ชีวิตที่พอเพียง : 2956. เถียงท่านพุทธทาสเรื่องอัตตา



หนังสือของหอจดหมายเหตุพุทธทาสฯ ชุดธรรมะใกล้มือ ช่วงปีนี้จัดพิมพ์คำบรรยายของท่านพุทธทาส ที่ไม่เคยจัดพิมพ์มาก่อน    ฉบับเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๐ เรื่อง มีชีวิตโดยไม่ต้องมีอายุ  ซึ่งบรรยายเมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๓๔ อันเป็นวันเกิดของท่าน ในช่วงท้ายๆ ของชีวิตที่ท่านไม่ค่อยแข็งแรงแล้ว    


สาระของการบรรยายคือให้ลดละอัตตาตัวตน


อ่านแล้วผมนึกถึงหนังสือ คิดอย่าง มิเชล ฟูโกต์ คิดอย่างวิพากษ์ ที่ผมเคยเล่าที่ , โดยเฉพาะในบันทึกเรื่องอัตตา ใน  


ท่านพุทธทาสบอกว่าให้ขจัดอัตตา    ฟูโกต์บอกให้เอาอัตตามาเรียนรู้      ผมเพิ่มว่า อัตตาไม่คงที่ เพราะคนเรามี Transformative Learning อยู่เสมอ    และในพัฒนาการเด็กบอกว่าต้องมีพัฒนาการไปพร้อมๆ กัน ๗ ด้าน ตาม Chickering’s Seven vectors of Identity Development ในความหมายว่ามนุษย์เราต้องพัฒนาตัวตน


เอาเข้าจริงอาจให้ความหมายคำว่า “อัตตา” ไม่ตรงกัน   


ท่านพุทธทาสเน้นที่ ความยึดมั่นในตัวตน    ที่จะต้องคลายออก ลดลง และทำให้หมดไป จึงจะเป็นคนที่มีความสุข   


ฟูโกต์ เน้นที่ การสร้างตัวเอง  การคิดค้นหาตัวเอง  และการค้นพบตัวเอง (น. ๒๐๐)   เพื่อไปสู่การเป็นนายของตัวเอง    ต้องมีอัตตา จึงจะพัฒนาเป็นนายของตัวเองได้    โดยการรู้จักวิพากษ์วิจารณ์  รู้จักเจริญสติ  (น. ๑๙๓)     ในช่วงหลังฟูโกต์เน้นการพัฒนาอัตตาผ่านปฏิบัติการ    ซึ่งผมตีความว่าเป็นการเรียนรู้ จากชีวิตจริง ปฏิบัติการจริง ตามด้วยการไตร่ตรองสะท้อนคิด    ซึ่งเป็นกลไกการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง และการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ ๒๑ นั่นเอง  


ในด้านพัฒนาการเด็ก เด็กต้องพัฒนาอัตลักษณ์  พัฒนาเป้าหมายชีวิต  ไปพร้อมๆ กันกับการพัฒนาคุณสมบัติด้านเห็นแก่ผู้อื่น เห็นแก่ส่วนรวม    เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑    


เอาเข้าจริงผมก็ไม่ได้เถียงท่านพุทธทาส    แต่เอามุมมองของปราชญ์ท่านอื่นๆ และแนวคิดอื่น   มาเปรียบเทียบ    ให้เห็นว่า เรื่องอัตตาตัวตนเป็นเรื่องซับซ้อน    มีหลายแง่หลายมุม    มองได้จากหลายมุม    และจำเป็นต้องมองหลายมุม  ทำความเข้าใจจากหลายมิติ    


วิจารณ์ พานิช                                                                                                                          

๑ มิ.ย. ๖๐

หมายเลขบันทึก: 630927เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2017 22:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 กรกฎาคม 2017 22:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท