หน่วยที่ ๑ ชุมชนบันดาลใจ ผจญภัยเกาะร้าง



หลักสูตรเยาวชนรุ่นใหม่ ใส่ใจชุมชน ของนิสิตกลุ่ม 2 รายวิชาการออกแบบและพัฒนาหลักสูตร คณะศึกษาศาสตร์ สาขาสังคมศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยมี 4 หน่วยการเรียนรู้ได้แก่ หน่วยที่ 1 ชุมชนบันดาลใจ ผจญภัยเกาะร้างหน่วยที่ 2 เรียนรู้ชุมชน ปลุกเยาวชนให้ตื่นหน่วยที่ 3 เครื่องมือการวิเคราะห์บนฐานปัญหา หน่วยที่ 4 สื่อสารสร้างสรรค์ด้วยละครเร่ 

โดยบันทึกนี้เป็นหน่วยที่ 1 เรื่อง ชุมชนบันดาลใจ ผจญภัยเกาะร้าง วันที่ 15 กันยายน 2560 เวลา 3 ชม. ณ โรงเรียนบ้านหินลาด อ.เมือง จ.มหาสารคามเนื้อหาในหน่วยที่ 1 ได้แก่ 

1.1) ความหมายของชุมชน 

1.2) องค์ประกอบของชุมชน 

1.3) กลไกในชุมชน 

1.4) บทบาทของเยาวชนในชุมชน

กระบวนการจัดการเรียนรู้ : กิจกรรมเกาะร้างสร้างพลเมือง

1) กิจกรรม 3 กำลัง ส (ส.สนุก) ใช้กิจกรรมสันทนาการ ได้แก่ กลมและเหลี่ยม ผึ้งแตกรัง ลาไปตลาด

2) กิจกรรมติดเกาะร้างสร้างพลเมืองอย่างมีส่วนร่วม 

- สร้างสถานการณ์จำลอง จากภาพ “ถ้าทั้งกลุ่มติดเกาะร้าง” โดยมีสถานการณ์ดังนี้ สมมติว่านักเรียนกับเพื่อนๆ เดินทางไปเที่ยวทะเล ด้วยกันโดยมีเรือลำใหญ่ จะไปเกาะแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงาม แต่ในระหว่างการเดินทางข้ามมหาทะเลนั้น ปรากฎว่าเรือชนเข้ากับก้อนหินขนาดใหญ่ ทำให้เรือแตกในที่สุด นักเรียนแต่ละกลุ่ม เหลือชีวิตรอดเพียง ๕ คน ว่ายน้ำหนีตาย ไปถึงเกาะร้างแห่งหนึ่ง ซึ่งไม่มีอะไรอยู่เลย (ครูยกแผนที่เกาะให้ดู) ในเกาะนี้กลางเกาะมีแหล่งน้ำ ทางใต้มีทะเลทราย ทางเหนือมีภูเขาไฟและป่า ทางตะวันออกเป็นชายหาดสวยงามเเต่มีสัตว์ร้ายอาศัยอยู่ และทางตะวันตกเป็นชายหาด

- ใช้คำถามว่า “เราจะร่วมมือกันเพื่อเอาตัวรอดอย่างไร เช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยา” 

- ถามต่อว่า “เราจะแบ่งหน้าที่กันยังไงบ้างในกลุ่ม เพื่อเอาตัวรอดด้วยกัน” 

- ให้เด็กเขียนอธิบาย โดยผ่านกระบวนการกลุ่ม

3) กิจกรรมสร้างสรรค์ชุมชน- สถานการณ์เพิ่มเข้ามา คือ 1 ปีผ่านไป ไม่มีใครมาช่วยเรา ทำให้เราต้องสร้างชุมชนของตนเองขึ้นมา ในชุมชนมีผู้นำชุมชน (กระบวนกรอธิบายผู้นำ 4 ทิศ) 

- ถามว่า “แต่ละกลุ่มเราชอบผู้นำแบบไหนมากที่สุด ให้เลือกมา 1 ทิศ” และใครในกลุ่มที่มีบุคลิกคล้ายกับผู้นำทิศของเรามากที่สุด ให้เขาเป็นผู้ใหญ่บ้าน 

- ถามต่อว่า “เนื่องจากเราต้องสร้างชุมชนของเราขึ้นมาเอง ชุมชนเกาะในฝันของเรา มีขอบเขตเป็นยังไง ถนนสายหลักเป็นยังไง มีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติอะไรบ้างในหมู่บ้าน และสถานที่สำคัญของหมู่บ้านอยู่ที่ไหนบ้าง 

- ให้เด็กวาด เขียนอธิบายตาม จินตนาการบนพื้นฐานของความเป็นจริง ที่ต้องสร้างหมู่บ้านร่วมกัน 

- แต่ละกลุ่มออกมาจับสลาก เลือกสถานการณ์ปัญหาที่ไม่คาดคิด แล้ววาดปัญหานั้นลงในหมู่บ้าน 

- ถามต่อว่า “หากชุมชนเกิดปัญหา………….. ทางด้านทิศเหนือของเกาะ เราจะแก้ปัญหานั้นช่วยกันอย่างไร 3 ข้อ”  

- ให้เด็กอธิบายเป็นภาพลงกระดาษปรู๊ฟ วาดเกาะ วิธีการเอาตัวรอดแบบต่างๆ และแนวทางการพัฒนาชุมชนของตนเอง 

- กระบวนกรอธิบายสรุปกิจกรรม โดยถามนำว่า “ชุมชน คือ อะไร ประกอบด้วยใครบ้าง อยากให้หมู่บ้านหินลาดเราเป็นยังไง และทำยังไงจึงจะถึงภาพฝันนั้น” เชื่อมโยงสู่เนื้อหาหลักของหลักสูตร

ผลที่เกิดขึ้นต่อกลุ่มเป้าหมาย (จากการทำแบบสอบถามความพึงพอใจต่อกระบวนการ)  

1) กิจกรรมผจญภัยเกาะร้าง ส่วนใหญ่เด็กให้หน้ายิ้ม (ระดับ 3) บอกว่า สนุก ได้คิดช่วยกัน ได้พูด ได้ถกเถียงกัน ชอบ ดีใจที่ได้ทำกิจกรรม 

2) กิจกรรมสร้างสรรค์ชุมชน ส่วนใหญ่เด็กให้หน้ายิ้ม (ระดับ 3) บอกว่า ได้คิด ได้วาดภาพ ได้ลงมือทพร่วมกัน ได้สร้างชุมชน ไม่เครียด ได้ทำแผนที่ ได้วาดตามที่ตนเองออกแบบเอง  

3) กิจกรรมสันทนาการ ส่วนใหญ่เด็กหน้ายิ้ม (ระดับ 3) บอกว่า กิจกรรมสนุก อยากให้มาสอนอีก ได้ออกกำลังกาย บางคนหน้าบูดบอกว่า งง กับ กลมและเหลี่ยม 

4) ตัวทีมงาน ส่วนใหญ่เด็กหน้ายิ้ม (ระดับ 3) บอกว่าประทับใจพี่แบ้ง ที่เอิร์ท ....

หน่วยการเรียนรู้ต่อไป ... ลงพื้นที่ครับ

หมายเลขบันทึก: 636993เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2017 10:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 เมษายน 2019 19:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อยากเห็น..ความคิดเด็ก..ๆ..กับภาพที่เกิด..รวมถึงจินตนาการ..กับภาพวาด..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท