​กำพืดเดิมของมนุษย์



การใช้ชีวิตของมนุษย์โลกล้วนเป็นไปตามกลไกของธรรมชาติ อาจจะกล่าวได้ว่าธรรมชาติได้สร้างมนุษย์ให้มาเป็นแบบที่เรารู้เราเห็นกันอยู่อย่างนี้ ถ้าผู้ใดเกิดมาแล้วอยู่ห่างไกลความเจริญเขาก็มีวิถีชีวิตเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่เขาอยู่อาศัยนั้นยิ่งถ้าไม่ได้รับการศึกษาหาความรู้ด้วยแล้วเขาก็ใช้ชีวิตไปตามความรู้สึกนึกคิดที่ไม่แตกต่างจากสัตว์ทั่วไปกล่าวคือเมื่อสังคมที่เขาอยู่ทำอย่างไรเขาก็มักเลียนแบบทำตามอย่างนั้นหรืออาจจะกล่าวได้ว่าเขาใช้ชีวิตไปตามสัญชาตญาณของมนุษย์นั้น

ถามว่าทำไมข้าพเจ้าจึงเขียนอย่างนี้เพราะเท่าที่สังเกตความเป็นไปตามธรรมชาติอย่างมีต้นมะม่วงออกผลมาเวลามันสุกแล้วเอามารับประทานจะมีรสอร่อยทั้งหอมทั้งหวานแต่ถ้านำบอระเพ็ดมาปลูกใกล้ต้นมะม่วงนั้นนานไปมะม่วงที่ว่าหวานกับขมได้ หรือปลูกเสาวรสแล้วรู้ว่าเวลารับประทานมันเปรี้ยวแต่เราใส่น้ำหวานรดต้นมันประจำเมื่อเวลาออกผลสุกแล้วเอามารับประทานปรากฏว่ามีรสหวานอมเปรี้ยวน้อย ๆ น่ารับประทานมาก สิ่งเหล่านี้เพราะสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของสรรพสิ่งไม่เว้นแม้แต่มนุษย์เราจึงมีคำกล่าวว่าคบคนพาล พาลพาไปหาผิด คบบัณฑิตบัณฑิตพาไปหาผลอย่างนั้น

กำพืดของมนุษย์เราในที่นี้คือสัญชาตญาณเดิมของคนเรานั้นมันติดตามตัวเราไปตลอดเวลาตั้งแต่เกิดจนถึงสิ้นสุดเมื่อเข้าโลงเลย อาจจะกล่าวว่ามันเป็นสันดารเดิมของคนเราก็ว่าได้ซึ่งทุกคนมีเหมือนกันหมดสุดแล้วแต่สัญชาตญาณตัวไหนที่มีอิทธิพลมากกว่ามันก็แสดงตัวตนออกมาให้เห็นได้ ซึ่งมีอยู่ 4 ข้อ ดังนี้

1.มนุษย์มีสัญชาตญาณอย่างก้อนดิน คือเป็นนิสัยของคนที่ชอบอยู่เฉย ๆ อยู่นิ่ง ๆ เหมือนก้อนดิน เมื่อเขาอยู่อย่างนี้แล้วเขามีความสุข เขาจึงเป็นคนที่ชอบอยู่เฉย ๆ

2.มนุษย์มีสัญชาตญาณอย่างพืช เป็นธรรมของพืชจะมีรากแสวงหาอาหารอยู่ตลอดวันตลอดคืน กล่าวง่าย ๆ ว่าเป็นคนโลภมากอยากกินอะไรสารพัดอย่าง คือการเป็นคนที่ชอบกินแล้วมีความสุข

3.มนุษย์มีสัญชาตญาณอย่างสัตว์ เป็นคนที่ใช้ชีวิตไปตามอารมณ์ความรู้สึกของตนกล่าวคือเมื่อหิวก็หากิน ง่วงก็นอน ไม่แตกต่างจากสัตว์ทั่วไปเพราะเขาทำอย่างนี้แล้วมีความสุข

4.มนุษย์มีสัญชาตญาณอย่างผู้มีปัญญา คือเป็นคนที่ชอบคิดชอบสงสัยแล้วค้นหาความรู้ความเข้าใจ เหมือนเจ้าชายสิตธัตถะเป็นนักคิดนักปรัชญาแสวงหาคำตอบจากการเรียนรู้สังเกตความเป็นไปทุกสิ่งในธรรมชาติจนได้รู้แบบหายสงสัยแล้วเป็นศาสดานำมาเผยแผ่บอกต่อกลายมาเป็นศาสนาพุทธมีบันทึกหลักธรรมเป็นหมวดหมู่เหมือนตู้ยาแห่งชีวิตใครเป็นโรคอะไรก็ไปค้นหายาชนิดนั้น ๆ มาใช้แก้ไขปัญหาในการดำเนินชีวิตได้อย่างนั้น

สำหรับสัญชาตญาณหรือกำพืดของมนุษย์ดังกล่าวนี้คงไม่ยากเท่าใดถ้าหากเราต้องใช้ปัญญาในการสังเกตเรียนรู้ว่าใน 4 ข้อดังกล่าวนั้นตนเองมีข้อใดที่โดดเด่นเป็นอัตลักษณ์แห่งตนบ้าง.

หมายเลขบันทึก: 626914เขียนเมื่อ 3 เมษายน 2017 21:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 เมษายน 2017 21:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท