ปาริฉัตร
นางสาว ปาริฉัตร รัตนากาญจน์

บทสรุปและข้อเสนอแนะที่เกี่ยวกับ พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว


การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวในประเทศไทยที่มีนโยบายในการให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการลงทุนของคนต่างด้าว การสร้างความสมดุลระหว่างการคุ้มครองผู้ประกอบกิจการภายในและการสร้างบรรยากาศที่ดึงดูดนักลงทุนต่างด้าวจึงมีความสำคัญอย่างมาก

            ข้อเสนอแนะ

                    แม้กฎหมายการประกอบธุรกิจคนต่างด้าวจะกำหนดให้คนต่างด้าวที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนไม่ต้องขออนุญาตตามกฎหมายนี้ซึ่งจะเป็นผลดีที่ทำให้นักลงทุนได้รับความสะดวกรวดเร็วไม่ต้องดำเนินการขออนุญาตหลายหน่วยงานก็ตาม แต่การที่ให้นักลงทุนต่างด้าวที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนไม่ต้องตกอยู่ภายใต้กฎหมายการประกอบธุรกิจคนต่างด้าว  โดยเฉพาะการออกหนังสือรับรองโดยไม่มีการพิจารณาถึงผลดี  ผลเสีย หรือ  การที่คนต่างด้าวที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนให้ประกอบธุรกิจได้แม้เป็นธุรกิจที่ต้องห้ามได้   อาจส่งผลกระทบทั้งไทย  และนักลงทุนไทย   อีกทั้งยังเป็นช่องว่างที่ทำให้คนต่างด้าวที่ไม่สามารถขอประกอบธุรกิจบางประเภทได้ตามกฎหมายการประกอบธุรกิจคนต่างด้าว  ไปขอส่งเสริมการลงทุนก่อนได้นั้น   เห็นว่า    สมควรให้ภาครัฐมีหน่วยงานที่เข้ามาควบคุมดูแลคนต่างด้าวที่เข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทยทั้งคนต่างด้าวที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน  และคนต่างด้าวที่ไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนเพียงองค์กรเดียว   เพื่อจะให้มีแนวทางในการควบคุมดูแลไปในทิศทางเดียวกัน   โดยธุรกิจใดที่เห็นว่าจะส่งผลกระทบต่อประเทศไทย  หรือนักลงทุนไทย  ก็ไม่ควรที่จะให้สามารถประกอบธุรการลงกิจในประเทศไทยได้                                                       

                         นอกจากนี้ในการพิจารณาให้การส่งเสริมการลงทุน  ซึ่งปัจจุบันคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนมิได้มีการแยกพิจารณาให้การส่งเสริมการลงทุนระหว่างนักลงทุนต่างด้าวและนักลงทุนไทย   จึงเห็นควรให้มีการแยกพิจารณาดังกล่าว   โดยการให้การส่งเสริมการลงทุนแก่นักลงทุนต่างด้าวเฉพาะกิจการที่คนไทยยังส่งเสริมการลงทุนต่างด้าวที่เป็นการทำลายนักลงทุนไทยทางอ้อมนั่นเอง

                          อย่างไรก็ตาม  การแก้ไขคำนิยามดังกล่าว  ให้รวมถึงกรณีที่คนต่างด้าวมีอำนาจควบคุมด้วยนั้นอาจไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ของประเทศไทยในปัจจุบัน  เนื่องจากการที่ประเทศไทยมีพันธกรณีอยู่ตามข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศ  ซึ่งประเทศไทยต้องเปิดเสรีทางการค้าเป็นลำดับ   จากนโยบายของประเทศไทยในปัจจุบันที่เปิดโอกาสให้คนต่างด้าวเข้ามาลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น โดยการเปิดเสรีทางการค้ากับประเทศต่างๆ   จากความไม่ชัดเจนในการตีความกฎหมาย  และความไม่สะดวกในด้านการลงทุนอาจของไทยทำให้นักลงทุนต่างด้าวย้ายฐานการลงทุนไปยังประเทศที่เปิดเสรีทางการค้ามากกว่าประเทศไทย   ทั้งยังอาจเป็นการปิดกั้นเทคโนโลยีและเงินทุนจากต่างประเทศที่จะเข้ามาสู่ประเทศไทยอีกด้วย  ยิ่งไปกว่านั้น  ความเป็นบุคคลต่างด้าวมิได้เป็นตัวกำหนดผลประโยชน์ของประเทศไทย เนื่องจากประโยชน์สุดท้ายของการลงทุนของผู้ประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวอาจกลับมาสู่ภูมิลำเนาถาวร  หรือสถานประกอบการถาวรซึ่งอาจเป็นประเทศไทย หรือต่างประเทศก็ได้   การนำผลประโยชน์สุดท้ายที่ประเทศไทยจะได้รับมาเป็นหลักในการพิจารณากำหนดนโยบายและมาตรการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวกับการจำกัดสิทธิใดๆของคนต่างด้าวและปรับปรุงประสิทธิภาพในการตรวจจับและเอาผิดต่อผู้ที่ให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการต่างด้าวโดยการถือหุ้นแทนอย่างจริงจัง   การป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดจากการที่ผู้ประกอบต่างด้าวเลิกกิจการและกลับสู่ประเทศตน   โดยการออกมาตรการโดยการให้ผู้ประกอบกิจการวางหลักประกันไว้ในกรณีดังกล่าว การปรับปรุงประสิทธิภาพในการกำกับดูแล  ควบคุมการนำเงินออกจากต่างประเทศ  โดยเฉพาะความโปร่งใส  ความรอบรู้  ความเท่าทันทางเศรษฐกิจของระบบการบริหารจัดการตลาดเงินของหน่วยงานที่รับผิดชอบของไทย

การปรับปรุงบทบาทของภาครัฐในการบริหารจัดการตลาดเสรีให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม  ได้แก่

1.   การไม่เข้าแทรกแซงกลไกตลาดโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร

2.  การส่งเสริมการพัฒนาตลาด  พัฒนาเทคโนโลยีในการค้าสินค้า

3. การคุ้มครองเสรีภาพของผู้ประกอบการในตลาด  และกำกับดูแลผู้ประกอบการให้มีความรับผิดชอบต่อสังคม  โดยเฉพาะกระทรวงพาณิชย์ที่มีหน้าที่กำกับดูแลพฤติกรรมที่ไม่เป็นธรรมอันจะนำมาสู่การแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม   จึงควรมีความเป็นกลาง  และไม่มีความโน้มเอียงไปในทางการเมือง

4.  ภาครัฐควรเพิ่มมาตรการช่วยเหลือ  สนับสนุนผู้ประกอบการให้มีประสิทธิภาพและความต่อเนื่อง   โดยมีการติดมาตามผล  ซึ่งอาจให้หน่วยงานเอกชนเข้าไปดำเนินการ

                       ข้อควรพิจารณาจึงเกี่ยวข้องกับแนวทางการควบคุมคนต่างด้าวที่เข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทยให้มีทิศทางไปในทางเดียวกัน  ภายใต้องค์กรเพียงองค์กรเดียว โดยธุรกิจใดที่เห็นว่าจะเป็นการส่งผลกระทบต่อประเทศไทยหรือนักลงทุนไทยอย่างมากก็ไม่ควรที่จะสามารถมาประกอบธุรกิจในประเทศไทยได้

                       นอกจากนี้ในการพิจารณาให้การส่งเสริมการลงทุนซึ่งปัจจุบันคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนมิได้มีการแยะพิจารณาการส่งเสริมการลงทุนระหว่างนักลงทุนต่างด้าวและนักลงทุนไทย  จึงเห็นควรให้มีการแยกพิจารณาดังกล่าว โดยให้การส่งเสริมแก่นักลงทุนต่างด้าวเฉพาะกิจการที่คนไทยยังไม่สามารถแข่งขันได้ หรือในกิจการที่มีความสำคัญต่อประเทศเท่านั้น มิฉะนั้นแล้ว  การส่งเสริมการลงทุนแก่นักลงทุนต่างด้าวจะเป็นการทำลายนักลงทุนไทยทางอ้อมนั้นเอง

                        นอกจากนี้การกำหนดนิยามของคำว่า คนต่างด้าวให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้นโดยให้รวมทั้ง  บริษัทที่อำนาจจัดการข้างมากอยู่ที่คนต่างด้าวด้วย โดยกำหนดให้บริษัทต่างด้าวที่มีกรรมการเกินกว่ากึ่งหนึ่ง หรือกรรมการผู้มีอำนาจลงนามเป็นคนต่างด้าวทั้งหมดเป็นบุคคลต่างด้าวตามกฎหมายการประกอบธุรกิจคนต่างด้าวด้วย เพื่อป้องกันการหลีกเลี่ยงกำหมายการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว  ซึ่งอาจใช้วิธีให้บุคคลสัญชาติไทยถือหุ้นแทน ( Nominee )  หรือ  โดยวิธีการที่บริษัทต่างด้าวเข้ามาร่วมทุนกับบริษัทสัญชาติไทย หรือเข้ามาซื้อหุ้นในอัตราส่วนที่น้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดห้ามแต่เป็นผู้มีอำนาจจัดการในบริษัท หรือแสดงออกว่าเป็นธุรกิจของต่างด้าว ดังเช่นในปัจจุบัน

                    ในกรณีปัญหาที่เกิดจากการตั้งกิจการขนาดใหญ่ของผู้ประกอบกิจการของคนต่างด้าวนั้นผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่ได้มาจากมาตรการตามกฎหมายที่เกี่ยวกับการประกอยธุรกิจของคนต่างด้าวโดยตรง  หรือกฎหมายที่เกี่ยวกับการส่งเสริมการลงทุนแต่อย่างใด  แต่เป็นปัญหาที่เกิดจากทางปฏิบัติตามมาตรการของผู้ที่วางนโยบายที่อาจเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้ดำเนินนโยบาย  หรือการเห็นแก่ผลประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้องที่อาจได้รับจากการที่ยอมให้ผู้ประกอบการค้าปลีกเข้ามาดำเนินกิจการในย่านที่ตนได้รับผลประโยชน์โดยตรง  หรือได้รับสินบนจากการที่ผู้ประกอบการต่างด้าวเข้ามาโดยได้รับผลประโยชน์แลกกับการที่ผู้ประกอบการรายย่อยภายในประเทศต้องตกเป็นผู้ได้รับผลกระทบที่เกิดขึ้น

                            เมื่อไม่อาจดำเนินการใดๆ  ต่อผู้ประกอบการต่างด้าวได้  รวมทั้งผู้ดำเนินนโยบายที่ผิดพลาดอีก  แนวทางที่อาจร่วมมือกันได้จากการกระทำของประชาชนภายในประเทศคือ การที่ร่วมมือกันส่งเสริมผู้ประกอบการรายย่อยภายในประเทศดังที่ประเทศเกาหลีใต้ดำเนินการมาจนทำให้ผู้ประกอบการรายย่อยที่มาจากต่างด้าวต้องปิดกิจการลงในที่สุด

เอกสารประกอบ

พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว  พ.ศ. 2542

พ.ร.บ.  ส่งเสริมการลงทุน  พ.ศ.  2520

พ.ร.บ.  การแข่งขันทางการค้า  พ.ศ.  2542

สกล  หาญสุทธิวารินทร์  ,  (  คำอธิบายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจคนต่างด้าว  พ.ศ.  2542  ,  กรุงเทพมหานคร  ,  สำนักพิมพ์  ซี  พี  สแตนดาร์ด  ,  2548  )

อโนชา  รอดชมพู  ,    มาตรการทางกฎหมายของประเทศผู้รับการลงทุนในการควบคุมบรรษัทข้ามชาติ  ,  (  วิทยานิพนธ์นิติศาสตร์มหาบัณฑิต  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ,  2529  )

ชลิดา  โตสิตระกูล  ,  สิทธิในการทำงานของคนต่างด้าวในประเทศไทย  ,  ศึกษากระบวนการในการเข้าสู่สิทธิในการทำงานในประเทศไทย  , (  วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต  คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ , 2548  )

โครงการศึกษาเพื่อจัดทำมาตรการกฎหมายใหม่สำหรับการส่งเสริมการลงทุน  ,  ศูนย์บริการวิชาการเศรษฐศาสตร์  คณะเศรษฐศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ,  31  สิงหาคม  2547

สุจินต์  ชัยมังคลานนท์  ,  การประกอบธุรกิจคนต่างด้าว  ,  วารสารกฎหมายนิติศาสตร์  ,  ปีที่  2  ฉบับที่  1  (  มกราคม  2519  ) 

ณัฐนันท์  พลั่วจินดา  ,  มาตรการทางกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจค้าปลีกของคนต่างด้าวในประเทศไทย  ,  (  วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต  คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ,       2548  )

วันทิพย์  จันทกิจ  ,  การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวภายใต้พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน  ,  (  สารนิพนธ์มหาบัณฑิต  คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ,  2549  )

คนึง  ฦาชัย  ,  กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลเกี่ยวกับกฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศ  ,  (  กรุงเทพมหานคร  .  สำนักพิมพ์วิญญูชน  )

บุษบา  เจริญพงศ์  ,  การเปิดเสรีทางการประกอบธุรกิจค้าปลีกของคนต่างด้าวในประเทศไทย  .  วิเคราะห์ในกรอบของกฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ  ,  (  วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต  คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์   2544   )

ดร.ชุมพร ปัจจุสานนท์และคณะ  ,  กฎหมายเปรียบเทียบการควบคุมการทำงานของคนต่างด้าวในประเทศไทยกับนานาประเทศ  และแนวทางการพัฒนาในอนาคต  , (  วารสารกฎหมายจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ปีที่  21 ,  2545  )

              

 
หมายเลขบันทึก: 62745เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2006 11:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • เข้ามาเก็บเกี่ยวความรู้ค่ะ
  • การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวในประเทศไทยนับวันจะเป็นเรื่องที่สำคัญมากขึ้น
  • ถ้ากฎหมายไม่ครอบคลุมและเป็นธรรมดีพอ คนไทยด้วยกันเองอาจลำบากนะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท