:: การจัดการความรู้ในสถานศึกษา 135::


รู้เขา รู้เรา เรียนรู้งานเขา พัฒนางานเรา เพื่อพัฒนาศิษย์เรา

แสงสว่างนำทางของการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ”ที่นี่ประณีตวิทยาคม”(2)

       ทั้งนี้ในวง PLC ในระยะแรกเริ่มวางแผน ด้านการพัฒนาทักษะทางสังคมแก่ผู้เรียนก่อน โดยเฉพาะการสร้างวินัยแก่ผู้เรียน มีการวิเคราะห์ปัญหาด้านวินัยของผู้เรียน เช่น การแก้ไขพฤติกรรมมาเรียนของนักเรียน ออกแบบนวัตกรรมในการแก้ปัญหาผู้เรียน ซึ่งได้ข้อสรุปเบื้องต้นในการแก้ไข ได้แก่ ระเบียบว่าด้วย ความประพฤติของนักเรียน ซึ่งกลุ่มงานกิจการนักเรียนได้ยกร่างขึ้นมา นำมาร่วมกันวิพากษ์และเติมเต็มในวงสนทนา PLC ของครูอีกครั้ง จากนั้นนำไปสู่การประชุมของสภานักเรียน สุดท้ายนำไปสู่การชี้แจงและแสดงความคิดเห็นของนักเรียนทุกคนในที่ประชุมรวม หลังจากนั้นจึงประกาศเป็นระเบียบว่าด้วยความประพฤติและการปฏิบัติตนของนักเรียน พ.ศ.๒๕๖๐ ซึ่งมีมาตรการทั้งการเสริมแรงทางบวกและควบคุมพฤติกรรมในเชิงลบ

ในส่วนของการพัฒนาทักษะทางปัญญา การดำเนินงานบนพื้นฐานของความเชื่อเดิม ว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่เราสามารถพัฒนาครูหรือบุคลากรด้านการจัดการเรียนรู้แก่เด็กให้เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ เชี่ยวชาญในงานด้านการจัดการเรียนรู้ ที่จะสามารถพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้เป็นคนเก่งได้โดยปริยาย กระบวนการในวง PLC ของครูจึงเกิดการจับคู่ ครูร่วมพัฒนา (ครูบัดดี้) เพื่อทำการเรียนรู้และพัฒนาด้านการจัดการเรียนรู้ร่วมกัน โดยการเริ่มจากการชี้ชวนครูคู่บัดดี้นำแผนการจัดการเรียนรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้คำแนะนำ ข้อเสนอแนะในการเขียนและปรับแผน ร่วมกัน เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน ให้เกิดภาพแห่งความสำเร็จเพิ่มมากขึ้น 

จากนั้นชวนกันไปเยี่ยมชมบรรยากาศของการจัดการเรียนการสอนของครูคู่บัดดี้ มีการบันทึกวีดีโอของแต่ละคน นำไปสู่การสะท้อนบทเรียนด้านการพัฒนาผู้เรียนร่วมกัน และได้สะท้อนเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เติมเต็มในวงสนทนา PLC ของคณะครูในภาพรวม

โปรดติดตามตอนต่อไป…

หมายเลขบันทึก: 637698เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2017 06:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 กันยายน 2017 12:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่าน


ความเห็น

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท