เครื่องกระตุ้นหัวใจไฟฟ้ากับเครื่องสร้างภาพเอ็มอาร์


ได้มีการพัฒนาเครื่องกระตุ้นหัวใจไฟฟ้าจากแบบเดิม (conventional pacemaker) ที่ไม่อนญาต หรือ ไม่สามารถนำเข้าไปในห้องตรวจเอ็มอาร์ไอ ได้เลย มาเป็นแบบพิเศษ ปรับเปลี่ยนวัสดุให้สามารถช่วยให้ผู้ป่วยที่ใช้ เครื่องกระตุ้นหัวใจไฟฟ้าชนิดพิเศษ สามารถเข้ารับบริการตรวจด้วยเครื่องสร้างภาพเอ็มอาร์ ได้แล้ว

เครื่องสร้างภาพเอ็มอาร์ (Magnetic resonance imaging : MRI) 

เป็นเครื่องมือสร้างภาพที่ถูกนำมาใช้ประกอบการวินิจฉัยและรักษาโรค 

เครื่องนี้ อาจเรียกชื่อในอื่นๆ เช่น 

เครื่องสร้างภาพจากการกำทอนด้วยสนามแม่เหล็กแรงสูง 

เครื่องเอ็มอาร์ไอ

เครื่องสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก


หลักการของเครื่องสร้างภาพเอ็มอาร์ 

คือ การสร้างภาพจากหลักการกำทอนของนิวเคลียสในสนามแม่เหล็กแรงสูง โดยการสร้างภาพออกมาในลักษณะภาพตัดขวาง (Cross section images) เหมือนกับวิธีการแบบเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computed Tomography; CT)

การสร้างภาพจากเครื่องเอ็มอาร์ไอ 

ใช้ผลของอันตรกิริยา (interaction) ระหว่างคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากับโปรตรอนของไฮโดรเจน (Hydrogen) ซึ่งเป็นนิวเคลียสของอะตอมที่เป็นองค์ประกอบของเนื้อเยื่อที่อยู่ในร่างกาย 


เมื่อผู้ป่วยอยู่ภายใต้สนามแม่เหล็กแรงสูง 

เจ้าหน้าที่ที่ทำการตรวจ จะส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีค่าความถี่ในย่านความถี่ของคลื่นวิทยุ (Radio frequency) 

ที่กระตุ้นโปรตรอนของไฮโดรเจนที่เป็นองค์ประกอบของเนื้อเยื่อที่อยู่ในร่างกาย 

ให้ออกจากสภาวะที่นิวเคลียสสมดุลภายใต้สนามแม่เหล็กนั้น 

โดยเปลี่ยนที่ยังทิศทางและระยะเวลาที่กำหนด 

เมื่อหยุดกระตุ้นด้วยคลื่นวิทยุ 

นิวเคลียสของอะตอมจะกลับไปสู่สภาวะสมดุล ภาวะอาจเรียกว่า ภาวะผ่อนคลาย (Relaxation) 

จะมีการเปลี่ยนแปลงระดับพลังงานของอะตอมในเนื้อเยื่อต่างๆที่แตกต่างกัน 

ซึ่งจะมีอุปกรณ์พิเศษมารับสัญญาณ และส่งเข้าไปสู่ระบบคอมพิวเตอร์ 

เพื่อประมวลผลแสะสร้างออกมาเป็นภาพของอวัยวะหรือเนื้อเยื่อ ณ ตำแหน่งที่ทำการตรวจ


เมื่อนำเครื่องสร้างภาพเอ็มอาร์ มาใช้ในการตรวจเพื่อวินิจฉัยและรักษาโรค 

สิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึงถึง คือ อันตราย ความเสี่ยง ผลข้างเคียงและความปลอดภัยต่อผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการตรวจ 

ผู้ป่วยบางราย มีความจำเป็นต้องใช้ เครื่องกระตุ้นหัวใจแบบสอดใส่เข้าไปฝังในร่างกาย (Cardiac pacemakers and implantable cardioverter defibrillators (ICDs)

อุปกรณ์นี้ มีบางชิ้นส่วนที่เป็นโลหะ (ศรชี้สีเขียว คือ ตัวเครื่อง และ ศรชี้สีแดง คือ สายไฟที่วางตามหลอดเลือดเข้าสู่หัวใจ) 



เมื่อผู้ป่วยที่มีอุปกรณ์นี้... และเข้าไปอยู่ในเครื่องตรวจที่มีสนามแม่เหล็กแรงสูง 

อาจได้รับผลกระทบจากสนามแม่เหล็กแรงสูงของเครื่องสร้างภาพเอ็มอาร์ ต่ออุปกรณ์ที่เป็นโลหะ มีการเคลื่อนที่ เปลี่ยนตำแหน่ง ส่งผลต่อผู้ป่วยทำให้เกิดการบาดเจ็บบริเวณใกล้เคียง หรือบริเวณที่มีอุปกรณ์ดังกล่าวสอดใส่อยู่


อุปกรณ์นี้... มีการทำงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ จะมีกระแสไฟฟ้าไหลในวงจรไฟฟ้า 

การนำอุปกรณ์ระบบอิเล็กทรอนิกส์ เข้าไปในบริเวณที่มีสนามแม่เหล็กแรงสูง

ความแรงของสนามแม่เหล็ก จะมีผลกระทบต่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ทำให้รับ/ส่งกระแสไฟฟ้าในวงจรผิดปกติ เกิดความร้อน หรือ หยุดการทำงาน หรือ ชำรุดได้ 

หากนำผู้ป่วยที่ใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจไฟฟ้า เข้าห้องตรวจ 

อาจส่งผลต่อเครื่องกระตุ้นหัวใจไฟฟ้า หรือ เกิดอันตรายต่อผู้ป่วย อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้


ดังนั้น... 

ข้อบ่งชี้ข้อหนึ่ง สำหรับการตรวจด้วยเครื่องเอ็มอาร์ คือ 

ไม่อนุญาต หรือ ทำการตรวจในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจไฟฟ้า ชนิดที่มีการฝังอุปกรณ์ไว้ในร่างกายได้ 


บริเวณประตูทางเข้าด้านหน้าห้องตรวจ 

จะต้องมีป้ายเตือน บริเวณที่มีสนามแม่เหล็กแรงสูง 

เตือนห้ามตรวจผู้ป่วยที่มีเครื่องกระตุ้นหัวใจไฟฟ้า เข้าห้องตรวจ


แต่... 

ในปัจจุบันนี้ มีเทคโนโลยีที่ความก้าวหน้ามากขึ้น 

ได้มีการพัฒนาเครื่องกระตุ้นหัวใจไฟฟ้าจากแบบเดิม (conventional pacemaker) ที่ไม่อนญาต หรือ ไม่สามารถนำเข้าไปในห้องตรวจเอ็มอาร์ไอ ได้เลย มาเป็นแบบพิเศษ ปรับเปลี่ยนวัสดุให้สามารถช่วยให้ผู้ป่วยที่ใช้ เครื่องกระตุ้นหัวใจไฟฟ้าชนิดพิเศษ สามารถเข้ารับบริการตรวจด้วยเครื่องสร้างภาพเอ็มอาร์ ได้แล้ว 


ตัวอย่าง

ขั้นตอนการตรวจผู้ป่วยที่มีเครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดพิเศษ สำหรับการตรวจด้วยเครื่องเอ็มอาร์ 


ก่อนเข้ารับการตรวจ 

1. เมื่อรับทราบว่า ผู้ป่วยใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดพิเศษ 

2. ให้ผู้ป่วยติดต่อ เจ้าหน้าที่จากบริษัทผู้ขายเครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดพิเศษ มาในวันที่จะทำการตรวจ 

3. ประเมินจากเอกสาร โดยเจ้าหน้าที่บริษัทผู้จำหน่ายเครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดพิเศษ จะทำการตรวจสอบและประเมินอุปกรณ์และสายไฟที่ใช้ว่า... เป็นชนิดพิเศษ ที่สามารถเข้าไปได้ในห้องตรวจได้ จริงหรือไม่ จากเอกสารจากและบัตรประจำตัวผู้ป่วย

4. ประเมินด้วยเครื่องมือระบบอิเล็กทรอนิกส์ 

    โดยนำอุปกรณ์จากตัวอย่างจากบริษัท Medtronic (สีน้ำเงินในภาพ) 


โดยนำ อุปกรณ์ดังกล่าว วางไว้บริเวณตำแหน่งที่ฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจแบบพิเศษ 

อุปกรณ์นี้ จะส่งสัญญาณเข้าไปในร่างกายและอ่านข้อมูลจากเครื่องกระตุ้นหัวใจภายในร่างกาย




ด้านหลังอุปกรณ์ Medtronic 



อุปกรณ์ นี้มีชิ้นส่วนบางอย่างเป็นแม่เหล็ก

เจ้าหน้าที่จะวาง อุปกรณ์ ไว้บริเวณตำแหน่งที่ฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจแบบพิเศษ 

อุปกรณ์ จะส่งสัญญาณเข้าไปในร่างกายและอ่านข้อมูลจากเครื่องกระตุ้นหัวใจภายในร่างกาย





ตัวอย่างเอกสาร 

ที่ระบุ ว่า.... 

เครื่องกระตุ้นหัวใจและสายไฟที่สอดใส่ในร่างกาย เป็นชนิดพิเศษที่สามารถเข้าไปในห้องตรวจเอ็มอาร์ได้



5. เจ้าหน้าที่จะอ่านข้อมูลและบันทึก เพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้ค่ากระแสไฟฟ้าที่ตั้งไว้ อัตราการเต้นของหัวใจ เป็นต้น

สำหรับผู้ป่วยรายนี้ ก่อน เข้าห้องตรวจ





6. เมื่อตรวจสอบข้อมูลต่างๆ เรียบร้อย 

7. เจ้าหน้าที่จากบริษัทผู้จำหน่ายเครื่องฯ จะทำการปรับค่ากระแสไฟฟ้า เพื่อไม่ให้เกิดการรบกวนขณะทำการตรวจ 

8. ปรับค่าเรียบร้อย ก็ นำผู้ป่วยเข้าห้องตรวจได้ 


ตัวอย่างอย่างภาพเอ็มอาร์ บริเวณลูกศรชี้ คือ ตำแหน่ง pacemaker


หลังการตรวจ 

เมื่อผู้ป่วยออกจากห้องตรวจ 

พยาบาลประเมินผลป่วย 

เจ้าหน้าที่จากบริษัทผู้จำหน่ายเครื่องฯ นำ Medtronic มาประเมินข้อมูลผู้ป่วย และตั้งค่าต่างๆกลับคืนให้เดิมกับค่าเดิมของผู้ป่วยก่อนเข้าตรวจ 


หากผู้ป่วยมีความผิดปกติ ก็แจ้งแพทย์ เมื่อมาประเมินอาการและรักษาต่อไป 

หากผู้ป่วยปกติ ก็ กลับได้ 


รู้เท่ากัน เทคโนโลยีทันสมัย 

บริการปลอดภัย สุขใจร่วมกัน ครับ 


หมายเลขบันทึก: 633272เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2017 11:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 พฤษภาคม 2018 12:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท