บางส่วนจากการประชุมสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๖๐



วันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๖๐ ในการประชุมสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มี ศ. เกียรติคุณ นพ. เกษม วิฒนชัย องคมนตรี เป็นนายกสภา    มีวาระพิเศษเสนอผลงาน เครื่องสีข้าวสำหรับครัวเรือน และสำหรับชุมชน (, ) เสนอโดย ดร. ศักดา จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยข้าวล้านนา และคณะ    ที่น่าจะพัฒนาให้มีคุณภาพต่อเนื่อง  ให้แข่งขันในตลาดได้ 

 นายกสภาฯ แจ้งข่าว สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงห่วงใยประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยน้ำท่วม พระราชทาน ๙ แนวทางให้รัฐบาลและประชาชนยึดเป็นหลักปฏิบัติ ()  

 

สัญญาณอันตราย จำนวนนักศึกษาบางคณะมีแนวโน้มลดลง

รักษาการรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ รศ. ดร. อุษณีย์ คำประกอบ เสนอผลการสอบพื้นฐานภาษาอังกฤษ CMU-ePro ปี กศ. ๒๕๖๐   และผลการศึกษาตัวเลขจำนวนนักศึกษาที่รับเข้าเรียน เปรียบเทียบปีการศึกษา ๒๕๕๘, ๒๕๕๙, และ ๒๕๖๐   ที่มีบางคณะจำนวนรับตกวูบในปี ๒๕๖๐    เป็นสัญญาณความท้าทายต่อมหาวิทยาลัยจากการที่มีจำนวนคน ต้องการเข้ามหาวิทยาลัยลดลง    และจากการมีช่องทางอื่นในการเรียน

ในปีการศึกษา ๒๕๖๐ สถาบันอุดมศึกษาทั้งระบบประกาศรับ นศ. ป. ตรี ๑๘๐,๐๐๐ คน    มีจำนวนคนที่ต้องการ เข้าเรียนมหาวิทยาลัยเพียง ๑๒๐,๐๐๐ คน 

ผมเสนอว่าในอนาคตจะเกิด disruptive change ของระบบการศึกษาระดับสูง คือระดับอุดมศึกษา     ที่เรียนเองได้

ประเด็นที่สองคือการเปลี่ยนมุมมองต่อนักศึกษาแบบพลิกกลับหาทางดึงดูดนักศึกษาที่ต้องการเรียนแบบ ร่วมสร้างความรู้จากการทำงานร่วมกับอาจารย์และ engagement partners     แล้วได้ทั้งเงินค่าตอบแทน  ได้ประสบการณ์ และได้ปริญญา

 

การจัดตั้งสถาบันนโยบายสาธารณะ (School of Public Policy)

ภารกิจด้านนโยบายสาธารณะมีความสำคัญยิ่ง ถือเป็นเสาหลักที่ ๖ ของหน้าที่ของมหาวิทยาลัย ... การชี้ทางออกให้แก่สังคม    นอกจากนั้นวิชาการด้านนโยบายสาธารณะเป็นกลไกเชื่อมโลก   เนื่องจากผู้ริเริ่มคือ ผศ. ดร. อรอร ภู่เจริญ คณบดีคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ที่เคยเป็นอาจารย์สอนที่ NUS Lee Kuan Yew School of Public Poilicy   จึงโฟกัสด้าน urban management, digital society, energy & environment

จุดสำคัญคือวิชาการด้านนโยบายสาธารณะต้องเชื่อมโยงกับนักเคลื่อนไหว  และนักปฏิบัติในเรื่องนั้นๆ ด้วย   

 

การจัดตั้งสถาบันวิศวกรรมชีวการแพทย์ (Biomedical Engineering Institute)

ที่ประชุมมีมติให้ในช่วงแรกเน้นเรื่องงานวิจัย เมื่องานวิจัยเข้มแข็งแล้ว จึงเริ่มทำงานด้านบัณฑิตศึกษา     ผมมีความเห็นว่า ต้องทำงานพัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นหลัก    โดยโจทย์มาจาก engagement partner    สถาบันนี้มี รศ. ดร. นิพนธ์ ธีรอำพน เป็นผู้อำนวยการ

ผมเสนอว่า ทั้งสองสถาบันควรเน้นทำงานใน Engagement Mode  มากกว่า Research Mode   เงินและทรัพยากรที่นำมาใช้ส่วนใหญ่ควรมาจาก engagement partners  ไม่ใช่จากงบประมาณแผ่นดิน หรือเงินรายได้มหาวิทยาลัย  

 

แผนปฏิบัติงานระยะ ๔ ปี ของคณบดีคณะนิติศาสตร์

ผศ. ดร. พรชัย วิสุทธิศักดิ์ เพิ่งมารับตำแหน่งคณบดีคณะนิติศาสตร์ เสนอแผนยุทธศาสตร์ยกระดับเป็นคณะนิติศาสตร์ชั้นนำของประเทศ    กรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิ รศ. ดร. นิพนธ์ พัวพงศกร ชี้จุดอ่อนของนิติศาสตร์ไทยว่า     ในต่างประเทศผู้เรียนนิติศาสตร์จบปริญญาตรีสาขาอื่นๆ มาก่อน    แล้วมาเรียนนิติศาสตร์ (ดุษฎีบัณฑิต) อีก ๔ ปี    นักกฎหมายของเขาจึงมีฐานพื้นความรู้ที่กว้าง    ซึ่งนักกฎหมายไทยไม่มี 

 

แผนปฏิบัติงาน ๔ ปี ของคณบดีคณะวิทยาศาสตร์

รศ. ดร. ธรณินทร์ ไชยเรืองศรี เพิ่งมารับตำแหน่งคณบดีคณะวิทยาศาสตร์    เสนอแผนยุทธศาสตร์ เพื่อมุ่งสู่ความเป็นานาชาติในการผลิตบัณฑิตและการวิจัยที่เป็นเลิศ

วิธีการนำเสนอของคณบดีทั้งสองเป็นยุทธศาสตร์แนววิชาการ (Academic Mode) ซึ่งมาจากวิธีคิดแบบที่ เราคุ้นเคยมานาน    แต่ผมเห็นว่า เพื่อให้มหาวิทยาลัยเป็นหัวรถจักรฉุดประเทศไทย สู่สภาพ Thailand 4.0   ส่วนงานควรมียุทธศาสตร์แนวเชื่อมโยงสังคม (Engagement Mode)    ผมคิดว่าในเบื้องต้นควรใช้ Engagement Mode : Academic Mode  = 60 : 40   และเห็นว่าฝ่ายบริหารของมหาวิทยาลัย คืออธิการบดีและรองอธิการบดีควร “โค้ช” คณบดีใหม่และทีมงาน ให้คิดยุทธศาสตร์การพัฒนาคณะแนวเชื่อมโยงสังคมเป็น   

วิจารณ์ พานิช

๒๖ ส.ค. ๖๐


 

หมายเลขบันทึก: 637953เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2017 23:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 กันยายน 2017 23:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

This "ผมเสนอว่าในอนาคตจะเกิด disruptive change ของระบบการศึกษาระดับสูง คือระดับอุดมศึกษา     ที่เรียนเองได้" will taje awhile to sink it. But examples, of Google founders, Facebook founders and more who forego their institutional study to start-up new businesses and become successful, are proofs.

This "ผมเสนอว่าในอนาคตจะเกิด disruptive change ของระบบการศึกษาระดับสูง คือระดับอุดมศึกษา     ที่เรียนเองได้" will taje awhile to sink it. But examples, of Google founders, Facebook founders and more who forego their institutional study to start-up new businesses and become successful, are proofs.

ประศักดิ์ ถาวรยุติการต์

เห็นด้วยกับอาจารย์ แต่ทุกวันนี้อาจารย์ยังไม่ตื่นตัว ยิ่งมีแต่แรงกดดันให้ขอตำ่แน่งวิชาการ งานวิจัยจึงเน้นแต่วิชาการล้วนๆ น้อยที่จะเน้นการนำไปใช้ เพราะว่าตีพิมพ์ไม่ได้ และมหาวิทยาลัยก็สนใจการจัดอันดับ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท