​ด้านมืดของวิชาการ



บทความในนิตยสาร นิวสวีก ฉบับวันที่ ๑๔ เมษาายน ๒๕๖๐ เรื่อง How Harvard Flunked Economicsกล่าวหา Harvard Business School ว่าเป็นตัวร้ายในการสร้างความละโมบในวงการธุรกิจ โดยเข้าเอ่ยถึงศาสตราจารย์ Michael C. Jensen ที่เป็นอาจารย์ HBS อยู่ ๑๕ ปี และเวลานี้เป็น Emeritus Professor ผมต้องอ่านบทความในนิวสวีกประกอบกับ เรื่องของ ศ. เจนเซ่น ในวิกิพีเดีย จึงเข้าใจว่าเขามีส่วนทำให้ความโลภกลายเป็นความดีอย่างไร เรื่องแบบนี้มันซับซ้อนเข้าใจยาก


เมื่อเข้าเว็บไซต์เรื่องดังกล่าวในนิวสวีก จะพบคลิปวีดิทัศน์ ๕ นาที จากภาพยนตร์สารคดีเรื่อง Inside Job ที่เมื่อ อ่านเรื่องในวิกิพีเดียร่วมกับดูหนังช่วง ๕ นาทีนั้น ก็จะพบว่ามีศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัยรับจ้างบริษัทเขียนบทความเชียร์ พฤติกรรมสีเทาของบริษัทเมื่อมองจากมุมจริยธรรมในธุรกิจ


บทความลามไปถึงเจ้าพ่อ Milton Friedman เจ้าของรางวัลโนเบล ที่บทความในนิวสวีกบอกว่า ฟรีดแมนตีพิมพ์บทความในปี ค.ศ. 1970 ว่า “ความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจคือการเพิ่มกำไร” (อ่านบทความ ที่นี่) ทานผู้นี้ตีพิมพ์หนังสือ The Corporation : The Pathological Pursuit of Profit and Power และมีคนเอามาโจมตีข้อความในหนังสือที่ว่า “การเป็นตัวแทนปลอมเป็นสิ่งที่ถูกต้องหากมันทำให้กำไรเพิ่มขึ้น”


ที่จริงสาเหตุที่เป็น root cause ของวิกฤติเศรษฐกิจปี 2008 – 2009 ในสหรัฐอเมริกา ที่เรียกว่า Subprime Financial Crisis ก็คือวิชาการแห่งความโลภนี่เอง


อ่านบทความนี้แล้ว ผมชื่นชมสังคมอเมริกันที่เป็นสังคมเปิด เปิดรับฟังซึ่งกันและกัน แม้จะเล่นกันแรงๆ สังคมที่มีสื่อที่ “เอาจริง” กล้าลงบทความที่ตรวจสอบแล้วว่ามีคุณภาพ มีเหตุผล มีหลักฐาน เอามาสื่อเพื่อเตือนสติสังคม


ในกรณีนี้ข้อเตือนสติคือ ทุนนิยมอเมริกันก้าวล้ำเส้นความพอดี ทำให้จริยธรรมเสื่อม คนที่เรานับถือว่าเป็นนักวิชาการผู้ยิ่งใหญ่ ก็ไม่ใช่ว่าจะเชื่อถือได้ในเชิงจริยธรรมด้านการไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน มหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งของโลกอย่างฮาร์วาร์ดก็แปดเปื้อน หรืออัปลกษณ์ เมื่อมองจากมุมของจริยธรรมทางธุรกิจ


ผมมองว่า โรคร้ายของวงวิชาการแบบนี้อาจลามมาถึงประเทศไทย เราน่าจะหยิบยกมาถกเถียง และหาทางป้องกันไว้เสียก่อน



วิจารณ์ พานิช

๑๖ เม.ย. ๖๐

ห้อง ๗๐๑ โรงแรม La Thanh นครฮานอย เวียดนาม


หมายเลขบันทึก: 628358เขียนเมื่อ 8 พฤษภาคม 2017 22:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤษภาคม 2017 22:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เห็นด้วยกับอาจารย์ครับ

"...ผมมองว่า โรคร้ายของวงวิชาการแบบนี้อาจลามมาถึงประเทศไทย เราน่าจะหยิบยกมาถกเถียง และหาทางป้องกันไว้เสียก่อน..." I think it's too late for prevention. "fit for profit" is already everywhere in Thailand. In fact I would call this "view point" - "fight for profit" and say that it is a root of our woeful corruption.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท