ปัจจัยผลักดันสำหรับการเป็นหัวหน้างานที่ดีในมุมของพนักงาน


เรามาลองทบทวน”บทบาท” ของตัวเอง ในฐานะหัวหน้างาน(ในดวงใจ) กันดูนะครับ

วันนี้ผมชวนมาดูผลการสำรวจของ Towers Watsonในการสำรวจพนักงานทั่วโลก

ในประเด็นมุมมองที่มีต่อหัวหน้างานกันครับ





จากข้อมูลเหล่านี้จะมีประโยชน์มากที่หัวหน้างานสักคนหนึ่งจะเป็นหัวหน้างานในดวงใจของลูกน้อง

ไม่เพียงเท่านั้นเเต่ส่งผลต่อผลลัพธ์ของงานที่มีประสิทธิภาพสูงด้วย

มาดูกันเลยครับ(ข้อคิดเห็นจะเรียงจากมากไปหาน้อยนะครับ)


ข้อที่ 1 “ทำในสิ่งที่พูด”


ก็หมายถึงว่า ลูกน้องจะจับจ้อง ติดตามหัวหน้างานเสมอๆ ดังนั้นต้นแบบที่ดีสำหรับลูกน้องก็คือหัวหน้างานนั่นเอง

หากว่าพูดเรื่องใด เเล้วหัวหน้างานสามารถทำได้ตามที่พูด ยิ่งเพิ่มความไว้เนื้อเชื่อใจให้ลูกน้องได้เป็นอย่างดี


ข้อที่ 2 “ช่วยขจัดอุปสรรคในการทำงาน”

หัวหน้างานมีหน้าที่ช่วยเอื้ออำนวยให้ทีมงานได้ทำงานอย่างเต็มที่ ทั้งการสนับสนุนเเละช่วยแก้ไขปัญหา อุปสรรคที่เกิดขึ้น

เมื่อบรรยากาศการทำงานที่มีความพร้อมจากการบริหารจัดการที่ดีของหัวหน้างาน การทำงานมุ่งผลลัพธ์ของทีมงานจะมีประสิทธิภาพที่สุดเลยครับ


ข้อที่ 3 “ประเมินผลอย่างเป็นธรรม สร้างความเเตกต่างระหว่างคนที่เก่งเเละไม่เก่งได้”

ข้อนี้เป็นข้อที่ท้าทายมาก การประเมินผลที่เป็นธรรมจะสร้างพลังการทำงานให้กับลูกน้องที่ตั้งใจทำงาน

เเละกระตุ้นคนที่ต้องพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ การประเมินผลที่ตรงไปตรงมา สามารถชี้ให้เห็น ช่องว่าง

ของความเก่งเเละไม่เก่งระหว่างคนทำงานได้อย่างเป็นศิลปะที่สุด นั่นคือ “สุดยอดหัวหน้างาน” ครับ


ข้อที่ 4 “ดูเเลพนักงานด้วยความเคารพ”

การเเสดงความเชื่อมั่นในศักยภาพ ศักดิ์ศรีของการเป็นมนุษย์ เป็นคุณสมบัติสำคัญในการทำงานร่วมกัน

หากหัวหน้างานดูเเลพนักงานด้วยความเคารพ เชื่อใจ สิ่งที่ได้กลับมาคือ หัวหน้างานจะได้ทั้งงานเเละใจลูกน้อง

ข้อที่ 5 “สื่อสารเป้าหมายชัดเจน” ข้อนี้สำคัญมาก เเละเราเชื่อมั่นว่า เป้าหมายที่ชัดเจน จะครีเอทวิธีการที่ดีตามมา

เมื่อไหร่ก็ตามที่เป้าหมายชัด ทีมงานมีพลัง เเละสร้างสรรค์ภายใต้การนำของ



หัวหน้างานที่มีคุณสมบัติข้อ 1 - 4 ที่กล่าวมาก่อนหน้านี้เเล้ว...รับรองว่า ผลงานปีนี้ทะลุเป้าเเน่นอน 

ได้ทั้งงาน...ได้ทั้งใจ ลูกน้อง

.

.

เรามาลองทบทวน”บทบาท” ของตัวเอง

ในฐานะหัวหน้างาน(ในดวงใจ) กันดูนะครับ

จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร



คำสำคัญ (Tags): #coach#mentor#supervisor#theultimateleader
หมายเลขบันทึก: 630741เขียนเมื่อ 5 กรกฎาคม 2017 21:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 กรกฎาคม 2017 21:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ทบทวนตามนั้นค่ะ

1-3

ข้อ4 ต้องพัฒนา


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท