อบรมโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อย สำหรับครูอนุบาลเทศบาลมหาสารคาม


<p>          สวัสดีครับ วันนี้ได้มีโอกาสร่วมการอบรมโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยสำหรับครูอนุบาลเทศบาลมหาสารคาม  การอบรมครั้งนี้จะเป็นการติดตามไปช่วยงานผู้ดำเนินการหลักโดย อาจารย์ ดร.ฤทธิไกร ไชยงาม และ ผศ.ดร.อุฤทธิ์ เจริญอินทร์  ที่โรงเรียนเทศบาลสามัคคีวิทยา จ.มหาสารคาม  มีผู้เข้าอบรมประมาณ 30 คน ครับ นอกจากนั้น การอบรมครั้งนี้มีเป้าหมายหลัก คือ การอบรมครูเพื่อให้สามารถแนะนำการทำโครงงานสำหรับนักเรียนอนุบาล ดังนั้น ระดับความยากง่ายจะอยู่ที่ระดับอนุบาลครับ </p>

<p>          สำหรับส่วนของกิจกรรมในตอนเช้าส่วนหลักจะเป็นการกระตุ้นการตั้งคำถามครับ โดยส่วนตัวการตั้งคำถามการทดลองเป็นส่วนที่ยากที่สุดของการทำโครงงานก็ว่าได้ซึ่งต้องผ่านการฝึกฝนเป็นอย่างมาก  สำหรับกิจกรรมการตั้งคำถามมีดังต่อไปนี้ </p>

  • ตั้งคำถามโดยการสำรวจ
  • ตั้งคำถามโดยการฟังนิทาน
  • ตั้งคำถามต่อยอดจากกิจกรรมการทดลอง
  • ตั้งคำถามต่อยอดกิจรรมการเรียนรู้ ตั้งคำถามจากสถานการณ์ในชีวิตประจำวัน

สำหรับกิจกรรมในตอนบ่าย ตอนแรกวางแผนกันว่าจะให้ครูที่เข้าร่วมลองทำโครงงานตามกระบวนการ แต่เวลาหมดก่อนครับ เลยได้เน้นเฉพาะการตั้งคำถามการทดลอง แต่ก็สนุกมากครับ

ฐานที่ 1 : ตั้งคำถามจากการสำรวจ

ฐานนี้จะให้ครูเดินสำรวจรอบอาคารอาเซียนแล้ว แบ่งกลุ่มกันประมาณ 5-6 คน แล้วนำนำเสนอปัญหาที่น่าสนใจและตัวเองได้พอ ขณะนั่งฟังสามารถจับคำถามได้ เช่น

          1. ทำไมดอกไม้มีหลากสี

          2. ทำไมใบไม้สีเขียว

          3. ทำไมต้นไม้บางต้นมีรากอากาศ เป็นต้น

คำถามเหล่านี้จะถูกเขียนลงกระดาษฟลิปชาร์ท แล้วให้คนเขียน อ.ต๋อย ถามกลับ (ทั้งห้อง) ว่ามีคำถามใดบ้างที่เรารู้แล้ว? เช่น คำถามที่ 2 ถ้าเรารู้แล้วให้ขีดทิ้ง

          2. ทำไมใบไม้สีเขียว

หรือบางคำถามที่ไม่น่าสนใจก็จะไม่เหมาะสมที่จะทำโครงงานครับ เช่น คำถามแรก ก็ให้ขีดทิ้งครับ

          1. ทำไมดอกไม้มีหลากสี            

ซึ่งเราอาจจะใช้คำถามที่ 3 เป็นคำถามการโครงงานก็ได้ครับ แต่นี้ยังไม่ได้พูดถึงตัวแปรต้น ตัวแปรตามหรือตัวแปรควบคุมเลยครับ

ฐานที่ 2 : ข้าม เพราะเกรงว่าเวลาจะไม่ทัน

ฐานที่ 5 ตั้งคำถามจากสถานการณ์ในชีวิตประจำวัน : กิจกรรมปาลูกดอก

เอาฐานที่ 5 มาทำก่อนครับ  กิจกรรมนี้สนุกมากครับเป็นการปาลูกดอกที่สามารถพบเห็นได้ในงานวัด  เหมือนเดิมครับจะให้ทำกิจกรรมก่อนแล้ว จึงมาดูว่าจะตั้งคำถามนั้นอย่างไร?

เริ่มแรกจะให้ครูกลุ่มต่างๆ ส่งตัวแทนมาคนหนึ่งมาปาลูกดอกแบบธรรมดาใสลูกโป่ง ผลที่ได้ก็มีคนปาถูกปาผิดบ้าง หลังจากนั้น เอาดินน้ำมันติดท้ายลูกดอกไว้แล้วให้ครูปาลูกดอกดังกล่าวใหม่อีกครั้ง หนนี้ไม่มีใครปาลูกโป่งแตกเลยครับ จากนั้นก็ให้กลับเข้ากลุ่มเพื่ออธิปรายแล้วตั้งคำถามต่อไป คำถามที่สามารถสังเกตได้ เช่น

          1. ทำไมจึงปาลูกดอกที่ติดดินน้ำมันไม่ถูก?

          2. ทำไมลูกดอกถึงเอียง?

          3. ลูกโป่งทำจากอะไร? เป็นต้น จากนั้นก็จะเข้าสู่กระบวนการเดิมครับ คือ รู้คำตอบหรือยัง? น่าสนใจไหม?

ฐานที่ 4 ตั้งคำถามต่อยอดกิจรรมการเรียนรู้ : ผลไม้ในกล่อง 

กิจกรรมนี้จะให้ลวงมือเข้าไปในกล่องที่เจาะรู้ไว้พอมือผ่านได้ และมีผลไม้อยู่ด้านในหลายชนิด หลายขนาด แล้วให้ผู้เข้าร่วมส่งตัวแทนมาลวงแล้วเดากันว่ามีผลไม้อะไรบ้างอยู่ในกล่อง? จากนั้นให้ตั้งคำถามจากกิจกรรมนี้ครับ

ฐานที่ 3 ตั้งคำถามต่อยอดจากกิจกรรมการทดลอง : คนละชั้น วันละบาท แบ่งขนาดความสุก

ฐานนี้มีกิจกรรมอยู่ 3 กิจกรรมครับ ดังนี้

          3.1 แบ่งขนาดความสุก กิจกรรมนี้ให้อุปกรณ์คือ ไข่ที่มีขนาดความสุกต่างกันโดยใช้เวลา ดังนี้ ดิบ (หมายเลข 3)  5 นาที (หมายเลข 1)  7 นาที (หมายเลข 2)  9 นาที (หมายเลข 4)  12 นาที (หมายเลข 4)  15 นาที (หมายเลข 6) ให้แต่ละกลุ่มแล้วให้ครูที่เข้าร่วมเรียงความสุกจากดิบไปสุกมาก

  ผู้เข้าร่วมมีวิธีการในการเรียงลำดับ เช่น การชั่งน้ำหนัก การทำให้ไข่ลอยน้ำ การสังเกตจากสีของเปลือกไข่ฯ  หลังจากนั้น จะเป็นการแนะแนวทางการกำหนดตัวแปรต้น ตัวแปรตามและตัวแปรควบคุมจากคำถามที่ได้มานี้ (กระบวนการเดิม คำถามน่าสนใจและไม่รู้คำตอบ)

          3.2 คนละชั้น ก่อนอื่นกิจกรรมนี้จะแสดงของเหลวชนิดต่างๆ แล้วให้ผู้เข้าร่วมเดาคำตอบก่อนว่าของเหลวชนิดใดจะอยู่ล่างหรือบน ได้แก่ น้ำหวาน hale's blue boy (สีแดง) น้ำยาล้างจาน น้ำมันพืชและแอลกอฮอร์ล้างแผล  ให้ผู้เข้าร่วมเดาพร้อมเหตุผล

แจกอุปกรณ์แล้วให้ทำการทดลอง เมื่อทำการทดลองเรียบร้อยปรากฏว่าให้ผลที่ต่างกัน เพราะ น้ำหวานสีแดงจะไปควบเอาแอลกอฮอร์ล้างแผลทำให้มองไม่ชัด มีอยู่ 3 กลุ่มที่มันใจว่ากลุ่มตัวเองทำถูกอภิปรายกันอย่างสนุกสนาน และมีบางกลุ่มที่สงสัยบางขั้นตอน ขอทำการทดลองให้เฉพาะของเหลวที่เป็นประเด็นกัน (กระบวนการวนซ้ำ)  อนึ่งครูทั้ง 6 กลุ่มไม่มีใครยอมใครจริงๆ เต็มที่มาก

          3.3 วันละบาท กิจกรรมนี้จะให้ผู้เข้าร่วมแต่ละกลุ่มหาวิธีการแยกเหรียญออกจากกัน ซึ่งก็ได้ผลเป็นอย่างดีครับ เท่านี้ก็กินเวลาถึง 16.30 น. แล้วครับ

ขอบคุณครับ

หมายเลขบันทึก: 631442เขียนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2017 22:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กรกฎาคม 2017 22:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท