แผนการจัดการเรียนรู้ STEM การทำปุ๋ยหมัก


แผนการจัดการเรียนรู้ การทำปุ๋ยหมัก

ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559
วิชา วิทยาศาสตร์พื้นฐาน เวลาเรียน 150 นาที (3 คาบ)

วิทยาศาสตร์ (S)

เทคโนโลยี (T)

วิศวกรรมศาสตร์ (E)

คณิตศาสตร์ (M)

- อภิปรายแนวทางในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

- มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น

- อธิบายเกี่ยวกับแนวคิดกระบวนการและวิธีการทำปุ๋ยหมักให้ผู้อื่นเข้าใจ

- อธิบายประโยชน์ของการทำปุ๋ยหมัก

- ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศ

- อภิปรายแนวทางในการทำงานและปรับปรุงการทำงานแต่ละขั้นตอน

- ใช้ทักษะการจัดการในการทำงานและทักษะการทำงานร่วมกัน

- เลือกใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวันอย่างสร้างสรรค์ต่อชีวิตสังคม และมีการจัดการสิ่งของเครื่องใช้ด้วยการแปรรูปแล้วนำกลับมาใช้ใหม่

-ใช้กระบวนการทางวิศวกรรมในการดำเนินการทำปุ๋ยหมัก

นำความรู้เรื่องการวัด น้ำหนัก ปริมาตรมาใช้ในการบอกสัดส่วน ส่วนประกอบของปุ๋ยหมัก

จุดประสงค์การเรียนรู้นักเรียนสามารถ

1. อธิบายเกี่ยวกับกระบวนการทำปุ๋ยหมักที่สนใจได้ (S)
2. สามารถสืบค้นข้อมูลการทำปุ๋ยหมักโดยใช้เทคโนโลยีได้ (T)
3. บอกประโยชน์ของการทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหารได้ (S)
4. สามารถทำปุ๋ยหมักจากกระบวนการขั้นตอนทางวิศวกรรมศาสตร์ได้ (E)
5. สามารถระบุสัดส่วน ของส่วนประกอบที่ทำปุ๋ยหมักได้ พร้อมทั้งคำนวณต้นทุน (M)
6. มุ่งมั่นในการทำงานและมีความร่วมมือในการทำงานกลุ่ม (เจตคติ)

กระบวนการจัดการเรียนรู้

1) กิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียน
1. ครูถามคำถามกระตุ้นความคิดนักเรียนเพื่อนำเข้าสู่กิจกรรม

- ที่บ้านของเราจะต้องมีการบริโภคอาหาร ถ้าบริโภคอาหารไม่หมด นักเรียนมีวิธีการจัดการกับเศษอาหารเหล่านั้นอย่างไร (นำไปเป็นอาหารสัตว์ , ทิ้งขยะ เป็นต้น)

- นักเรียนคิดว่าเราจะนำเศษอาหารเหล่านั้น มาทำให้เกิดประโยชน์ได้อย่างไร (ใส่ต้นไม้ , หมักเป็นปุ๋ย ...)

2. ครูให้นักเรียนยกตัวอย่างปุ๋ยที่นักเรียนรู้จัก มาคนละ 1 ชนิด

3. ครูใช้คำถามกระตุ้นความคิดว่า นักเรียนจะมีวิธีการในการทำปุ๋ยจากเศษอาหาร เพื่อใช้ประโยชน์ได้อย่างไร

2.) กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

4.แบ่งนักเรียนกลุ่มละ 4-5 คน แล้วให้แต่ละกลุ่มศึกษาความรู้จากแหล่งความรู้ต่างๆ เช่น หนังสือ อินเทอร์เน็ต ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการทำปุ๋ยจากเศษอาหาร

5. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับที่มาของแหล่งเศษอาหารที่สามารถนำมาใช้ในการทำปุ๋ย

ขั้นที่ 1 กำหนดปัญหาหรือความต้องการ

6. ครูกำหนดปัญหาให้แต่ละกลุ่ม :เราจะนำเศษอาหารมาทำให้เกิดประโยชน์ได้อย่างไร แล้วจึงให้นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร

ขั้นที่ 2 รวบรวมข้อมูล

7. นักเรียนแต่ละกลุ่มสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการทำปุ๋ยจากเศษอาหาร จากแหล่งข้อมูลต่าง เช่น หนังสือ สารสนเทศออนไลน์ ผู้รู้(เกษตรกร)

ขั้นที่ 3 เลือกวิธีการ

8. นักเรียนแต่ละกลุ่มพิจารณาเศษอาหารจากแหล่งต่าง ๆ และวิเคราะห์เลือกวิธีการทำปุ๋ยจากเศษอาหาร

ขั้นที่ 4 ออกแบบและปฏิบัติการ

9. นักเรียนระบุอุปกรณ์ ส่วนประกอบที่จะทำปุ๋ยจากเศษอาหาร และเขียนขั้นตอนกระบวนการปฏิบัติงาน

10. นักเรียนแต่ละกลุ่มลงมือทำตามขั้นตอนที่ได้วางแผนไว้

ขั้นที่ 5 ทดสอบ

11. นักเรียนแต่กลุ่มนำปุ๋ยที่ได้ไปใข้ประโยชน์ ครูประเมินการทำปุ๋ยของแต่ละกลุ่ม โดยใช้เกณฑ์ที่ตั้งไว้

ขั้นที่ 6 ปรับปรุงแก้ไข

12. นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันวิเคราะห์ ปรับปรุงปัญหาที่เกิดขึ้น

ขั้นที่ 7 นำเสนอผลลัพธ์

13. นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอปุ๋ยจากเศษอาหารของกลุ่มตนเอง โดยอธิบายกระบวนการทำปุ๋ย ตั้งแต่การหาแหล่งวัตถุดิบ ขั้นตอนการทำ ไปจนถึงการนำไปใข้จริง รวมทั้งแนวทางการพัฒนาต่อยอดเสริมสร้างรายได้

14. ครูให้นักเรียนกลุ่มอื่นๆ ประเมินผลงานของเพื่อนแต่ละกลุ่ม ว่ากลุ่มใดเหมาะที่จะนำไปพัฒนาเป็นปุ๋ยที่สามารถจัดจำหน่ายได้

3) ขั้นสรุป

15. ครูนำอภิปรายเพื่อให้ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับการบูรณาการความรู้ทั้ง 4 สาขาวิชา ขยายความรู้/แนวทางในการทำปุ๋ยจากแหล่งวัสดุอื่นๆ นักเหนือจากเศษอาหารได้


สมาชิก

1. น.ส.นิชาพรรณ คะลา 59B0101409 ป.บัณฑิตวิชาชีพครู รุ่นที่ 3 หมู่ที่ 4 เลขที่ 9

2. น.ส.รสภัทร ติดอิกุล 59B0101415 ป.บัณฑิตวิชาชีพครู รุ่นที่ 3 หมู่ที่ 4 เลขที่ 15

หมายเลขบันทึก: 626743เขียนเมื่อ 31 มีนาคม 2017 21:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 มีนาคม 2017 21:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท