รายงานความก้าวหน้า..พัฒนาระบบ การเข้าถึงบริการทันตกรรม กลุ่มวัยทำงาน : ตอนที่2 กลยุทธ์ที่ใช้


ตอนที่2 กลยุทธ์ที่ใช้ เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการทันตกรรม

ตอนนี้ ออกจะยาวๆ งงหน่อย เพราะเล่าทีไร คนฟัง งงทุกที

...................................................................................................................................................................................

ตามแผนยุทธศาสตร์ของCUP

เป้าหมายของ ระบบสุขภาพช่องปากระดับอำเภอ

เพื่อให้ ประชาชนเข้าถึงบริการ และพึ่งพาตนเอง ด้านสุขภาพช่องปากได้อย่างยั่งยืน


จากข้อมูล สถานการณ์ที่ขาดแคลนหน่วยบริการและบุคคลากรตามเกณฑ์

อาจจะเป็นวิธีการที่ง่ายมาก ในบางพื้นที่ หรือยากมากในบางพื้นที่

ตามservice plan ของสาขาทันตกรรม ช่วง5 ปีนี้ เราควรมี ประมาณ 12 รพ.สต.ที่มี ยูนิตและทันตาภิบาลประจำ ( จากทั้งหมด 21 รพ.สต.)


กลยุทธ์1.ขยายบริการทันตกรรม ไปหน่วยปฐมภูมิ แห่งใหม่

รพ.สต.พรมสวรรค์ เกือบ30 กิโลเมตร จากตัวอำเภอ ทั้งไกล ทั้งเปลี่ยว

การส่งทันตบุคลากรไปอยู่ ประจำ มีเรื่องให้กังวลมาก

อยากฝาก ผู้เกี่ยวข้อง ถึงประเด็นนี้ , เรียนรู้จากประเด็น อนามัย เปิด 24 ชั่วโคุณหมออิ๋ว ทันตาภิบาลคนแรก ของ รพ.สต.แห่งนี้

เริ่มไป ทำงาน 1 ธันวาคม 2559

เน้นงานส่งเสริมป้องกัน รักษาเบื้องต้น และฟื้นฟู ด้านสุขภาพช่องปาก ตามกรอบ 7 หมวดกิจกรรม ใน รพ.สต. และระบบสนับสนุนจากแม่ข่าย



แผนสนับสนุนจากCUP รายเดือน เน้นแต่ละกลุ่มเป้าหมาย กิจกรรมต่างกันไปที่ทำต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2554



2.การสมัครเข้าเป็นโรงพยาบาลนำร่อง ใน นโยบาย ประกันสังคมทำฟัน ไม่ต้องสำรองจ่าย

เราเชื่อว่า ความสะดวก จะช่วยให้ การเข้าถึงบริการทันตกรรมวัยทำงาน เพิ่มมากขึ้น


3.การสร้างและเสริมพลัง กลุ่มอาสาสมัครทันตสาธารณสุข ( อสม.ท.)

จากทุนสำคัญของประเทศไทยอย่างหนึ่ง คือการมีอาสาสมัครสาธารณสุข ที่กระจายครอบคลุม ดูแลประชาชนใกล้ชิด 1 คน ต่อ 10ครอบครัว

ทันตบุคลากร ในพื้นที่เราขาดแคลนมากอยู่แล้ว การชวนทีม อสม.มารวมกลุ่มกัน เป็นทีมดูแลสุขภาพช่องปากประชาชน ด้วยกันเอง น่าจะเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยเพิ่มการเข้าถึงได้


ทีม อสม.เทศบาลโพนทอง เป็นทีมต้นแบบ ดำเนินการต่อเนื่องมา 3 ปี หวังว่าจะสามารถขยายบผลไปได้ทั่วถึงครบทุกพื้นที่

จุดเริ่มต้น จากการเข้ามา อบรม การดูแลสุขภาพช่องปากระดับอำเภอ กลับไปทำงาน แรงเชียร์ จากทีม รพ.โพนทอง รวมตัวกัน เข้ารับการอบรม ออกเยี่ยมบ้าน ติดตามผู้ป่วยรายสำคัญ กิจกรรมรณรงค์ ในชุุมชนทุกกลุ่มวัย รวมกลุ่มวัยทำงาน

ปีที่ 3 แห่งการทำงาน ของทีม

ปัจจุบัน ทีมเขียนโครงการเอง ของบประมาณจากกองทุนสุขภาพท้องถิ่นดำเนินการ เป็นปีที่2 โดยมีทีม ทันตบุคลากรจากโรงพยาบาลโพนทองเป็นพี่เลี้ยง และสำหรับ ปีต่อไป ได้รับอนุมัติในหลักการในการจะัได้งบประมาณมาดำเนินการต่อ


4.การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน อำเภอโพนทอง

โจทย์ กลุ่มนี้ คือ การเข้าถึงของกลุ่มวัยทำงาน

เป้าหมายของส่วนตัว ถ้าเป็นงานที่เหมาะ งานส่งเสริมป้องกันทันตาต้องเก่งและเป็นทัพหน้า , งานรักษา งานวิชาการ ทันตแพทย์จะช่วยเป็นหลัก และสนับสนุน

ทีมไปอบรม กลับมาปรึกษา เลือกงานไหนดี หลังจากลองคิด ลองวางแผน , ทีมตัดสินใจเลือก การพัฒนาระบบดูแลผู้ป่วยเบาหว่าน เพราะ เราทำมานาน มีทุนเดิม เป็นกลุ่มเฉพาะที่ถ้าจัดการไม่ได้ ทั้งหมดน่าจะเลือกกลุ่มเสี่ยงสูงที่มีปัญหาช่องปาก คือกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานก่อน ทีม ทันตาภิบาล มีประสบการณ์มาพอสมควร ในขณะที่เราอยากทำให้เป็นวิชาการ ที่เข้มข้น ปิดจุดอ่อน ที่เรายังทำไม่ได้





5.การพัฒนาทีมหมอครอบครัว ในการดูแลสุขภาพช่องปาก

จากความพยายาม ทั้ง 4 ข้อ บางเรื่องยังมีข้อจำกัด ,และยังลงไม่ถึง การกระตุ้นศักยภาพคนวัยทำงานรายบุคคล ที่มีอยู่เต็มเปี่ยมมาร่วมพัฒนา จึงอยากพัฒนารูปแบบ การทำงานเชิงลุึก ลงให้ถึงรายบุคคล ทุนทางสังคม โอกาสจากภายนอกมาพัฒนางาน ตามแนวคิดและความเชื่อของเรา



โปรดติดตาม ใน ตอนที่3: หมอครอบครัว เต็มที่ด้วยใจ เรียนรู้ด้วยกัน




หมายเลขบันทึก: 629192เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2017 20:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มิถุนายน 2017 22:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท