แสดงความคิดเห็นในหนังสือที่ชื่อว่า “จักรวาลสื่อใหม่”


แสดงความคิดเห็นในหนังสือที่ชื่อว่า “จักรวาลสื่อใหม่”


ผมได้มีโอกาสไปงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 45 ประจำปี 2560 ที่ศูนย์ประชุมฯ สิริกิต์ เพื่อที่จะไปฟังการเสวนาถึงโครงการ “สื่อเป็นโรงเรียนของสังคม” และผมสนใจในหนังสือเล่มหนึ่งมีชื่อว่า จักรวาลสื่อใหม่ ผมอยากแสดงความคิดเห็นในหนังสือเล่มนี้ จะแสดงความคิดเห็นนั้น เราต้องมารู้ความหมายของ ”จักรวาลสื่อใหม่” กันก่อน หมายความว่า เป็นรูปแบบการติดต่อสื่อสารทั้งของบุคคลและสื่อที่มีการเปลี่ยนแปลง โดยใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ มีจุดเด่นในการแพร่กระจายข่าวสารได้อย่างรวดเร็วจากผู้ส่งสารหนึ่งคน อาจขยายไปถึงผู้รับสารทั่วโลก

การใช้สื่อใหม่ มีมาตั้งแต่ยุควิทยุ โทรทัศน์ จนมาถึงสื่อสังคมออนไลน์ในปัจจุบัน ในการเสริมหนุนสื่อพื้นบ้าน สื่อศิลปวัฒนธรรม ก็มีเส้นทางมายาวนาน สื่อโทรทัศน์ เป็นสื่อที่มีอิทธิพลมากกับสังคมในปัจจุบัน เพราะไม่ว่าบ้านไหนก็มีโทรทัศน์ ซึ่งเป็นสื่อที่มีความน่าสนใจสูงเพราะมีทั้งภาพ เคลื่อนไหว และเสียง สามารถเข้าถึงได้ทุกครัวเรือน แต่มีข้อด้อยคือ บางรายการถ้าไม่ตั้งใจดูก็จะไม่สามารถดูซ้ำได้อีก แต่ปัจจุบันสามารถดูรายการย้อนหลังได้อินเตอร์เน็ตและจากช่องรายการที่ให้บริการ Re-Run จึงนับว่าสื่อโทรทัศน์มีอิทธิพลมาก และเข้าถึงผู้ชมหรือประชาชนได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง

จนมาถึงสังคมไร้ราก สังคมก้มหน้า สังคมฐานอารมณ์ ซึ่ง 3 สังคมนี้มีความหมายที่แตกต่างกัน สังคมแรกคือ สังคมไร้ราก หมายความว่า เป็นสังคมที่ยึดถือการเอาตัวรอดตัวเองเป็นหลัก เป็นสำคัญสูงสุด มุ่งแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนเป็นหลัก เห็นคุณค่าทางวัตถุมากกว่าจิตใจ สังคมก้มหน้า หมายความว่า คนกลุ่มหนึ่งที่อยู่ในสังคม หรือคนทำกิจกรรมกลุ่มร่วมกัน โดยคนกลุ่มนี้จะพกอุปกรณ์ที่เรียกว่า “สมาร์ทโฟน” ที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตตลอดเวลา บุคคลกลุ่มนี้จะคุยกันเล็กน้อย จะเน้นไปทางคุยในแชทมากกว่า โดยที่ไม่สนใจคนรอบข้าง ต่างคนต่างเข้าสู่โลกของตัวเอง ผ่านสื่อออนไลน์ สังคมฐานความรู้ หมายความว่า สังคมที่เข้าถึงและใช้ความรู้เป็นพลังในการกำหนดสภาพสังคม สามารถเข้าไปกำกับควบคุม และดำรงตนอยู่ในสังคมความรู้อย่างสันติสุข

เครือข่ายสื่อสาร หรือเรียกอีกอย่างว่า internet มีสื่อออนไลน์หลากหลาย มีทั้ง ’บล็อก’ (blog) ที่เชื่อมโยงผู้ใช้ ทั้งผู้น้ำเข้าข้อความและผู้อ่าน เข้ามาในสังคมเดียวกัน มี ’ทวิตเตอร์ (twitter)’ ‘เฟสบุ๊ก(facebook)’ ‘ไฮไฟว์ (hi5)’ ‘อินตราแกรม (instrgram)’ และ‘ไลน์ (line)’ ซึ่งดึงดูดกลุ่มผู้สูงวัยเข้ามาอยู่ในสังคมออนไลน์ด้วยการใช้งานแบบกันเอง เป็นต้น

เมื่อโลกของสื่อสารยุคใหม่เปลี่ยนแปลงไปมาก ทุกคนสามารถพลิกตนเองให้เป็นผู้สร้างข่าว สร้างเรื่องราวและสื่อสารไปถึงคนอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย อินเตอร์เน็ตหรือโลกออนไลน์ ไม่เพียงเปลี่ยนให้ทุกคนสามารถเป็นเจ้าของการสื่อสารได้ด้วยตนเองเท่านั้น แต่ข้อมูลยังถูกบันทึกและแบ่งปันในโลกออนไลน์เยอะแยะมากมายจนถึงขึ้นมหาศาล เรื่องราวหลากหลาย แปลกตา แปลกใหม่ เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งที่ดึงดูดใจให้คนใหม่ๆ ผู้เข้ามาใช้อินเตอร์เน็ตพึงพอใจและติดใจ จนทำให้คนจำนวนหนึ่งเมื่อจะหาความรู้ที่ตนเองสนใจก็จะเลือกเข้ามาที่เว็บไซต์ เหมือนเป็นโรงเรียนใหญ่แห่งใหม่ที่เร้าใจกว่าเดิม

เส้นทางการแสวงหาและพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพยังคงดำเนินต่อไปไม่หยุดยั้ง สำหรับสังคมโลกในออนไลน์ พยายามประยุกต์ใช้สื่อโซเชียลเพื่อเสริมพลังในการมีสิทธิ์มีเสียง สื่อโซเชียลช่วยเชื่อมโยงในคนภูมิภาคต่างๆ เข้าด้วยกัน ทำให้เกิดการโน้มน้าวใจในรูปของการรณรงคต์ การแชร์ข้อมูล ข่าวสารให้ขยายวงกว้างออกไปในเวลาพริบตาด้วยต้นทุนที่น้อยมาก แต่สามารถสร้างผลกระทบในสังคมในวงกว้าง หรือแม้แต่การใส่ความคิดสร้างสรรค์ การสื่อสารบนโซเชียลของปรากฏการณ์เหล่านี้เป็นหมุดหมายที่คนทั่วไปสามารถนำมาเป็นแบบอย่างและเรียนรู้ไปด้วยกันได้เป็นอย่างดี

หมายเลขบันทึก: 627129เขียนเมื่อ 6 เมษายน 2017 12:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 เมษายน 2017 12:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอทราบราคาค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท