องเขียนคล่อง

หมายเลขบันทึก: 639323เขียนเมื่อ 18 ตุลาคม 2017 01:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 ตุลาคม 2017 01:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท