ลงพื้นที่เก็บข้อมมูลทุนทางสังคมของชุมชนด้านปราชญ์ชาวบ้านหรือผู้นำประกอบพิธีกรรมชาวไทยเชื้อสายจีนในชุมชน ตรอกโรงธูป (ครั้งที่ 9)


ลงพื้นที่เก็บข้อมมูลทุนทางสังคมของชุมชนด้านปราชญ์ชาวบ้านหรือผู้นำประกอบพิธีกรรมชาวไทยเชื้อสายจีนในชุมชน ตรอกโรงธูป

จากความเดิมตอนที่แล้วพวกเราได้เดินทางลงพื้นที่เพื่อที่จะเก็บข้อมูลด้านปราชญ์ชาวบ้านหรือผู้นำประกอบพิธีกรรมของชาวไทยเชื้อสายจีนในชุมชน ตรอกโรงธูป ซึ่งผลที่ได้คือผู้ให้ข้อมูลนั้นติดภารกิจจึงไม่สามารถให้ข้อมูลกับพวกเราได้และในครั้งนี้พวกเราจึงลงพื้นที่อีกครั้งเพื่อทำการเก็บข้อมูลในประเด็นเดิมเราจึงไปที่บ้านคุณใหญ่ อีกครั้งและวันนี้ปรากฏว่าท่านออกไปทำงานที่โรงงาน ดังนั้นพวกเราจึงสอบถามญาติคุณใหญ่ซึ่งอาศัยอยู่บ้านเดียวกับคุณใหญ่ ว่าพอจะมีผู้ใดสามารถให้ข้อมูลได้บ้างเขาจึงพาไปบ้านหลังหนึ่งในชุมชน ซึ่งมีอาม่าอายุราว 75 ปี ท่านอยู่ในชุมชนนี้มานานตั้งแต่ศาลเจ้ายังเป็นศาลเดิมเล็กๆท่านจึงเห็นทุกการเปลี่ยนแปลงของศาลเจ้าและชุมชน อาม่าท่านนี้มีชื่อว่า คุณมุ้ยเฮียง แซ่ตั้ง อาม่าพูดคุยได้อย่างสนุกสนานเป็นกันเองมากๆ เรื่องความจำนี่ยังจัดได้ว่าร้อยละ90 ก็ว่าได้ นอกจากอาม่าแล้วก็ยังมีเพื่อนบ้านที่แวะเวียนมาพูดคุยกับอาม่าจึงเป็นโอกาสที่ดีในการล้อมวงสนทนาของพวกเรา พวกเรามีความสุขมากในการลงพื้นที่ครั้งนี้



ภาพการสัมภาษณ์ในประเด็นปราชญ์หรืผู้นำในการประกอบพิธีกรมม(25-03-2560 : เวลา 13.00-14.0น.)

จากการสัมภาษณ์คุณ มุ้ยเฮียง แซ่ตั้ง และเพื่อนบ้านได้ให้ข้อมูลว่า ตั้งแต่ที่เขาเขามาอยู่ในชุมชนนี้ตั้งแต่ศาลเจ้ายังเป็นศาลเล็กๆและมาจนถึงปัจจุบัน ศาลเจ้าแห่งนี้มีผู้นำในการประกอบพิธีกรรมต่างๆมาแล้ว 2 ท่าน แต่ไม่ทราบชื่อที่แท้จริงเนื่องจากคนในชุมชนจะใช้ชื่อเรียนกผู้นำว่า “เหล่ากงกงหรือ แปะกง” จึงไม่ได้ให้ความสำคัญกับชื่อที่แท้จริง ผู้นำในการประกอบพิธีกรรมนั้นเชื่อกันว่าเป็นผู้ที่มีบุญบารมีที่ เทพเจ้าเป็นผู้เลือกให้มาทำหน้าที่สื่อสารระหว่างระหว่างเทพเจ้ากับมนุษย์หรือ มาเป็นร่างให้เทพเจ้าประทับทรงแล้วช่วยเหลือมนุษย์นั่นเอง โดยที่ผู้นำในการประกอบพิธีกรรมนั้นมีแสดงอิทธิฤทธิ์ต่างๆเพื่อแสดงถึงว่าเทพเจ้าได้เข้าประทับทรงแล้ว เช่น การใช้ของแหลมของมีคมทิ่มแทงร่างกาย เดินลุยไฟ นั่งบนหนามแหลมเป็นต้น และนอกจากนี้ยังทำหน้าที่เปรียบเสมือนหมอรักษาอาการป่วยให้ชาวบ้าน เช่นความเชื่อที่ว่าเด็กเมื่อเกิดมาแล้วป่วยบ่อยจึงทำพิธียกให้เป็นบุตรเทพเจ้า เพราะเชื่อว่าเทพเจ้าจะช่วยคุ้มครองและในบางกรณีมีคนในชุมชนเจ็บป่วยก็จะเชื่อว่าทำผิดต่อสิ่งที่เร้นลับจึงต้องมาหาแปะกงเพื่อทำพิธีต่างๆเพื่อแก้ไขหรือแม้แต่การเสี่ยงโชคลาภต่างๆเป็นต้น



ภาพผู้นำในการประกอบพิธีกรรมของชุมชนตรอกโรงธูป (25-03-2560 : เวลา 13.00-14.0น.)

(แหล่งที่มาภาพ : อัลบั้มภาพถ่ายการจัดงานฉลองศาลใหม่ของศาลเจ้า)

จากการสัมภาษณ์พบว่าภายหลังเมื่อสิ้นผู้นำทั้งสองท่านนี้ไปก็ยังไม่มีผู้นำคนใหม่ขึ้นมาสืบทอดการประกอบพิธีกรรมอีก ทั้งนี้ผู้ให้ข้อมูลเล่าว่าการที่ใครจะขึ้นมาเป็นผู้นำได้นั้นจะต้องเป็นการเลือกจากเทพเจ้า บุคคลคนนั้นจะต้องขึ้นมาทำหน้าที่ของตน แต่ ณ ปัจจุบันก็ยังไม่มีผู้นำทางการประกอบพิธีกรรมส่วนพิธีกรรมในการไหว้บูชาในงานประจำปีหรือเทศกาลต่างๆนั้น ทางคณะกรรมการศาลเจ้าจะเป็นผู้ดำเนินการซึ่งถือปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน

หมายเลขบันทึก: 628359เขียนเมื่อ 8 พฤษภาคม 2017 22:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤษภาคม 2017 16:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท