วิธีการตรวจสอบความเป็นพิษของพอลิเมอร์ ที่ใช้ในการจับตัวยางสกิม


ปัจจุบันมีการนำพอลิเมอร์เหลวมาใช้ในการจับตัวยางสกิมแทนกรดซัลฟิวริก

เนื่องจากการใช้กรดซัลฟิวริกต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้งานสูง ทั้งที่ไอออนของซัลเฟตที่เหลือตกค้าง และธรรมชาติสามารถจัดการซัลเฟตด้วยระบบของตัวเองได้ ซัลเฟตจึงส่งผลน้อยกว่าการเอาสารเคมีแบบพอลิเมอร์เหลวซึ่งเป็นสารเคมีสังเคราะห์ไปเทออกสู่สิ่งแวดล้อม

ผู้จำหน่ายพอลิเมอร์เหลวไม่ได้มีการระบุความเป็นพิษ หน่วยวิจัยเคมีวิเคราะห์และสิ่งแวดล้อม ม.สงขลานครินทร์ จึงได้พัฒนาวิธีการตรวจสอบความเป็นพิษเพื่อเผยแผ่ให้หน่วยงานและบริษัทฯ ที่รักสิ่งแวดล้อม ได้นำมาใช้ในการทดสอบ ก่อนที่จะสั่งซื้อพอลิเมอร์มาใช้ในการจับตัวยางสกิม

เพราะพอลิเมอร์ที่เป็นพิษสามารถทำลายระบบจุลินทรีย์ซึ่งเป็นพื้นฐานของห่วงโซ่อาหารในสิ่งแวดล้อม หากสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กไม่สามารถอยู่รอดได้ สิ่งมีชีวิตขนาดลำดับต่อ ๆ มา ก็จะขาดแหล่งอาหาร การมีเงินตรา แต่ไม่มีอาหารให้ซื้อหา ก็คงจะตรงกับคำที่หลายท่านเคยกล่าวไว้ว่า "เงินทองเป็นมายา ข้าวปลาเป็นของจริง"

หมายเหตุ ขอขอบคุณสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และ บริษัทตัวแทนจำหน่ายพอลิเมอร์เหลว จ.สุราษฏร์ธานี2016_12_8_AsianalysisXIII_polymer_biodegradability_V2.pdf

หมายเลขบันทึก: 626663เขียนเมื่อ 29 มีนาคม 2017 15:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มีนาคม 2017 19:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

<p “=”“>May I highlight this “…เนื่องจากการใช้กรดซัลฟิวริกต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้งานสูง ทั้งที่ไอออนของซัลเฟตที่เหลือตกค้าง และธรรมชาติสามารถจัดการซัลเฟตด้วยระบบของตัวเองได้ ซัลเฟตจึงส่งผลน้อยกว่าการเอาสารเคมีแบบพอลิเมอร์เหลวซึ่งเป็นสารเคมีสังเคราะห์ไปเทออกสู่สิ่งแวดล้อม …” ? </p> <p “=”“>I think information like this should be of environmental and public interest but hidden in G2K. Let’s do more.
</p>

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท