วปช. ร่วมเสวนา"พัทลุงในยุคปฎิรูปไปสู่ 4.0"


ทั้งการท่องเที่ยว การเกษตร ต้องทำให้เศรษกิจฐานราก เพิ่มรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีเพิ่มขึ้นคือทิศทาง พัทลุง4.0 ในมุมมองของ ผู้ร่วมเสวนา

เมื่อได้รับการประสานเชิญชวนจากประธานสภาองค์การบริหารจังหวัดพัทลุง คุณวงษ์รัตน์ เพชรตีบ ให้เข้าร่วมวงเสวนา

เรื่อง"พัทลุงในยุคปฏิรูปไปสู่ 4.0" องค์กรเจ้าภาพคือ มูลนิธิปิดทองหลังพระ ร่วมกับ สื่อภาคใต้ จึงรับปากตกลง ว่าว่างทันที

เพราะเคยร่วมงานกับปิดทองหลังพระเมื่อครั้ง ลงมาทำข้อมูลเรื่องการแก้ปัญหาน้ำท่วม ที่เสนอขุดลอกคลองป่าบอนจากต้นน้ำสู่

ปลายน้ำที่ บ้านบาวมวง หมู่3 ตำบลฝาละมี ของกรมชลประธาน เมื่อปี 2553 ซึ่งในครั้งนั้นทีมงานมาพักอาศัยที่บ้านผู้เขียนเป็น

สัปดาห์ และได้พาสำรวจคลองป่าบอน คลองเหมืองตะกั่ว เดินตั้งแต่ต้นถึงปลายน้ำ ทำรายเสนอความเห็นของชาวบ้านผลสรุป

โครงการที่กรมชลประธานเสนอขุดลอกต้องระงับ เพราะไม่สามารถแก้ปัญหาน้ำท่วมได้ ตามความเห็นของชาวบ้านได้จริง

วงเสวนา พัทลุงในยุคปฎิรูปไปสู่ 4.0 มี ผู้แทนชุมชนท้องถิ่นคือ นายนเรศ หอมหวล วปช.(วิทยาลัยป้องกันชุมชน)

นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพัทลุง คุณ วงษ์รัตน์ เพชรตีบ

ผู้แทน ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง คุณ โชคชัย

ดำเนินการเสวนาโดย คุณ สุปัน รักเชื้อ ประธานชมรมสื่อบ้านนอก

ณ.สวนไผ่ขวัญใจ ตลาดนัดวันเสาแบบวิถีชีวิตชุมชนคนพัทลุง การเสวนา นำพาพัทลุงไปสู่ 4.0 ต้องทำเศรษฐกิจฐานราก

ให้มั่นคง โดยความร่วมมือทำงานแบบไตรภาคี มีรัฐ ราษฎร์ ท้องถิ่น นักวิชาการ นักธุรกิจ ร่วมขับเคลื่อน 4.0 ที่เคลื่อนเศรษฐกิจ

ฐานราก ในประเด็นการท่องเที่ยว การเกษตร ภาคประชาชนรุกไปข้างหน้า ดักทางนโยบายรัฐ อย่างสวนไผ่ขวัญใจ เศรษฐกิจ

ฐานราก รายได้ประชากร ของประชาชนในบริเวณตลาดสวนใผ่ เพิ่มขึ้นเป็น ร้อยเปอร์เซ็น ในการรับฝากรถ และกิจกรรมค้าขาย

ทางด้านการท่องเที่ยว มีการท่องเที่ยวภาคชาวบ้าน เขา ป่านาเล ทางด้านการเกษตร การผลิตแปรรูปข้าวสังหยด เป็นผลิตภัณท์

หลายชนิด ทั้งการท่องเที่ยว การเกษตร ต้องทำให้เศรษกิจฐานราก เพิ่มรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีเพิ่มขึ้นคือทิศทาง พัทลุง4.0 ใน

มุมมองของ ผู้ร่วมเสวนา

งานนี้ผู้เขียน ได้ของที่ระลึกที่โดนใจ ชื่นชอบเป็นอย่างมาก นั้นคือ หนังสือ 2 เล่ม "บ้านนอก...พรุ่งนี้ที่อยากเห็น" รวมผลงาน

รางวัลสื่อเพื่อการพัฒนาชนบท และกลางใจราษฎร์ หกทศวรรตแห่งการทรงงาน พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ภูมิพลอดุลยเดช.....ขอบคุณผู้จัดการเสวนา ที่เปิดโอกาส ให้ประชาชน คน วปช ได้ร่วมวงแสดงความคิดเห็น




หมายเลขบันทึก: 628675เขียนเมื่อ 22 พฤษภาคม 2017 06:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2017 06:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สนใจที่ว่า ขุดลอก คลอง แก้ปัญหาไม่ได้ จริง...อย่าง ชาวบ้านว่า...มีคำถามว่า..เอ ชาวบ้านไปขุดลอก คลองด้วยตัวเองรึเปล่า...(หรือ ไม่มี เงิน ตราค่าจ้าง).. ข้าราชการเขียนรายงาน ว่าขุดลอก ไม่ได้ ชาวบ้านบอก...

"น้ำ ไหลลง ที่ต่ำ เสมอ" ถ้าคลองมันตันแลตื้นเขิน..มันก้อ ไหลเข้าบ้าน. ฉะนั้น แล..

-สวัสดีครับ

-ผมชอบบ้านนอกของผมครับ

-เป็นแบบที่ยายธีบอกเอาไว้ "น้ำไหลลงที่ต่ำเสมอ" ณ เพลานี้ บ้านไร่ของผมแม้จะอยู่สูงก็ยังต่ำครับท่านวอญ่า

-ไม่เคยเกิดเหตุการณ์แบบนี้เลย..หรือนี่คือสิ่งที่ธรรมชาติกำลังเตือน..ขอรับ


วงเสวนาต่างๆเนื้อหาสาระย่อมมีตามภาระกิจ แต่ส่วนใหญ่ใหญ่ไม่เคยนำเนื้อหาไปแปลงสู่การปฏิบัติ เรื่องนี้ยังไม่เห็นเกิดการแก้ไข ซึ่งอาจจะต้องทำหารวิจัยหาคำตอบในยุคไทยแลนด์ 4.0 แต่ที่แน่ๆคือเนื้อหาไม่ได้สื่อไปถึงประชาชนให้เกิดการตื่นรู้แม้ว่าเครื่องมือสื่สารจะทันสมัยสุดๆ

เรียนคุณยายธี

ประเด็นปัญหาที่ชาวบ้านบอกว่าขุดลอกคลองไม่ได้แก้ปัญหาและชาวบ้านไม่ต้องการคือ ในโครงการขุดลอก มีการสร้างฝายปิดปากคลองที่บางมวง

ซึ่งชาวบ้านบอกว่า สาเหตุของน้ำท่่วมที่บ้านบางมวงปากคลองเกิดจากสร้างถนนปิดทางเดินของน้ำ

ทางแก้ต้องเจาะถนนให้เป็นอุโมงค์ ให้น้ำไหล สะดวก ไม่ใช่การขุดลอก

เรียนคุณเพชร ตอนนี้น้ำลดหรือยัง ทางใต้ ต้นตุลา น้ำจะมาทุกปี

ต้องเตรียมตัวกัน ทางเครือเฝ้าระวังภัยพิบัติ ตั้งวงเสวนากันหลายเวที

เรียนอาจารย์ จำรัส การสื่อสารภาครัฐยังสื่อลงไม่ถึงชุมชน ทั้งๆที่มีเครื่องมือสื่อสารที่ทันสมัย

การสื่อสารภาคชุมชน สื่อสารได้ไว ใช้มือถือ

แต่ขาดความแม่นยำ

การสื่อสาร วปช คนจะจำ เพราะ คิดทำ จากพื้นที่ ใช้สื่อบุคคลให้คนเชื่อ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท