​ความเสมอภาคทางการศึกษา



หนังสือ ปฏิรูปการศึกษาให้สำเร็จ บทเรียนแนวใหม่จากฟินแลนด์` หน้า ๑๕๐ - ๑๖๒ กล่าวถึงความเสมอภาคทางการศึกษาในหลากหลายแง่มุม ผมขอเชิญชวนให้ครู ผู้บริหารการศึกษา และผู้กำหนดนโยบายการศึกษา อ่านข้อความนี้


ผมมีความเห็นว่า คำว่า “ความเสมอภาคทางการศึกษา” มีความหมายได้หลายนัย โดยส่วนใหญ่เน้นความเสมอภาคระหว่างเด็กจากครอบครัวที่มีเศรษฐฐานะแตกต่างกัน ได้แก่



  • โอกาสเข้าถึง (access) ที่เท่าเทียมกัน
  • โอกาสเรียนจบ ที่เท่าเทียมกัน
  • โอกาสได้งานทำ ที่เท่าเทียมกัน
  • โอกาสมีรายได้ ใกล้เคียงกัน

แต่ความเท่าเทียมตามในหนังสือเล่มนี้ หมายถึงความแตกต่างของผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา ระหว่างเด็กเก่งกับเด็กไม่เก่ง แตกต่างกันน้อย โดยที่ฟินแลนด์เป็นที่หนึ่งของโลกตลอดมาเมื่อวัดด้วยคะแนน PISA ดังแสดงในบรรทัดสุดท้ายของหน้า ๑๕๒ ไปจนจบย่อหน้าแรกของหน้า ๑๕๓ สะท้อนผลของระบบการศึกษาของฟินแลนด์ ที่มีการพัฒนาต่อเนื่องมาตั้งแต่ ค.ศ. 1970 ตามที่เล่าในหนังสือเล่มนี้


หากจะสร้างระบบการศึกษาไทย ให้มีความเสมอภาคเพิ่มขึ้น ก็ต้องอ่านและตีความหนังสือเล่มนี้ทั้งเล่ม แล้วเอามาออกแบบระบบการศึกษาไทยเสียใหม่ โดยน่าจะเอาระบบของโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนามาเปรียบเทียบด้วย


ในตอนล่างของหน้า ๑๕๙ ระบุข้อความดังนี้ “การใช้ข้อสอบมาตรฐานที่เปรียบเทียบนักเรียนกับค่าเฉลี่ยทางสถิติ การแข่งขันที่ทิ้งนักเรียนที่เรียนอ่อนไว้ข้างหลัง และการตอบแทนครูโดยอิงจากผลงาน ล้วนแต่บ่อนทำลายความพยายามของโรงเรียนที่จะส่งเสริมความเสมอภาค” ทั้งสามประเด็นนี้ระบบการศึกษาไทยปฏิบัติอย่างเข้มข้น



วิจารณ์ พานิช

๕ มี.ค. ๖๐


หมายเลขบันทึก: 627172เขียนเมื่อ 6 เมษายน 2017 23:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 เมษายน 2017 23:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

โอ้โห ประเทศเราทำทุกอย่างตรงข้ามกับเขาเลยนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท