ประวัติชาวยิวจากไบเบิ้ล


ประวัติชาวยิวเขียนโดยตำราจากไบเบิ้ล

ก่อนสมัยพระเยซูประสูติ ชนชาติยิวซึ่งในสมัยโบราณเรียกกันว่า "ฮิบรู" (Hebrew) ซึ่งเป็นชนผิวขาวเผ่า
เสมิติคสาขาหนึ่ง มีอาชีพร่อนเร่เลี้ยงสัตว์อยู่ในทะเลทรายอาระเบีย เคยอพยพ เข้าไปตั้งถิ่นฐาน อยู่ทางตอน
ล่างของลุ่มแม่น้ำยูเฟรติสอยู่ระยะหนึ่ง จนถิ่นที่อพยพเข้าไปอยู่เกิดความแห้งแล้งจึงพากันอพยพต่อไป พวก
หนึ่งได้เข้าไปอาศัยอยู่ในดินแดนที่เรียกว่า "ปาเลสไตน์ " อีกพวกหนึ่งเข้าไปอาศัยอยู่ในประเทศอียิปต์ (เมื่อ
ประมาณ 1,400 ปีก่อนคริสต์กาล)

ดินแดนที่เรียกว่า "ปาเลสไตน์" (Palestine) ซึ่งฮิบรูพวกหนึ่งอพยพเข้าไปอาศัยอยู่ครั้งนั้นมีเนื้อที่
ประมาณ 25,000 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่บนฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน, ทิศเหนือจรดประเทศซีเรีย, ทิศใต้จรด
ประเทศอียิปต์, ทิศตะวันออกจรดแม่น้ำจอร์แดน, ทิศตะวันตกจรดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เมื่อพวกฮิบรูอพยพมา
สู่ดินแดนนี้ใหม่ๆ บริเวณดังกล่าวเป็นอาณาจักรของพวกเจริญที่ตั้งถิ่นฐานอยู่มาก่อนช้านานแล้ว(ประมาณ
1,500 ปี) ที่เรียกว่า "คานาอัน" (Canaan) ของชนเผ่า "เคนันไนท์" (Cananite)

พวกเคนันไนท์เป็นชนเผ่าเสมิติคอีกสาขาหนึ่งซึ่งเจริญขึ้น เพราะได้รับอารยธรรมจากอียิปต์ และบาบิโล
เนีย สามารถสร้างบ้านเมืองใหญ่โตมีป้อมปราการล้อมรอบ เรียกว่า "นครเยรูซาเลม" (Herusalem)

พวกฮิบรูที่อพยพเข้ามาภายหลังตอนแรก ๆ ต้องอาศัยพวกเคนันไนท์อยู่นอกกำแพงเมือง พวกเคนันไนท์
ซึ่งเป็นเจ้าของถิ่นเดิมเรียกผู้อพยพมาอยู่ใหม่เหล่านี้ว่า "ฮิบรู" (Hebrew) แปลว่า "พวกข้างโน้น" ต่อมาพวกฮิบรู
เริ่มเจริญขึ้นเพราะได้รับขนบธรรมเนียมประเพณี และอารยธรรมจากพวกเคนันไนท์ได้เข้าปะปนกับเจ้าของถิ่น
เดิม จนกลายเป็นพวกเดียวกันระยะนี้พวกฮิบรูมีความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันแบ่งออกได้เป็น 2 พวก คือ พวกที่อยู่
ทางเหนือใกล้ชิดกับพวกเคนันไนท์มาก มีขนบประเพณี และวิธีการดำเนินชีวิตเช่นเดียวกันกับพวกเคนันไนท์
ส่วนพวกที่อยู่ทางใต้ ยังคนร่อนเร่เลี้ยงสัตว์ใช้ชีวิตแบบเดิม และรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีเดิมอยู่

สังคมของพวกฮิบรู ด้านการปกครองสมัยที่ยังร่อนเร่พเนจรอยู่กันเป็นกลุ่มๆ มีหัวหน้าใหญ่เป็นผู้นำ
เรียกว่า "พาทริอาร์ค" (Patriarch) แปลว่า "พ่อหมู่" เป็นผู้ควบคุม พ่อหมู่ หรือหัวหน้าหมู่มีอำนาจเหนือผู้คน
และทรัพย์สินของลูกหมู่ทุกคน ทำหน้าที่เป็นทั้งผู้นำการเดินทาง แม่ทัพ ตุลาการ ผู้สอนศีลธรรมจรรยา และ
เป็นตัวแทนพระผู้เป็นเจ้าเบื้องบนด้วย ด้านศาสนา พ่อหมู่อธิบายว่าตนทำทุกอย่างตามบัญชาพระผู้เป็นเจ้า
การที่ลูกหมู่ผู้ใดจะได้รับทุกข์สุข ขึ้นอยู่กับการกระทำของพวกเขาเอง ถ้าเขาเหล่านั้นเชื่อมั่นในพระเจ้า และ
กระทำความดี พระเจ้าจะบันดาลให้พบดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ และอยู่อย่างเป็นสุข ถ้าไม่เชื่อในพระเจ้า และ
ประพฤติชั่วกันมากๆ พระเจ้าจะทรงลงโทษให้ได้รับทุกข์

พวกฮิบรูมีความเป็นอยู่เช่นนี้เรื่อยมา จนกระทั่งถึงสมัยพ่อหมู่มีนามว่า "ยาคอบ" ยาคอบเป็นคนแรกที่
ประกาศ และปฏิบัติตนเป็นผู้ยึดมั่นในพระเจ้าอย่างเคร่งครัด ท่านผู้นี้เรียกชื่อตนเองในขณะประกอบพิธีกรรม
ทางศาสนาว่า "อิสราเอล" (Israel) แปลว่า "มั่นคงต่อพระเจ้า" นอกจากนี้ยังได้แบ่งพวกฮิบรูออกเป็น 12 กลุ่ม
แล้วแต่งตั้งบุตร 12 คนของเขาเป็นหัวหน้า ปกครองกลุ่ม ๆ ละ 1 คน พวกฮิบรูจึงเรียกชื่อพวกตนเองว่า "อิสรา
เอลไลท์" (Israelite) แปลว่า "ลูกของอิสราเอล" นับแต่นั้น ..........
ต่อมาโจเซฟบุตรชายคนหนึ่งของยาคอบ มีโอกาสเข้าไปรับราชการในราชสำนักของกษัตริย์อียิปต์
ทำความดีความชอบ ที่โปรดปรานของฟาโรห์จนได้รับแต่งตั้งเป็นอัครมหาเสนาบดี ระยะนั้นพวกฮิบรูได้พากัน
อพยพเข้าไปอาศัยอยู่ในประเทศอียิปต์เป็นจำนวนมาก พวกฮีบรูมีร่างกายแข็งแรง ขยันขันแข็งในการทำงาน
และมีความทรหดอดทนต่อความยากลำบาก เมื่อสิ้นบุญโจเซฟแล้ว ฟาโรห์องค์ต่อมาได้เกิดไม่ไว้ใจเกร่งว่า
พวกฮิบรูจะเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ จึงแยกฮิบรูให้ไปอยู่รวมกลุ่มกันต่างหาก จากพวกตนลดฐานะลง
เป็นทาส และเกณฑ์แรงงานไปใช้ในการก่อสร้างพีระมิด

พวกฮิบรูยิ่งได้รับความทุกข์ยากลำบาก ปริมาณประชากรกลับยิ่งเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนฟาโรห์ต้องมี
คำสั่งให้ประหารชีวิตเด็กเกิดใหม่เป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตามครั้งนั้นปรากฏว่าทารกชาวฮิบรูผู้หนึ่งรอดตาย
จากคำสั่งประหาร เพราะมารดานำเด็กใส่แพลอยน้ำ ทารกนั้นเป็นเด็กชาย เจ้าหญิงอียิปต์องค์หนึ่งพบเข้า และ
นำไปอุปการะ ตั้งชื่อว่า "โมเสส" (Moses) แปลว่า "ผู้รอดตายจากน้ำ"

เมื่อโมเสสเติบโตขึ้นเป็นผู้มีสติปัญญาดี และได้รับการศึกษาสูงเยี่ยงเจ้าชายองค์หนึ่ง โมเสสมีจิตเมตตา
สงสารพวกฮิบรูที่เป็นทาสถูกเกณฑ์แรงงานสร้างพีระมิดให้ฟาโรห์ และถูกผู้คุมทำทารุณกรรมต่างๆ ถึงกับสังหาร
ผู้คุมชาวอียิปต์ที่ทารุณนั้น และลาออกจากตำแหน่งหน้าที่ราชการมาเป็นหัวหน้าวางแผนพาพวกฮิบรูหลบหนี
จากอียิปต์ไปสู่ประเทศปาเลสไตน์เป็นผลสำเร็จ ดินแดนแห่งนี้พวกฮิบรูถือว่าเป็นดินแดนแห่งพันธสัญญาแห่ง
พระเจ้าที่ทรงประทานให้แก่พวกเขา ที่ปาเลสไตน์โมเสสได้รับการยกย่องนับถือจากประชาชน ที่ตนพาหลบหนี
จากประเทศอียิปต์ตลอดจนพวกอิสราเอลไลท์ที่อาศัยอยู่ในปาเลสไตน์ จึงได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้า ณ ดินแดน
แห่งนี้ โมเสส ได้วางรากฐานที่สำคัญให้แก่สังคมฮิบรู คือ
1) จัดทำกฎหมายและกำหนดระเบียบการปกครองพวกอิสราเอลไลท์ขึ้น กฎหมายและระเบียบการ
ปกครองดังกล่าว มีสารที่สำคัญ คือให้ถือว่าพระเจ้าทรงเป็นผู้ปกครองสูงสุดของชาวอิสราเอลไลท์ พระเจ้าทรง
มอบหน้าที่ให้ผู้แทนของพระองค์ (ซึ่งได้มาโดยการเลือกตั้ง) เรียกว่า "ยัดซ์" (Judge) แปลว่า "ผู้วินิจฉัย" ทำ
หน้าที่เป็นตุลาการพิพากษาคดี แผ่นดินทั้งหมดเป็นสมบัติของพระเจ้า ห้ามซื้อขาย ผู้ใดฝ่าฝืนกฎหมายเกี่ยวกับ
ข้อห้ามทางศาสนาจะต้องได้รับโทษอย่างหนัก ผู้กระทำผิด ทางอาญาเช่นไร จะต้องได้รับโทษตอบแทนใน
ทำนองเดียวกัน (ตาต่อตาฟันต่อฟัน)
2) ด้านศาสนา กำหนดให้มีพระเจ้าสูงสุดเพียงองค์เดียว คือ "ยาเวห์" หรือ ยะโฮวา" (Yaveh,
Yahoveh) พระเจ้าทรง ประทานกฎแห่งความประพฤติ (ศีล) แก่ประชาชน 10 ประการ เรียกว่า "บัญญัติ 10
ประการ" (Ten Commanments) เมื่อ โมเสสถึงแก่กรรม ปรากฏว่าพวกฮิบรูมีความสามัคคีและมีกำลังเข้มเข็ง
ขึ้น โจชัว คนสนิทของโมเสสสามารถยกกำลังแย่งชิงดินแดน ของพวกเคนันไนท์ได้

นับแต่เริ่มอพยพเข้ามาอยู่ในปาเลสไตน์จนยึดอาณาจักรคานาอันของพวกเคนันไนท์ได้ พวกอารา
เอลไลท์ ไม่เคยมีกษัตริย์ปกครอง จึงไม่สามารถรวมพลังเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ทั้งหมด เมื่อตั้งบ้านเมืองได้
ก็ถูกรุกรานจากศัตรูใกล้เคียงพวก ฟิลิสติน (Philistine) ซึ่งอพยพจากเกาะครีต (Crete) เข้ามาตั้งภูมิลำเนา
อยู่แถบชายทะเลทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของปาเลสไตน์ พวกอามอไรท์ และฮิตไตท์จากทางเหนือ ทำให้เกิด
ความจำเป็นที่จะต้องมีกษัตริย์ปกครอง พวกอิสราเอลไลท์ได้พร้อมใจกันเลือกหัวหน้ากลุ่มที่เข้มแข็งในการ
สงครามผู้หนึ่ง ชื่อ "ซอล" (Saul) ขึ้นเป็นกษัตริย์องค์แรก เมื่อประมาณ 1050 ปี ก่อนคริสต์กาล

สมัยที่พระเจ้าซอล ปฐมกษัตริย์ปกครองพวกอิสราเอลไลท์ พระองค์มิได้สร้างบ้านเมือง และพระราชวัง
เป็นที่ประทับ ยังคงประทับในกระโจมซึ่งพร้อมที่จะเคลื่อนย้ายได้โดยสะดวก ตอนต้นสมัยแห่งรัชกาลของ
พระองค์ทรงทำสงครามชนะพวกฟิลิสติน แต่ปลายรัชกาลทรงประสบความปราชัย ต่อมาทรงมีพระสติวิปลาส
ถึงกับสิ้นพระชนม์พระองค์เอง หลังจากพระเจ้าซอลสิ้นพระชนม์แล้วพวกอิสราเอลไลท์ได้เลือกอดีตข้าราช
สำนักของพระเจ้าซอลผู้สามารถในการสงคราม และกล้าหาญที่ถูกพระเจ้าซอลเนรเทศ ขึ้นเป็นกษัตริย์ทรง
พระนามว่า พระเจ้าดาวิด (David) พระเจ้าดาวิดทรงครองราชย์ อยู่ระหว่าง 1705-993 ปีก่อนคริสต์กาล
สมัยของพระองค์นับได้ว่าเป็นสมัยแห่งความรุ่งโรจน์ของพวกอิสราเอลไลท์ ทรงตีได้นครเยรูซาเลมของพวก
เคนันไนท์ และสถาปนาอาณาจักรยูดาห์ (Udah) ขึ้น ณ บริเวณเนินสูงยูเดีย และสมัยนี้เองที่พวกฮิบรูหรือ
อิสราเอลไลท์ เรียกตัวเองว่า "ยูดาย" หรือ "ยิว" (Jew)

สิ้นรัชสมัยพระเจ้าดาวิด พระเจ้าโซโลมอน โอรสพระเจ้าดาวิดทรงทำให้อาณาจักรยูดาห์มั่งคั่ง และ
รุ่งโรจน์ถึงขีดสุด ทรงสร้างวัด และโบสถ์วิหารงดงามขึ้นในอาณาจักรยูดาห์ ทรงทำนุบำรุงศาสนาประจำชาติ
ของยิวให้เจริญก้าวหน้าขึ้นเป็นอย่างมาก
อย่างไรก็ตาม ปลายรัชกาลพระเจ้าโซโลมอนทรงปล่อยให้ลัทธิศาสนาฟินิเชียน และอียิปต์ ซึ่งบูชารูป
เคารพ และนับถือเทพเจ้าหลายองค์ เข้ามาเผยแผ่ทางภาคเหนือ ทำให้ประชาชนทางเหนือพากันรับนับถือ
เทพเจ้าของลัทธิศาสนาอื่นมากขึ้น ประชาชนทางใต้ซึ่งเคร่งครัดในลัทธิศาสนาเดิมของตนต่างพากันชิงชัง
พวกฝ่ายเหนือ ขณะเดียวกันพวกฝ่ายเหนือซึ่งมีฐานะทางเศรษฐกิจดีกว่าพวกทางใต้ก็ไม่พอใจที่กษัตริย์ของตน
ทำนุบำรุงศาสนาแต่เฉพาะทางใต้ ดังนั้น เมื่อพระเจ้าโซโลมอนสิ้นพระชนม์ เมื่อ 953 ปีก่อนคริสต์กาล
อาณาจักรของพวกฮิบรู จึงแตกแยกออกเป็น 2 อาณาจักรคือ

1. อาณาจักรทางเหนือ เรียกว่า "อิสราเอล" (Israel) มีเมืองสมาเรีย (Samaria) เป็นเมืองหลวง
2. อาณาจักรทางใต้ เรียกว่า "ยูดาห์ (Udah) มีเมืองเยรูซาเลมเป็นเมืองหลวง

หลังแตกแยกกันแล้วความขัดแย้งเรื่องศาสนาทำให้สองอาณาจักรเป็นศัตรูกันอย่าง รุนแรง จนถึงกับ
ยกกำลังเข้าทำสงครามกัน ทั้งสองอาณาจักรจึงเสื่อมโทรมลงตามลำดับ จนกระทั่งประมาณ 722 ปีก่อนคริสต์
กาล อาณาจักรอิสราเอลก็สูญเสียเอกราชแก่พระเจ้าซาร์กอนที่ 2 กษัตริย์อัลซีเรียที่มารุกราน ประชากรถูกกวาด
ต้อนไปเป็นเชลยเกือบทั้งหมด และอีกประมาณ 10 ปีต่อมา อาณาจักรยูดาห์ก็เสียเอกราชแก่พระเจ้าเนบูคัด
เนสซาร์ กษัตริย์แคเดีย ผู้ปกครองอาณาจักรบาบิโลเนียใหม่ เมื่อประมาณ 586 ปีก่อนคริสต์กาล ผู้คนถูกกวาด
ต้อนไปเป็นเชลยและนครเยรูซาเลมถูกทำลาย
พวกยิวที่ถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลย ณ กรุงบาบีโลเนียตกเป็นเชลยอยู่ประมาณ 50 ปี จึงได้รับอิสราภาพ
เมื่อพระเจ้าโซรัสมหาราชกษัตริย์เปอร์เซียทรงตีกรุงบาบีโลเนียได้เมื่อ 536 ปีก่อนคริสต์กาล พระเจ้าไซรัส
มหาราช ทรงปลดปล่อยยิวให้กลับถิ่นเดิม ยิวได้กลับไปฟื้นฟูครเยซาเลมขึ้นหม่จนมีฐานะเป็นเมืองศูนย์กลาง
ทางศาสนายิวนับแต่นั้น

อิสราภาพของยิวยืนนานอยู่เพียงชั่วสมัยจักรวรรดิเปอร์เซียเรืองอำนาจเท่านั้น ต่อมาเมื่อจักรวรรดิ
เปอร์เซียต้องสูญเสียอำนาจแก่กรีก ยิวก็ต้องตกอยู่ในอำนาจการปกครองของกรีก และเมื่อกรีกสูญเสียอำนาจ
แก่โรมัน ยิวก็อยู่ใต้อำนาจการปกครองของจักวรรดิโรมันต่อมา ยิวต้องตกทุกข์ยากและถูกกดขี่บีบคั้นจากชาติ
ต่างๆ ที่ผลัดเปลี่ยนกันเข้ามาปกครองตน ต่อเนื่องกันมาเป็นเวลาช้านาน ท่ามกลางความว้าเหว่ประชาชนยิว
ต่างรอคอยกาลเวลาที่พระเจ้าของตน จะส่งเมสไซอามาช่วยปลดปล่อยสู่อิสราภาพ

ในอิสลามคือนบีอีซา ที่จะกลับมายังดุนยาอีกครั้ง เพื่อมาตักเตือนอุมมะห์นบีมุฮัมมัด(มุสลิม)

หมายเลขบันทึก: 626370เขียนเมื่อ 24 มีนาคม 2017 22:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มีนาคม 2017 22:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท