ทางแห่งความฉิบหาย


ทางแห่งความฉิบหาย

ดร.ถวิล อรัญเวศ
รอง ผอ.สพป.นครราชสีมา เขต ๔

ในสมัยพุทธกาลกล่าวกันว่า มีคนหนึ่งคิดว่า พระพุทธเจ้า
ทรงแนะนำแต่สิ่งที่ดีเท่านั้น เช่น ละชั่ว ทำดี และทำจิตใจ
ให้ผ่องใส อยากจะรู้ว่า สิ่งทีไม่ดี มีอะไรบ้าง ซึ่งพุทธองค์ก็ตรัสว่า
สิ่งที่ไม่ดีคืออบายมุข

อบายมุข แปลว่า ทางแห่งความเสื่อม ทางแห่งความฉิบหาย
หมายถึง เหตุเครื่องให้ฉิบหาย ถ้าใครทำสิ่งเหล่านี้
ความฉิบหายก็จะตกอยู่กับเขา แต่ละอย่างล้วน
เป็นทางแห่งความฉิบหายมีประเภทต่างๆ คือ

๑. ดื่มน้ำเมา

๒. เที่ยวกลางคืน

๓. เที่ยวดูการเล่น

๔. เล่นการพนัน

๕. คบคนชั่วเป็นมิตร

๖. เกียจคร้านการทำงาน


ดื่มน้ำเมา

คือ การดื่มสุรา เมรัย และการเสพยาเสพติด
ให้โทษต่างๆ เพราะเป็นเหตุแห่งความเสื่อม
โภคทรัพย์ คือเป็นการเผาผลาญ
ตัวเองในทางทรัพย์ ย่อมได้รับความเสียหาย
หลายสถานเมื่อกล่าวโดยสรุปการดื่มของมึนเมา
เช่น เหล้า จะให้โทษ ๖ อย่าง คือ

๑.เสียทรัพย์ เพราะเหล้า หรือสุราทุกวันนี้
ราคาแพง โดยเฉพาะเหล้ามีระดับเหล้าที่เขา
โฆษณา ราคาจะแพง ขวดหนึ่งอาจจะใช้ซื้อ
อาหารรับประทานได้ทั้งครอบครัวหรือหลายวัน
ถ้าเรายังติดในรสชาติเหล้า ก็จะทำให้มีรายจ่ายเพิ่ม
ครอบครัวก็จะอดได้

๒. ก่อการทะเลาะวิวาท ดื่มเหล้าเมื่อเมา
ก็จะทำให้ขาดสติ เห็นช้างเท่าแมวทำอะไร
ไม่อายบางคนถึงกับเมาแล้วหมาเลียปาก
ก็มีเพราะครองสติไม่ได้

๓. เกิดโรคโรคที่เกิดจากการดื่มเหล้า
หรือของมึนเมา ก็มีหลายโรค เช่น โรคตับ
โรคทางระบบประสาท ความจำเสื่อมอย่างมาก
สติสัมปชัญญะสับสน โรคจิตหลอน ประสาทหลอน
โรคสมองพิการ การทำหน้าที่ของสมองผิดปกติส่งผลถึง

โรคตับแข็งจากสุรา โรคตับอ่อนอักเสบแบบเฉียบพลัน

๔. ต้องติเตียน เมาแล้วเอะอะโวยวาย

๕. ไม่รู้จักอายโดยเฉพาะคนเมา คลองสติไม่ได้
จะพูดไม่สุภาพ ถ้าเป็นผู้หญิงก็อาจจะปล่อยเนื้อปล่อยตัวได้

๖. ทอนกำลังปัญญาสติปัญญาเสื่อม
เพราะเหล้าจะทำลายระบบประสาท


เที่ยวกลางคืน

คือ เที่ยวไปในตรอก ในซอก ในซอยต่างๆ
ในเวลากลางคืน ด้วยความคะนองเยี่ยงชายหนุ่ม
ผู้ประมาทมัวเมาการเที่ยวไปในเวลากลางคืน
เป็นเหตุแห่งเสื่อมโภคทรัพย์และเที่ยว
กลางคืนมีโทษ ๖ อย่าง ดังนี้

๑. ชื่อว่าไม่รักษาตัว

๒. ชื่อว่าไม่รักษาลูกเมีย

๓. ชื่อว่าไม่รักษาทรัพย์สมบัติ

๔. เป็นที่ระแวงของคนทั้งหลาย

๕. มักถูกใส่ความ

๖. ได้ความลำบากมาก


เที่ยวดูการเล่น

คือการเที่ยวดูมหรสพ การรื่นเริงประเภทต่างๆ
ผับ บาร์ อาบอบนวดซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งความ
กำหนัดลุ่มหลงมัวเมาเพลิดเพลิน ดูแล้วก็ติดใจ
อยากไปดูอีก เป็นเหตุแห่งความเสื่อโภคทรัพย์
เสียเวลาทำงาน เสียเวลาพักผ่อนนอนหลับ
การเล่นมีโทษตามวัตถุที่ไปดู ๖ อย่าง ดังนี้

๑. รำที่ไหนไปที่นั่น

๒. ขับร้องที่ไหนไปที่นั่น

๓. ดีดสีตีเป่าที่ไหนไปที่นั่น

๔. เสภาที่ไหนไปที่นั่น

๕. เพลงที่ไหนไปที่นั่น

๖. เถิดเทิงที่ไหนไปที่นั่น


เล่นการพนัน

มีโทษ คือ การเล่นพนันมีได้มีเสีย เช่น เล่นไพ่
ไฮโล เล่นม้า เล่นมวย เล่นหวย เป็นต้น
เมื่อแพ้ย่อมเสียดายทรัพย์ เป็นต้น
เพราะเป็นเหตุความเสื่อมแห่งโภคทรัพย์
และเล่นการพนันมีโทษ ๖ อย่างดังนี้

๑. เมื่อชนะย่อมก่อเวร

๒. เมื่อแพ้ย่อมเสียดายทรัพย์ที่เสียไป

๓. ทรัพย์ย่อมฉิบหาย

๔. ไม่มีใครเชื่อถือถ้อยคำ

๕. เป็นที่หมิ่นประมาทของเพื่อน

๖. ไม่มีใครประสงค์จะแต่งงานด้วย


คบคนชั่วเป็นมิตร

ชื่อว่าเป็นอบายมุข เพราะเป็นเหตุแห่ง
ความเสื่อมโภคทรัพย์ ผู้ที่คบคนชั่วเป็นมิตร
มักจะถูกคนชั่วชักจูงใจไปในทางที่ไม่ดี
ไปในทางชั่ว เช่น ไม่เคยเป็นนักเลงการพนัน
ก็เป็นนักเลงการพนัน ไม่เคยเป็นนักเลงเหล้า
ก็กลายเป็นนักเลงเหล้า เป็นต้น
คบคนชั่วเป็นมิตร มีโทษ ๖ อย่าง ดังนี้

๑. นำให้เป็นนักเลงการพนัน

๒. นำให้เป็นนักเลงเจ้าชู้

๓. นำให้เป็นนักเลงเหล้า

๔. นำให้เป็นคนลวงเขาด้วยของปลอม

๕. นำให้เป็นคนลวงเขาซึ่งหน้า

๖. นำให้เป็นคนหัวไม้


เกียจคร้านการทำงาน

คือ ไม่ขยันทำการงานตามเวลาและหน้าที่
ปล่อยเวลาให้ล่วงเลย ปล่อยงานให้คั่งค้างอากูล
ทำไมให้เหมาะเจาะหรือทำเยาะแหยะหย่อน
ชอบนอนตามสบายในเวลากลางวัน
ไม่ขยันทำในเวลากลางคืน พระอาทิตย์ไม่
โผล่ทอแสงทแยงตาก็หาลุกขึ้นไม่

เป็นต้น เกียจคร้านทำการงาน มีโทษ ๖ อย่างดังนี้

๑. มักอ้างว่า หนาวนัก แล้วไม่ทำการงาน

๒. มักอ้างว่า ร้อนนัก แล้วไม่ทำการงาน

๓. มักอ้างว่า เวลาเย็นแล้ว แล้วไม่ทำการงาน

๔. มักอ้างว่า ยังเช้าอยู่ แล้วไม่ทำการงาน

๕. มักอ้างว่า หิวนัก แล้วไม่ทำการงาน

๖. มักอ้างว่า กระหายนัก แล้วไม่ทำการงาน


บทวิพากษ์

การจะทำให้คนในบ้านเมืองปลอดจากสิ่งเสพติดและอบายมุขได้
ต้องใช้กลไกทางสังคมเข้ามาจัดระเบียบ เพราะคนมีเงินก็คิดว่า
สิ่งเหล่านี้ไม่เสียหาย แต่หารู้ไม่ว่า จะเป็นผลกระทบหรือ
แบบอย่างไม่ดีต่อเยาวชนเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะการให้เด็ก
เสิร์ฟเหล้า เสิร์ฟของมึนเมา จะมีความเสี่ยง คืออาจทำให้
เขาคิดอยากเสพ และก็เสพติดในที่สุดกลไกทางสังคมที่
จะนำมาจัดระเบียบ ก็คือ ส่งเสริมคนที่ไม่เสพสิ่งเสพติดให้มี
ความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน พูดง่ายๆ คือการส่งเสริม
ให้คนทำความดีนั้นเองเพราะการทำความดีสำหรับมนุษย์เรา
มักจะใช้รางวัลเข้าล่อ หรือเป็นแรงเสริม ถ้าส่งเสริมให้คนเมา
หรือติดในอบายมุข เจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ก็จะไม่สามารถ
ทำให้คนในสังคมเลิกสิ่งเหล่านี้ได้ เพราะบางแห่ง มีการพูดตลกว่า
คนดื่มเหล้าไม่เป็นสูบบุหรี่ไม่เป็น โอกาสที่จะเจริญก้าวหน้า
ในหน้าที่การงาน หรือรุ่งยากดังนั้น กลไกในการปฏิรูปประเทศ
ด้านสังคม ก็น่าจะนำการไม่เสพสิ่งสิ่งเสพติดเป็นตัวชี้วัด
ของผลการปฏิบัติงานด้วย จะทำให้คนในสังคมได้ตระหนักว่า
สังคมเอาจริง และจะเลิกในที่สุด และถ้าผู้หวังความเจริญด้วย
โภคทรัพย์ พึงเว้นเหตุเครื่องฉิบหาย ๖ ประการนี้เสีย

แหล่งข้อมูล

http://www.xn--12c9b1aha5ai6e7a.com/2013/06/abaiya...


หมายเลขบันทึก: 629792เขียนเมื่อ 14 มิถุนายน 2017 23:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2017 00:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท