​ขอบฟ้าใหม่



หนังสือ คิดอย่างมิเชล ฟูโกต์ คิดอย่างวิพากษ์ เขียนโดย อานันท์ กาญจนพันธุ์ อ่านแล้วประเทืองปัญญาสุดๆ มีตอนชวนฉุกคิดมากมาย


ฉุกคิดสำหรับบันทึกนี้อยู่ที่หน้า ๗๙ - ๘๐ ที่กล่าวถึง ประเด็นที่ฟูโกต์ถกเถียงกับแนวความคิดของนักปรัชญาชาวเยอรมัน ชื่อ กาดาเมอร์ (Hans-Georg Gadamer, 1900 – 2002) ผู้มีอายุถึง ๑๐๒ ปี ทีกล่าวว่า “ขอบฟ้าใหม่ๆ มักจะก่อตัวอย่างต่อเนื่อง เพื่อตรวจสอบอคติของผู้นั้นเอง ความเข้าใจต่างๆ ที่ตามมา จึงมักจะเกิดจาก fusion of horizons ต่างๆ ทั้งที่มาจากอดีตและปัจจุบัน”


ทำให้ผมโยงเข้าหา transformative learningที่คนเราอาประสบการณ์ที่ผ่านมา มา “เคี้ยวเอื้อง” ทางความคิด ที่เรียกว่า ไตร่ตรองสะท้อนคิด (reflect) แล้วเปลี่ยนมุมมองของตนเอง


คนที่กล้า และมีทักษะในการทำเช่นนี้ ชีวิตจะสนุกสนานมาก ไม่มีวันน่าเบื่อเลย


เพราะทุกวัน เป็นวันแห่งการ “ผุดบังเกิด” (emergence) ของขอบฟ้าใหม่


วิจารณ์ พานิช

๒๘ ก.พ. ๖๐


หมายเลขบันทึก: 626341เขียนเมื่อ 23 มีนาคม 2017 21:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มีนาคม 2017 22:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท