ใบอ่อนลำไยที่ออกมาก่อนจะเป็นช่อดอก จะปลิดทิ้ง..ดีไหมนะ


ถ้าเกษตรกร อยากจะปลิดใบทิ้งต้องเข้าใจ และดูให้ออกก่อนว่า ใบที่จะปลิดออกนั้น...เป็นใบอ่อนประเภทใด..กันแน่

ใบอ่อนที่ออกมาก่อนเป็นช่อดอกจะปลิด..ดีไหมนะ..? 


หลังราดสารฯ ใบที่ออกมาใหม่ก่อนจะเป็นดอกนั้น  

จะพัฒนาเป็นใบซึ่งมีความสำคัญมากกับช่อผล 

ซึ่งเราเรียกว่า "ใบพี่เลี้ยง" 

.

ใบพี่เลี้ยงนี้ จะทำหน้าที่ดูแลช่อผลลำไย ที่กำลังจะเกิดตามมา 

โดยใบแก่เดิม จะเคลื่อนย้ายสารอาหารที่ได้เคยเก็บสะสมไว้ 

ให้มาสะสมไว้ที่ใบพี่เลี้ยงของช่อผลลำไยแทน 

จากนั้น ใบแก่เดิมจะค่อยๆ เหลือง และปลิดใบตนเองให้หลุดร่วงไป  

.

เกษตรกรที่ไม่เข้าใจ ก็คิดว่าลำไยโทรม ขาดธาตุอาหาร 

ก็ใส่ปุ๋ยทางดินพ่นปุ๋ยทางใบ ให้น้ำ ...หวังจะช่วยลำไย 

แต่พอลำไย ได้ปุ๋ย ได้น้ำใบพี่เลี้ยงก็เลยพัฒนาเป็นใบจริง 

ตาดอกที่กำลังจะออกดอก เลยพัฒนาเปลี่ยนเป็นตาใบแทน 

.

ส่งผลให้..ช่อดอก กลายเป็นช่อใบ.ดังนั้น..หลังราดสารฯ แล้ว 

จึงต้องงดน้ำ งดปุ๋ย งดการบำรุงต้น...ทุกอย่าง 

เพื่อบังคับให้ลำไยออกดอก 

.

ในที่สุด..ยอดใหม่ก็เกิดขึ้น..จนได้ใบพี่เลี้ยงช่อดอก 

และช่อดอกจะแทงยอด....ตามมาอีกครั้ง 

.

ใบพี่เลี้ยงช่อดอกนี้..ซึ่งในอนาคตจะอยู่ใกล้ช่อผลลำไยมากกว่า 

จะสามารถสังเคราะห์แสงได้ดีกว่า 

สามารถเปลี่ยนธาตุอาหาร ให้เป็นสารอาหาร 

และส่งผ่านท่อน้ำเลี้ยงไปยังช่อผลได้รวดเร็วกว่า 

การใช้ใบแก่เดิมส่งผ่านท่อน้ำเลี้ยงเดิม ซึ่งอยู่ไกลกว่ามาก 

.

การสังเคราะห์แสงที่ดีขึ้น 

รวมถึงระยะทางที่จะไปสู่ผลลำไย ในระยะทางที่สั้นลง 

จะส่งผลให้ลูกลำไย มีขนาดใหญ่ขึ้น  

.

เกษตรกร จึงต้องพึงระวังในการปลิดใบพี่เลี้ยงทิ้ง..นะคะ 

...นี่คือธรรมชาติของลำไย อีกเรื่องหนึ่ง ที่เกษตรกรต้องเรียนรู้ ให้เข้าใจ..ค่ะ

.

แต่..ตรงกันข้าม... 

เมื่อลำไยออกตาดอก และพัฒนาจนมาเป็นช่อดอกแล้ว 

ดันกลับมีใบอ่อนแทรกออกมา..ซะนี่ 

อย่างนี้...แสดงว่า ลำไยได้รับธาตุไนโตรเจนสูงเกิน  

.

ธาตุไนโตรเจน มาจากไหนกัน...? 

                       1. ฝนที่ตกหนัก และถี่บ่อย     

                    2. ความไม่รู้ ไม่เข้าใจของเกษตรกร

.

เกษตรกร ไม่เข้าใจธรรมชาติของลำไย  

จึงนำปุ๋ยต่างๆ มาใส่ทั้งทางดิน และทางใบ 

หรือให้สารพัดฮอร์โมน สารพัดสาร 

โดยที่เกษตรกรเข้าใจ และเชื่อมั่นว่า...

จะสามารถช่วยบำรุงช่อดอกได้ 

.

กลับกลายเป็นการส่งเสริมเซลล์เนื้อเยื้อให้พัฒนาเป็นใบแทน 

ใบใหม่ที่ได้มานี้..เรียกว่า "ใบแทรก..ช่อดอก" 

.

ถ้าอย่างนี้..ต้องงดการให้น้ำให้ปุ๋ย..ทันที

และทำการ "ปลิดใบแทรกช่อดอก" ออก 

.

สรุป...

ถ้าเกษตรกร อยากจะปลิดยอดใบใดๆทิ้ง 

จะต้องเข้าใจ และดูให้ออกก่อนว่า  

ใบที่กำลังคิดจะปลิดออกนั้น...

เป็นใบอ่อนประเภทใด..กันแน่ 

.

หมายเหตุ : 

การใช้ยาปลิดใบ..หากใช้ความเข้มข้น 

หรือพ่นบ่อยครั้ง จนเกินปริมาณที่เหมาะสม        

นอกจากจะปลิดใบอ่อนได้แล้ว 

มันสามารถออกฤทธิ์ ลามไปปลิดใบแก่เดิม 

ให้หลุดร่วงกันไปได้ทั้งต้น..เช่นกัน..ค่ะ

.

.

ผู้สนใจสามารถติดตามเรื่องอื่นๆ ได้ใน

เกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับการปลูกลำไย 

โดยนู๋ยุ้ย แก้มตุ่ย (สาวน้อยใจดี เกษตรรำไพฯ) 

https://www.facebook.com/group...

หมายเลขบันทึก: 631716เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2017 23:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 ตุลาคม 2019 23:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท