การจัดการความรู้ สไตล์ ปูนซีเมนต์นครหลวง


การจัดการความรู้ สไตล์ ปูนซีเมนต์นครหลวง

"ปูนซีเมนต์นครหลวง ดำเนินกิจการมาประมาณ 30 ปี ได้สร้างบุลากรที่มีความรู้ความสามารถจำนวนมาก เป็นความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติจริง
เริ่มจากการก่อสร้างโรงงาน การผลิตและการบริหารจัดการของตนเอง จนสามารถคิดค้นเครื่องจักรใหม่ ๆ รวมถึงจัดฝึกอบรมแก่ชาวต่างชาติ
ได้จำนวนมาก กล่าวได้ว่าปัจจุบัน เป็นบริษัทผลิตปูนซีเมนต์ท่มีประสิทธิภาพที่ดีที่สุดแห่งหนี่งของโลก"
      คุณสมบูรณ์ ภู่วรวรรณ รองประธานอวุโสผลิตปูนซีเมนต์ บริษัทปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด(มหาชน) หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อ
"ปูนซีเมนต์ตรานกอินทรี" ได้กล่าวไว้ว่า ความมุ่งมั่นที่บริษัทยึดถือและปฎิบัติที่สำคัญข้อหนึ่งคือ การสร้างระบบจัดการความรู้และองค์กร
แห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) โดยบริษัทได้พัฒนาระบบจัดการความรู้ขึ้นเป็นระบบของตนและเรียกชื่อระบบนี้ว่า Technical Learning Organization หรือ เรียกสั้น ๆ ว่า "ILO"
     ปัจจุบันปูนซีเมนต์นครหลวงได้ร่วมทุนและบริหารงานร่วมกับบริษัท โฮซิมสวิตเซอร์แลน์ ซึ่งเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่อันดับ 2 ของโลกใน
ด้านการผลิตปูนซีเมนต์ และกิจการในเครือของบริษัท อีกประมาณร้อยกว่าแห่งทั่วโลก
     ระบบ TLO ที่ได้พัฒนาขึ้นเองได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับความรู้ที่มีอยู่ของบริษัท เป็นตัวเชื่อมและเป็นแหล่งรวมศักยภาพและความรู้ที่มีอยู่ในตัวบุคคลมาจากการทำงานและความรู้จากการแสวงหา มาแลกเปลี่ยนระหว่างกันและข้ามแผนกได้
      และเนื่องจากแต่ละคนมีความสามารถไม่เหมือนกัน บริษัท จึงได้ใช้วิธีการแยกการเรียนรู้เป็นกลุ่มๆ ตัวอย่างเช่น ในส่วนเทคนิคระดับสูง
บริษัทจะจัดทีมวิศวกรที่มีความสนใจร่วมกัน (4 คนต่อทีม) มาทำงานร่วมกับวิศวกรอาวุโส ที่มีประสบการณ์ทำงานสูง แต่มีโอกาสเรียนรู้
วิทยาการใหม่ๆ น้อย วิศวกรใหม่ที่จะได้รับการสอนงานจากรุ่นพี่สำหรับการเรียนรู้ระบบการทำงานของเครื่องจักร แล้วมาร่วมกันคิด ร่วมกันพัฒนาเครื่องจักรใหม่ และใช้วิธีการเรียนรู้ร่วมกันแบบเชิงรุก
      เช่น ในทุก ๆ วัน หน่วยงานซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักร จะจัดประชุมร่วมกันเพื่อวิเคาราะห์ หารือ และวางแผนสิ่งที่ต้องทำ
โดยสร้างเป็น Action Log และเก็บประวัติข้อมูลในแบบ Downtime Pareto เพื่อให้ทีมวิศวกรนำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์หาสาเหตุเพื่อการป้องกันและแก้ไขความรู้หรือทักษะที่ได้จากการทำงานแก้ปัญหาต่าง ๆ จะถูกรวบรวมจัดทำเป็น คู่มือ บทความ ด้วยระบบตามแนวคิดห้องสมุด (Concept library) เก็บไว้ในศูนย์ข้อมูล (Techniclal Learning Certer)
หรือ TLC ที่สร้างขึ้น เพื่อให้พนักงานทุกคนสามารถเข้ามาเรียนรู้และใช้ข้อมูลนั้นๆ ได้ ทั้งจากห้องทำงานและที่พัก โดยผ่านระบบ Software ที่พัฒนาขึ้นเอง นอกจากนี้TLO ยังเป็นเครื่องมือในการสร้างความรู้ให้แก่พนักงานของบริษัท ด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่คัดเลือกอย่างเหมาะสม อาทิ การบรรยายการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การสาธิต ณ จุดปฏิบัติงาน การดูงานนอกสถานที่ E-learning และมีระบบการประเมินผลเป็นตัวชี้วัดความรู้ความสามารถของพนักงานทีผ่านกระบวนการเรียนรู้
     และที่น่าภูมิใจที่สุดก็คือ บริษัท ยังได้นำความรู้และนวัตกรรมเครื่องจักรที่สร้างขึ้นเอง จัดฝึกอบรมและให้คำปรึกษาแก่บริษัทในกลุ่ม
ลูกค้าต่างชาติ จนกระทั่งได้รับความสนใจและได้รับการยอมรับเป็นอย่างสูงในต่างประเทส เช่น เป็นที่ปรึกษาการสร้างโรงงานบดปูนซีเมนต์ในไซง่อน ประเทศเวียดนาม  การสร้างโรงบดถ่านหินในประเทศศรีลังกาการสร้างเครื่องแยกเศาความละเอียดของวัตถุดิบและปูนซีเมนต์เพื่อขายให้กับประเทศ เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และเม็กซิโก
     โดยได้หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการพัฒนาและต่อยอดความรู้ผ่านระบบ TLO อย่างไม่หยุดยั้งของบริษัท ซึ่งเป็นหน่วยการผลิตที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นทั้งผู้ผลิตปูนซีเมนต์และผู้สร้างเทคโนโลยีเครื่องจักร จะเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่ทำให้คนไทยมุ่งมั่นเรียนรู้และพัฒนาระบบการจัดการความรู้แบบต่อยอดเชิงรุกภายใต้บรรยากาศของความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ที่ไม่ใช่การรับเทคโนโลยีจากต่างชาติเพียงอย่างเดียว แต่ในทางกลับกัน จะนำความรู้ที่ได้มาพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพที่มีอยู่ของตนให้เป็นเลิศอย่างยั่งยืน

ที่มา www.kmi.or.th

คำสำคัญ (Tags): #kmclass
หมายเลขบันทึก: 63283เขียนเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2006 08:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 07:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท