มะเร็งต่อมลูกหมาก สาเหตุ อาการ วิธีรักษา และการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก


     มะเร็งต่อมลูกหมากคืออะไร
         มะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate Cancer) นั้นเกิดจากเซลล์ที่บริเวณอวัยวะเพศชายมีการแบ่งตัวอย่างผิดปกติจนเกิดเป็นก้อนเนื้อร้ายของมะเร็งที่คร่าชีวิตผู้ชายเป็นอันดับ 2 รองจากโรคมะเร็งปอดกันเลยทีเดียว โดยมะเร็งต่อมลูกหมากนี้เป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้ชาย ซึ่งพบว่าในผู้ชาย 10 จะมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก 1 คน และส่วนใหญ่จะพบโรคนี้ในผู้สูงวัยมากกว่าในคนหนุ่ม แต่ก็ไม่ใช่ว่าในคนหนุ่มจะไม่สามารถเกิดโรคนี้ได้


      สาเหตุของโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
– อายุ ยิ่งอายุมากขึ้นก็ยิ่งมีโอกาสเกิดมะเร็งได้มาก โดยส่วนใหญ่มักตรวจพบในผู้ชายสูงวัยที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป
– เชื้อชาติ พบมากในชาวอเมริกามากกว่าเอเชีย
– พบประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากมาก่อน
– อาหาร โดยเฉพาะผู้ที่ชื่นชอบการรับประทานเนื้อสัตว์ที่ติดมัน หรือมีไขมันสูง ก็มีโอกาสเสี่ยงต่อโรคมะเร็งได้มากกว่าผู้ที่ไม่รับประทานเนื้อสัตว์
– บุหรี่ ผู้ที่สูบบุหรี่ก็เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก
– เซลล์ PIN ในผู้ชายที่มีการตรวจเนื้อเยื่อด้วยกล้องจุลทรรศน์บริเวณต่อมลูกหมาก แล้วพบว่ามีเซลล์ PIN ก็สามารถเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้เช่นกัน


        อาการของโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
ในระยะเริ่มแรกจะไม่ปรากฏอาการแสดงใดๆ เลย จนกระทั่งก้อนมะเร็งโตและลุกลามไปยังท่อปัสสาวะจึงเกิดอาการแสดงดังนี้
– ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะในเวลากลางคืน และเจ็บปวดขณะปัสสาวะ
– การปัสสาวะบางครั้งมีเลือดปนออกมาด้วย
– บางครั้งมีปัญหาอวัยวะเพศแข็งตัวยาก
– เมื่อมะเร็งลุกลามมากขึ้นจะทำให้ปวดกระดูก หรือปวดหลัง และปวดตามข้อต่างๆ ในร่างกาย
– เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
– อ่อนเพลียมากขึ้น
– ปัสสาวะขัดและถี่มากขึ้น ตลอดจนปัสสาวะไม่พุ่ง
– ขณะมีเพศสัมพันธ์เมื่อถึงจุดสุดยอดจะปวดและมีเลือดปนออกมากับเชื้ออสุจิ


          วิธีการรักษาโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
1. โดยการผ่าตัด เป็นวิธีการรักษาที่เหมาะสำหรับในระยะเริ่มแรก และในผู้ชายที่อายุยังไม่มากรวมทั้งมีสุขภาพแข็งแรง โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีอายุไม่เกิน 65 ปี และสามารถรักษาให้หายขาดเป็นปกติได้ แต่ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ของการผ่าตัด จะทำให้อวัยวะเพศไม่สามารถแข็งตัวได้อีก และอาจไม่สามารถควบคุมการปัสสาวะได้
2. โดยรังสีรักษาหรือการฉายแสง วิธีนี้มักเหมาะในบางรายเท่านั้น อย่างในผู้สูงอายุ หรือมีโรคแทรกซ้อนต่างๆ โดยเฉพาะโรคหัวใจที่ไม่เหมาะกับการผ่าตัดรักษาหรือการให้ฮอร์โมน
3. การรักษาโดยฮอร์โมน วิธีนี้เหมาะกับผู้ป่วยในระยะสุดท้าย หรือกลับมาเป็นซ้ำอีกหลังฉายแสง เป็นการกำจัดมะเร็งจากต้นตอที่เกิดจากฮอร์โมนเพศชาย คือการเอาฮอร์โมนเพศชายออกนั่นเอง
4. โดยการให้เคมีบำบัด วิธีนี้มักใช้ในรายที่เชื้อแพร่กระจายลุกลามไปยังอวัยวะอื่นๆ ของร่างกายแล้ว


           การป้องกันการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
– รับประทานผักผลไม้ให้มากขึ้น โดยลดเนื้อสัตว์ที่ติดมัน หรืออาหารที่มีไขมันมาก
– ไม่ดื่มเหล้า และไม่สูบบุหรี่
– ไม่รับประทานอาหารสำเร็จรูปทั้งหลาย และอาหารปิ้ง ย่าง ที่ไหม้เกรียม
– ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอโดยไม่หักโหม
– หันมาบริโภคข้าวกล้องแทนข้าวขาว
– ออกไปรับแสงแดดอ่อนๆ ในช่วงเช้าหรือเย็น ประมาณ 10 – 15 นาทีต่อวัน



คำสำคัญ (Tags): #kmpprep
หมายเลขบันทึก: 634339เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2017 20:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 สิงหาคม 2017 20:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท